องค์กรชุมชน


มหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดินครั้งที่11 สานต่อศาสตร์พระราชาสถปนาปูทะเลย์มหาวิชชาลัย

17-19 มีนาคม 2560 ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง


ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ได้จัดงานที่ถ่ายทอดเกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน การทำเกษตรแบบผสมผสาน การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและเศรษฐกิจพอเพียง เช่น โคก หนอง นาโมเดล การผลิตไอโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว การสานตะกร้าด้วยไหมฟางและพลาสติก แชมพูสมุนไพร สบู่เหลวสมุนไพร เป็นต้น

สานตะกร้าด้วยไหมฟางและพลาสติก การผลิตไอโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว

ภายในงานก็จะมีบูทกิจกรรมต่างๆ มีพื้นที่ออกแบบจำลอง มีสินค้านำมาจำหน่าย และมีอาหารบริการผู้เข้าชมมหกรรมในครั้งนี้ฟรี ทางศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องได้จัดฐานการเรียนรู้ขึ้นมา 9 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ 1. คนเอาถ่าน 2. คนรักษ์ป่า 3. คนติดดิน 4.คนรักษ์แม่โพสพ 5. คนมีน้ำยา 6. คนรักษ์น้ำ 7. คนรักษ์สุขภาพ 8. คนรักษ์แม่ธรณี และ 9. คนมีไฟ ซึ่งแต่ละฐานก็จะให้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ มีการทดลองให้ปฎิบัติจริงภายในฐานและลงทะเบียนแจกของฟรี ในส่วนของพื้นที่จำลองภาคอีสาน ก็จะมีการจำหน่ายดอกอัญชัน ที่มีสรรพคุณ แก้ผมล่วง ทำให้ผมหงอกกลับมาดำ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยอาการเหน็บชาบริเวณปลายนิ้วมือ และ ดอกกระเจี๊ยบ ที่มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ แก้กระหาย แก้ไอ ลดไขมัน


น้ำกระเจี๊ยบและอัญชัน ดอกอัญชัน

โครงการ บวร การพัฒนาต้องไม่ทิ้งวัด "บ้าน วัด โรงเรียน"

เป็นโครงการที่ทางศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องจัดทำขึ้นเพื่อให้คนในสังคมอย่าละเลย หรือ มองข้ามวัดและโรงเรียน ให้พัฒนาวัดและโรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านของตัวเอง

“บวร” หรือ บ้านวัดโรงเรียน เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “การพัฒนาอย่าทิ้งวัดและโรงเรียน”

บ้าน อันหมายถึง “ชุมชน” คือผู้อุปถัมภ์ค้ำชูโรงเรียนและวัด ผ่านทางแรงกายและการบริจาค

วัด ทำหน้าที่บ่มเพาะ คุณธรรม จริยธรรม ด้วยการขัดเกลา และฝึกฝนตามแบบที่พระพุทธเจ้าวางไว้ และสาวกถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ที่เรียกว่า “ศีลาจารวัตร”

โรงเรียน ผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมกับลูกในฐานะนักเรียนด้วย เพื่อพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกาย สมอง และจิตใจ

รูปแบบการจัดโครงการ บวร บ้าน วัด โรงเรียน

ถ่านไม้ไผ่ แปรรูปเพื่อสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง

ปัจจุบันเราก้าวเข้าสู่วิถีชีวิตแบบดิจิตอล ที่ประกอบไปด้วยเครื่องมือ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกล์เช่น โทรทัศ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีรายงานจัดทำโดย Sir William Stewart ประเทศอักฤษ เกี่ยวกับอัตรารายจายผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากการแล่คลื่นหรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่อาจส่งผลกระทบต่อสมองและพัฒนาการระบบประสาทของเด็กและก่อให้เกิดความเสี่ยงผลกระทบต่อระบบการผลิตฮอร์โมนในร่างกายของวัยรุ่น

จากการวิจัยประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นได้วิจัยถ่านไม่ไผ่ (Bamboo Charcoal) ที่ผ่านกรรมวิธีผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1000 องศา พบว่าสามารถให้กำเนิดและปลดปล่อยประจุลบ (Negative lons) และอินฟาเรดยาว (Far infrared ray) ได้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยประจุลบสามารถเปลี่ยนอนุมูลอิสระให้กลายเป็นอ๊อกซิเจนให้เข้าไปจับตัวกับอนุมูลนั้นๆ เมื่ออ๊อกซิเจนในร่างกายมากขึ้น ส่งผลใสมองปลอดโปร่งขึ้น ระบบไหลเวียนลิตในร่างกายดีขึ้น อันจะทำให้ร่างกายสามารถขับสารตกค้างต่างๆ ออกไปได้ง่ายขึ้น

ขั้นตอนการทำต้องคัดเลือกไม้ไผ่อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป มาผ่านกระบวนการเผาด้วยอุนหภูมิสูงเกินกว่า 1000 องศาเซลเซียส ทำได้ค่าบร์บอนที่มีค่าความต้านทานต่ำมาก หลังจากนั้นจะนำมาตกแต่งรูปทรง ทำความสะอาด ระบบสีและนำมาร้อยด้วยลูกปัดหลากสีอย่างประณีต ดัดแปลงเป็นพวงกุญแจที่ห้อยมือถือและสร้อยคอ ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับท้องถิ่นช่วยสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติอีกมากมาย อาทิเช่น ครีมบำรุงผิวสกัดจากน้ำมะพร้าว ครีมบำรุงผิวทำจากว่านหางจระเข้ น้ำส้มควันไม้ แก่นฝาง น้ำยาใส่ผม สบู่มะหาด เลือกซื้อ เลือกใช้ได้ตามต้องการ

จากทั้งหมดที่ได้เรียนรู้มาภายในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้เป็นเพียงบางส่วนที่เรายกมานำเสนอถึงการเรียนรู้หรือทุนในชุมว่าสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้รู้ถึงคำสอนของพ่อหลวงอย่างแท้จริง พระองค์ทรงอยู่ในใจพวกเราชาสวไทยทุกคน และเราจะตอบแทนโดยนำสิ่งที่ท่านสอนมาดำเนินชีวิตตามที่พระองค์ท่านทรงอยากให้คนไทยกินดีอยู่ดีไม่เป็นหนี้เป็นสิ้นอยู่ในความพอเพียง และต้องขอขอบคุณลุงยักษ์ ที่ได้เปลี่บนชีวิตของตัวเองที่กำลังรุ่งมาเรียนรู้และทำตามคำพ่อสอนจนสามารถนำความรู้แนวทางตามพระองค์ท่านมาสอนต่อให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันให้มีความรู้ มีความดี ช่วยเหลือแบ่งปัน อีกทั้งถ้าสิ่งที่ทำมันเหลือก็สามารถสร้างมูลค่าเป็นเงินได้ ถ้าเรารู็จักการดำเนินชีวิตตามรอยพ่อชีวิตของคนเราจะรู้จักความพอดี พอเพียงและแบ่งปัน

ขอบคุณอาจารย์พีรพัฒน์ ที่ได้พาพวกเราไปรู้จักกับคำว่าพอเพียงอย่างแท้จริงถึงแม้ระยะเวลาจะไม่มากแต่เราได้เห็นทกสิ่งทุกอย่างที่เรียกว่าพอเพียงทำให้มีข้อคิดและความรู้สามารถนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำได้อีกทั้งสามารถใช้ในงานพัฒนาชุมชน ไม่ว่าเราจะพัฒนาใคร เราต้องเริ่มจากการพัฒนาตัวเองก่อนเสมอ

คำสำคัญ (Tags): #องค์กรชุมชน
หมายเลขบันทึก: 626157เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2017 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2017 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท