KM-class


สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) (The Knowledge Management Institute) องค์กรเพื่อการขับเคลื่อนพลังภาคี เพื่อให้สังคมไทยมีการหา สร้าง ใช้ และแลกเปลี่ยนความรู้ในทุกหย่อมหญ้า เชื่อมโยงปัญญา-ความรู้ดั้งเดิมและสมัยใหม่ โดยสังคมไทยกำหนด ขับเคลื่อนภาคีพูนพลังปัญญา-ความรู้ ทุกหย่อมหญ้าสังคมไทย ประสานความรู้โลก-ความรู้ท้องถิ่น เพื่อสุขภาวะร่วมกันของสังคม ความรู้สู่ความดี ความงาม และการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข แนวทางการดำเนินงาน และกิจกรรมเพื่อการเคลื่อนเครือข่ายภาคี แนวทางการดำเนินงานของ สคส. 1. สร้างขีดความสามารถในด้านการจัดการความรู้ เน้นการส่งเสริมงาน “พัฒนาและวิจัย” ศาสตร์และรูปแบบการจัดการความรู้ในองค์กร (Organization-based), การจัดการความรู้เป็นรายประเด็น (Issued-based) และเป็นรายพื้นที่ (Area-based) ภายใต้บริบทของไทย พร้อมทั้งสร้างการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายภาคี เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างนักประสานงาน นักอำนวยความสะดวกจัดการความรู้ ณ จุดปฏิบัติการต่างๆ 2. สร้างกระแสการจัดการความรู้ในสังคมไทย ใช้การจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น “มหกรรมความรู้” หรือ “ตลาดนัดความรู้” ทั้งในระดับจังหวัด ภาค และประเทศ การตั้งรางวัลชุมชนกิจกรรมความรู้แห่งปี เพื่อสร้างกระแส และกระตุ้นให้คนในสังคมไทยเกิดความสนใจในการใช้การจัดการความรู้ เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งใช้วิธีการอื่นๆ และใช้การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ กับสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมเพื่อการเคลื่อนเครือข่ายภาคี 1.การจัดการประชุมวิชาการ ในปี 2547 สคส. กำหนดจัดการประชุมวิชาการเป็นประจำทุก 2 เดือน โดยมีวิทยากรบรรยาย 1-2 คน ในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กรใดองค์กรหนึ่งและเรื่องเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายภาคี หรือผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน ทั้งนี้กำหนดการจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าบนเว็บไซต์ สคส. และ / หรือ ผ่านสื่อเผยแพร่อื่นๆ ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมต้องแจ้งความจำนงล่วงหน้า รับจำนวนจำกัด 2.การขับเคลื่อนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ สคส. (http://www.kmi.or.th) คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น “พื้นที่เสมือน” สำหรับการแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการความรู้ มีข้อมูลความรู้เชิงทฤษฎี และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการความรู้ให้ศึกษาค้นคว้า รวมทั้งเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงไปสู่เครือข่ายบุคคล องค์กร ตลอดจนฐานข้อมูลความรู้ด้านต่างๆ ซีดี / วีซีดี ด้านการจัดการความรู้ โดย สคส. จัดทำซีดี / วีซีดีการประชุมวิชาการด้านการจัดการความรู้ และตัวอย่าง / ประสบการณ์ด้านการจัดการความรู้ที่น่าสนใจ เพื่อเผยแพร่เป็นประจำ 3.การขับเคลื่อนผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ จดหมายข่าว “ถักทอสายใยแห่งความรู้” กำหนดออกราย 2 เดือน เป็นพื้นที่สำหรับการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการความรู้ ระหว่างเครือข่ายภาคีในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์อื่น โดย สคส. จะจัดทำหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่มีเนื้อหาด้านการจัดการความรู้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทต่างๆ ออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื้อความรู้ในสิ่งพิมพ์บางส่วน อาจมาจากการทำงานภายใต้ความร่วมมือกับเครือข่ายภาคีที่น่าสนใจ การดำเนินการตามยุทธศาสตร์สร้างขีดความสามารถในด้านการจัดการความรู้ 1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโครงการ “พัฒนาและวิจัย” การจัดการความรู้ในกลุ่มหน่วยงาน หรือองค์กร กลุ่ม 1.1 โรงเรียน 1.2 สถาบันอุดมศึกษา 1.3 โรงพยาบาล 1.4 หน่วยราชการ 1.5 องค์กรเอกชนไม่แสวงกำไร (เอ็นจีโอ) 1.6 ธุรกิจขนาดย่อม 1.7 องค์กรประชาชน 2.ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโครงการ “พัฒนาและวิจัย” การจัดการความรู้เป็นรายประเด็น 2.1 เกษตรยั่งยืน 2.2 การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ระดับชาวบ้าน 2.3 ธุรกิจชุมชน 2.4 โครงการเชิงประเด็นอื่นๆ 3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโครงการ “พัฒนาและวิจัย” การจัดการความรู้เป็นรายพื้นที่ ภายใต้บริบทของไทย 4.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประชุมปฏิบัติการเพื่อฝึกอบรมหลักการ ทฤษฎี และวิธีการ แนวปฏิบัติ ด้านการจัดการความรู้ 5.ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย เพื่อพัฒนาศาสตร์ ด้านการจัดการความรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย และสอดคล้องกับบริบทต่างๆ ที่หลากหลาย การดำเนินการตามยุทธศาสตร์สร้างขีดความสามารถในด้านการจัดการความรู้ สคส. จะใช้วิธีเชื่อมโยงภาคีเข้ามาร่วมคิด ร่วมจัด และร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างกระแสการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดย สคส. จะเปิดรับภาคีที่สนใจมาร่วมในภารกิจดังกล่าว นอกจากนี้ สคส. จะมีการใช้สื่อต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบเพื่อสื่อสารกับคนในสังคมไทยทุกระดับชั้นในเรื่องการจัดการความรู้เพิ่มมากขึ้น สคส. องค์กรเพื่อการขับเคลื่อนพลังภาคี เพื่อให้สังคมไทยมีการหา สร้าง ใช้ และแลกเปลี่ยนความรู้ในทุกหย่อมหญ้า เครือข่ายความรู้เพื่ออาชีพและชีวิตของชาวบ้าน เป้าหมาย เพื่อให้ชาวบ้านเพิ่ม “ชิ้นส่วนความรู้” ในทุกกิจกรรมแนวทาง ชาวบ้านเป็นผู้ปฏิบัติและตัดสินใจเอง มีผู้ประสานงาน อำนวยความสะดวก มีแหล่งความรู้ให้เลือกใช้ เป็นความรู้ที่ “ปรุง” ตามความต้องการของชาวบ้าน เชื่อมโยงกับกิจกรรมส่งเสริมชาวบ้านในรูปแบบอื่นๆ การสร้างนักประสานงานจัดการความรู้ เป้าหมาย เพื่อให้ชาวบ้านเพิ่ม “ชิ้นส่วนความรู้” ในทุกกิจกรรมแนวทาง ภาคชาวบ้าน ภาคธุรกิจ สคส. ต้องการภาคี จัด training for the trainers และจัดหลักสูตรฝึกอบรมหลักการ และเทคนิคการจัดการความรู้ให้แพร่หลายทั่วไป การพัฒนาศาสตร์ว่าด้วยการจัดการความรู้ในบริบทไทย สคส. ต้องการภาคีดำเนินการเรื่องนี้ โดยเน้นการพัฒนาศาสตร์ขึ้นจากการปฏิบัติและการถอดบทเรียนจากชีวิตจริงในสังคมไทย รางวัลชุมชนกิจกรรมความรู้แห่งปี ยอดชุมชนชาวบ้านเบิกบานความรู้ ยอดบริษัทจัดการความรู้ ยอดราชการบริหารความรู้ ฯลฯ (http://www.kmi.or.th/about.html)
หมายเลขบันทึก: 62475เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท