Outside the box 1 : ถ้าโลกนี้ไม่มีโรงเรียน


สืบเนื่องจากหนังสือ "การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑" ของอาจารย์ปู่วิจารณ์ พานิช ตั้งคำถามให้คิดต่อในประเด็นที่ว่า "ถ้าโลกนี้ไม่มีโรงเรียนเเล้ว เเล้วเราจะยังคงมีชีวิตอยู่รอดเเละอยู่ดีได้หรือไม่" ประเด็นนี้ผมชอบเเละมองว่ามีความสำคัญมากๆ เพราะทุกวันนี้เรากำลังพยายาม "เค้นคำตอบจากโรงเรียนไปเสียหมด" หรือ "อะไรๆก็โรงเรียน" มันมีความหมายว่า โรงเรียนต้องเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของชีวิต เลยนำมาสู่คำถามที่ว่า "เเล้วถ้าไม่มีโรงเรียนล่ะ เราจะอยู่รอดเเละอยู่ดีได้ไหม"

ผมนำคำถามนี้ ไปโพสต์ลงเฟซบุ๊คส่วนตัว กับคำถามที่ว่า "ถ้าโลกนี้ไม่มีโรงเเล้ว เเล้วเราจะยังคงมีชีวิตอยู่รอดเเละอยู่ดีได้หรือไม่" มีหลายๆคนมาเเสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นไอเดียในทำนองที่ว่า

  • "อยู่ได้เพราะสันชาตญาณของมนุษย์ มนุษย์จะไม่ยอมให้ตนเองลำบากหรอก" (FB:Wa ra) ข้อนี้สะท้อนอีกว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณเพื่อการอยู่รอด เป็นสมองชั้นต้น(reptile brain) ซึ่งเรียนรู้ผ่านทางร่างกายเป็นหลัก หรือซิกซ์มันฟรอยด์เรียกว่า "จิตไร้สำนึก" นั่นเอง
  • "สมัยยุคก่อนๆไม่ค่อยมีครูสอน ปล.ต้องมีโรงเรียน เราเรียนครู เดี๋ยวเราตกงาน" (FB:Wachira Inlom) สะท้อนแนวคิดด้านประโยชน์นิยมว่า เราต้องมีโรงเรียนเเละต้องมีครูสอน "เพราะครูต้องสอนในโรงเรียน" คำกล่าวเช่นนี้ดูเหมือนว่ายุคก่อนอาจเป็นจริง เเต่ยุคปัจจุบันมีครูเถื่อนจำนวนมากที่ออกมาสอนนักเรียนนอกห้อง เช่น ครูNGO ครูนักกิจกรรม ครูอาสา เป็นต้น
  • "ดีกว่าอีกนะครูว่า" (FB:Kru Nueng Thongbai Sawatpon) สะท้อนว่า โรงเรียนไม่ใช่คำตอบของทุกๆสิ่ง เเต่เป็นต้นทุนในการเรียนรู้ที่สำคัญ เพราะในโรงเรียนเมื่อเทียบกับโลกเเล้ว "โรงเรียนเป็นเพียงจุดเล็กๆเท่านั้นเอง" ทุกวันนี้โรงเรียนกำลังพยายามควบคุมความคิดของศิษย์ให้เด็กคิดแบบปรนัยเสียมากกว่า ทั้งนี้เพราะโครงสร้าง หลักสูตร นโยบาย เเละภาวะการเเข่งขัน ทำให้การพัฒนาเด็กให้คิดแบบอัตนัยนั้นยากมาก "สังคมการศึกษาทุกๆวันนี้จึงกลายเป็นสังคมปรนัย"
  • "พวกเราหลงลืมชีวิต หลงลืมธรรมชาติ เก่งแค่ไหน วิเศษแค่ไหน ท้ายสุดก็คืนสู่ธรรมชาติ" (FB:Pensri Jaigla) สะท้อนว่า การศึกษาทุกวันนี้เรากำลังหนีห่างจากความเป็นธรรมชาตินิยมไปเรื่อยๆ เเต่เราใช้เเต่ประโยชน์นิยมแบบลัทธิทุนนิยมเเละเหตุผลนิยม เราจึงหลงลืมความเรียบง่ายของชีวิต ไปฟุ้งเฟ้อตามวัตถุเเละความหลอกลวงต่างๆในชีวิต

จากประเด็นดังกล่าวเหล่านี้ มองได้อย่างกึ่งสำเร็จรูปว่า "ถ้าโลกนี้ไม่มีโรงเรียน เราก็จะยังอยู่ได้" เพราะเราอยู่ได้ด้วยสันชาตญาณของความเป็นมนุษย์ โรงเรียนไม่ใช่ความหมายของทุกคำตอบ(เหตุผลนิยม) สิ่งที่อยู่ในห้องเรียนเป็นเพียงจุดเล็กๆเมื่อเทียบกับโลกทั้งใบ เเละการศึกษาของเราทุกๆวันนี้ต้องเดินทางกลับมาสู่ทางออกด้านจิตวิญญาณ(ธรรมชาตินิยม : Naturism) ไม่ใช่ทางออกด้านวัตถุที่เน้นประโยชน์นิยมหรือเหตุผลนิยมเพียงอย่างเดียว

คำถามต่อไป คือ ความเป็นธรรมชาตินิยม ประโยชน์นิยม เเละเหตุผลนิยม มีความสำคัญอย่างไรต่อการขับเคลื่อนการศึกษา ซึ่งอาจมีหลายคำตอบมาก เเต่ทั้ง ๓ เเนวคิดนี้มีความสำคัญด้านปัจเจกบุคคลภายใน ที่ต้องนำไปเคลื่อนตัวเด็กทั้งนั้น โดยทรรศนะคำตอบของผม คือ

  • ความเป็นธรรมชาตินิยม คือ ความสุขที่เราจะต้องให้เด็กได้เข้าใจ เพราะความสุขไม่ได้มีเเค่ในโรงเรียน เเต่ความสุขอยู่ทุกๆที่ที่เขามีความสุข มีการให้ การแบ่งปัน ความเมตตา ระบบคุณธรรม ความสงบ การจัดการอารมณ์(EQ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอนในโรงเรียนเราน้อยมากๆ เเต่เขาจะเรียนรู้จากนอกโรงเรียนเเละการยกระดับทางจิตวิญญาณของเขาเอง หากสังคมเรามีเด็กที่คิดแบบธรรมชาตินิยม สังคมจะเกิดสันติ สงบสุข เป็นสังคมที่แบ่งปันกันเเละกัน
  • ความเป็นประโยชน์นิยม คือ การที่เขามาเรียนเเล้วได้รับคุณค่าทั้งด้านวัตถุเเละจิตใจ เป็นเเรงผลักให้เขามีเเรงจูงใจในการเรียนรู้ ในโรงเรียน เช่น การให้เกรด ครูเลี้ยงข้าว การให้รางวัล มิตรภาพความเป็นเพื่อน เป็นต้น นอกห้องเรียน เช่น วัตถุ-สิ่งของ รายได้ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงจูงใจให้เด็กหมั่นเรียนรู้ หากสังคมเรามีเด็กที่คิดแบบประโยชน์นิยมก็มีข้อดีข้อเสียเช่นเดียวกัน ข้อดี คือ เขาจะมองเรื่องส่วนรวมเป็นหลัก ข้อเสีย คือ เขาจะตกเป็นกลไกของกลุ่มทุนนิยมในสังคม
  • ความเป็นเหตุผลนิยม คือ การที่โรงเรียนฝึกเด็กยุคใหม่ให้รู้จักตั้งคำถาม เเต่ดูเหมือนว่าหลายครั้งยังเป็นการจำกัดเหตุผลของเด็กอยู่มาก เช่น คิดต่างคือเรื่องผิด คิดนอกกรอบคือการไม่ให้เกียรติครู เป็นต้น ซึ่งยุคสมัยนี้ไม่เป็นอย่างนั้นเเล้ว เพราะอิทธิการศึกษาแบบใหม่ ผนวกกับแนวคิดการศึกษาแบบประชาธิปไตย กำลังเข้มเเข็งขึ้นเรื่อยๆ เด็กก็ผลัดเปลี่ยน Generation ไปเรื่อยๆ ทำให้ความเป็นเหตุผลนิยม หรือ การสอนให้เด็กตั้งคำถามกับสิ่งที่เรียน สิ่งที่รู้ ปัญหา เเละคำถามกับสังคมมากขึ้น (บทบาท Actor มีมากขึ้นจากการเติบโตขอคนรุ่นใหม่) ซึ่งเหตุผลนิยมนี้เป็นหลักคิดเเละเป็นทักษะทางการคิด แม้ว่าจะจากโรงเรียนไปเเล้ว หรือจบไปเเล้ว เขาก็จะเอาเหตุผลนิยมเป็นเข็มทิศนำทางการเรียนรู้ต่อไปในโลกกว้าง หากสังคมมีเด็กที่คิดแบบเหตุผลนิยม สังคมอาจพัฒนาไปเร็วมาก เพราะคนหัวใหม่จะตั้งคำถามเพื่อการเปลี่ยนแปลง

การเดินทางสังธรรมชาตินิยมเป็นการยกระดับทางจิตวิญญาณจากล่างขึ้นบน(ระดับความจริง) การเดินทางของประโยชน์นิยมเป็นวงกลม(สังสารวัฎความต้องการ) เเละการเดินทางของเหตุผลนิยมเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า(คิดบวก)หรือถอยไปข้างหลัง(คิดลบ) เเม้การเดินทางต่างกัน เเต่ทั้งในห้องเรียนเเละโลกกว้าง เราเเละทุกๆคนถูกสอนมาในแนวคิดแบบนี้ทั้งสิ้น เเม้ไม่มีห้องเรียน เราก็จะยังคงเรียนรู้อยู่ได้ หากเรามีทักษะในการเรียนรู้ คอยตั้งคำถามใหม่ๆให้กับตนเอง เเละไม่หลงลืมความเป็นธรรมชาติของชีวิตเเละธรรมชาติของตนเอง


หมายเลขบันทึก: 625929เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2017 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท