สำนวน สุภาษิตไทย


สำนวน สุภาษิตไทย คือ การนำสิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ มาเรียงร้อยให้เป็นประโยค เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ อบรมสั่งสอน หรือตักเตือนสติ โดยที่การนำสิ่งต่างๆมาเปรียบเทียบจะมีความหมายโดยนัย เปรียบเทียบสิ่งสองสิ่ง ยกตัวอย่างเช่น

๑. ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง การทำเรื่องไม่ดี แล้วกลับมาสู่ตัวเอง

๒. ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง การทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่

๓. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน หมายถึง การเก็บหอมรอมริบ เก็บทีละน้อย

๔. น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง หมายถึง พูดเยอะ พูดมาก แต่หาสาระไม่ได้

๕. ตีงูให้หลังหัก หมายถึง ทำอะไรต้องเด็ดขาด

๖. ผักชีโรยหน้า หมายถึง การทำให้ดูดีแค่ผิวเผิน

๗. นกสองหัว หมายถึง การทำดีเข้ากับทั้งสองฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

๘. น้ำกลิ้งบนใบบอน หมายถึง กลับกลอก ไม่แน่นอน

๙. รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

๑๐. เขียนเสือให้วัวกลัว

หมายเลขบันทึก: 624976เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2017 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2017 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท