ก่อน-หลัง มี OBP(Occupation Based practice) ต่างกันเช่นไร?


Case Study

นาง ก. เพศ หญิง อายุ 62 ปี อาชีพ แม่บ้าน

จากการวินิจฉัยเป็น Traumatic Brain Injury(TBI)

มีอาการ อ่อนแรงซีกขวา

-Weakness of U.E.

-Limit PROM of Rt. shoulder flexion (0-130องศา)

-Global aphasia

-Shoulder pain

ซึ่่งก่อนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ผู้รับบริการเป็นแม่บ้านทำงานบ้าน ดูแลครอบครัว หลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลผู้รับบริการจึงขาดบทบาทในด้านนี้ไป

การรักษาทางกิจกรรมบำบัด (ผมจะยกตัวอย่างมา 2-3 อย่าง)

1.Short-term Goal

-ผู้รับบริการสามารถทรงตัวทำกิจกรรมได้อย่างมันคง หลังเข้ารับการบริการทางกิจกรรมบำบัด 2 สัปดาห์

แผนการรักษา

-ใช้การจัดท่านั่งและฝึกการเอื้อมหยิบกรวย (Straching cone) ทางด้านซ้ายและขวา [ดั้งเดิม]

*จัดท่านั่งและฝึกการเอื้อมหยิบผ้า ทางด้านซ้ายและขวา เพื่อนำมาใส่ตะกร้า (OBP)

2.Short-term Goal

-ผู้รับบริการสามารถยกแขนข้างขวาในท่า Shoulder flexion จาก 1/4 unassist เป็น 3/4 unassist หลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัด 3 สัปดาห์

แผนการรักษา

-ใช้ semi circular peg board ให้ผู้รับบริการประสานมือทั้งสองข้าง หยิบ peg board และยกแขนขึ้นจนสุด ผู้บำบัดคอยช่วยประคองแขนและมือในการทำกิจกรรม [ดั้งเดิม]

*ให้ผู้รับบริการประสานมือทั้งสองข้าง หยิบ ที่เช็ดกระจกสำเร็จรูป แล้วถูขึ้นกับกระจกโดยมีผู้บำบัดคอยช่วยประคองในการทำกิจกรรม (OBP)

3.Short-term Goal

-ผู้รับบริการสามารถเพิ่ม Hand fucntion (เอิ้อม กำ นำ ปล่อย) ในรูปแบบ Cylindrical grasp เช่น Stacking cone ได้อย่างมั่นคงและราเรียบ หลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัด 3 สัปดาห์

แผนการรักษา

-ใช้ลูกบอล ฝึก hand function และ hand prehension ในรูปแยย Cylindrical grasp โดยผู้บำบัด คอยจับประคอง ช่วยในการยก หลังจากนั้นลดการช่วยเหลิอลง จนผู้รับบริการสามารถ เอื้อม กำ นำ ปล่อย Stacking cone ได้เอง [ดั้งเดิม]

*ใช้ขวดนำยาล้างห้องน้ำหรือขวดน้ำยาปรับผ้านุ่ม ฝึก hand function และ hand prehension แทน(OBP)

สังเกตว่า เมื่อใช้ OBP จะเป็นการบำบัดรักษาโดยใช้สิ้งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการแทนที่จะใช้ของหรือกิจกรรมในการบำบัดแบบเดียวกันในผู้รับบริการทุกราย ซึ่งการใช้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการมาใช้จะทำให้เขามีความรู้สึกที่ อยากจะทำมากยิ่งขึ้นเพราะเป็นสิ่งที่เขาทำเป็นประจำทุกวัน รู้สึกว่าสิ่งที่ทำนั้นมันมี คุณค่า มีความหมาย และมีเป้าหมาย และเมื่อเขาสามารถที่จะทำได้มันทำให้เขารู้สึกภูมิใจ มีกำลังใจ รู้สึกมีความหวังว่าเขาจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันของเขาได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

Image result for Occupation based practice
หมายเลขบันทึก: 625514เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2017 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2017 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท