มะเร็งกับกิจกรรมบำบัด


มะเร็ง

เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายที่มีความผิดปกติ ที่ DNA หรือ สารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการแบ่งตัว เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์มากกว่าปกติและเพิ่มได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ก้อนเนื้อที่ผิดปกติและก่อให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องการขาดเลือดไปเลี้ยง

ซึ่งการรักษาทางการแพทย์ตามหลักสากลที่ปฏิบัติกันในประเทศไทย มีดังนี้

1. การศัลยกรรม (ผ่าตัดก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้าง)

2. รังสีรักษา

3. เคมีบำบัด

4.รักษาด้วยฮอร์โมน

5.การเพิ่มภูมิคุ้มกัน


มะเร็งเป็นโรคที่พบมากขึ้นในคนไทย เนื่องจาก การใช้ชีวิตในยุคใหม่ที่มีความสะดวกสบาย พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง รวมไปถึง การรับประทานอาหารในปัจจุบัน ซึ่งมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย อันดับหนึ่ง คือ มะเร็งตับ อันดับสอง คือ มะเร็งปอด ส่วนหญิงไทย อันดับหนึ่งคือ มะเร็งปากมดลูก อันดับสอง คือ มะเร็งเต้านม (อ้างอิงข้อมูล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ)


การรักษาโรคมะเร็ง ได้แบ่งตามความรุนแรงของมะเร็งตามระยะของโรค โดยอาศัยการลุกลามของโรคออกเป็นระยะๆ ดังนี้

ระยะที่ 1 มะเร็งที่ยังจำกัดอยู่เฉพาะในที่ที่เริ่มเป็น

ระยะที่ 2 มะเร็งเริ่มลุกลามถึงเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือลุกลามทะลุผ่านอวัยวะที่เป็นโพรง

ระยะที่ 3 มะเร็งได้ลุกลามถึงต่อมน้ำเหลือง

ระยะที่ 4 มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ


ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีความรุนแรงในระยะใด เมื่อได้รับรู้ว่า ตนเองเป็นมะเร็ง ก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจของเขาได้ จึงเป็นหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดโดยตรงในการช่วยเหลือ บำบัดและฟื้นฟูในด้านนี้ โดยการ ให้กำลังใจ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของมะเร็ง ดูความสามารถของผู้ป่วยในปัจจุบัน ร่วมกันวางแผนแนวทางการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย ส่งเสริม ฟื้นฟูการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเขาให้เป็นอย่างปกติและมีความสุข

ในปัจจุบันมีศาสตร์อื่นอีกมากมายที่เข้ามามีบทบาทในการรักษาโรคต่างๆ เช่น การใช้ธรรมชาติบำบัด การบริหารกายแบบต่างๆ การอบสมุนไพร สุคนธบำบัด ดนตรีบำบัด และสมาธิบำบัด เป็นต้น ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบำบัด เพื่อ ให้เกิดความผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้ใจสงบ มีสมาธิ ไม่กระวนกระวายง่าย เป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี


“มะเร็งจึงไม่ใช่โรคที่น่ากลัว แต่เราต้องเรียนรู้ เพื่อใช้ชีวิตไปกับมันให้ได้”



เอกสารอ้างอิง

  1. คณาจารย์สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). กิจกรรมบำบัดเพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
  2. ธัญญารัตน์ อัญญาวิจิตร. (2555). คู่มือสุขภาพ รู้ก่อนสาย ไม่เจ็บไม่ตาย! ต้าน 13 โรคฮิต หลีกห่างให้เร็ว. กรุงเทพฯ: นานาสำนักพิมพ์
  3. นายแพทย์ปัจจุบัน เหมหงษา (บรรณาธิการ). (2541). การดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
  4. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (ค้นคว้า 14 มีนาคม 2560). ความรู้โรคมะเร็ง. จาก http://www.nci.go.th
หมายเลขบันทึก: 625925เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท