การใช้กระบวนการจัดการความรู้ (
KM) ในสถานศึกษา
การจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้น เป็นนวัตกรรมที่สถานศึกษาควรบริหารจัดการให้มีการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อให้เป้าหมายในการจัดการความรู้ (Desired State) ที่ตั้งไว้บรรลุผล โดยคณะผู้จัดการ ความรู้ซึ่งจะต้องมีผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นประธาน จะต้องมาร่วมกัน กำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ เพื่อให้วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาบรรลุผล อาจจะเลือกกำหนดกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้จากยุทธศาสตร์ใด ยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา มาพัฒนาและกำหนดเป็นเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ การศึกษาและคุณภาพผู้เรียนในที่สุด ดังนั้นก่อนที่จะมีการจัดการความรู้ ผู้จัดการความรู้และคณะผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษา ควรได้ทำความเข้าใจเรื่องของ คุณภาพการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาก่อน เพื่อให้มองเห็นภาพรวม (Concept) ในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเป็นแนวทางไปสู่การจัดการความรู้ในสถานศึกษาทั้งที่เป็นความรู้แจ้งชัด (Explicit Knowledge) และความรู้ที่ฝังลึกในตัว (Tacit Knowledge)
บุญดี บุญญากิจ และคณะ อธิบายว่า จากการศึกษากรอบความคิดของการจัดการความรู้แล้ว จึงได้สรุปขั้นตอนหลักๆ ของกระบวนการความรู้ ( Knowledge Process) ไว้ดังนี้
1. การค้นหาความรู้ ( Knowledge Identification)
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ ( Knowledge Creation and Acquisition)
3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ( Knowledge Organization)
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ( Knowledge Codification and Refinement)
5. การเข้าถึงความรู้ ( Knowledge Access)
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ( Knowledge Sharing)
7. การเรียนรู้ ( Learning)
ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างและจัดการความรู้ทั้งที่มีอยู่เดิม ภายในองค์กรและความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลบันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Moo_Noi ใน KM_class