โครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ปี 2558


โครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ปี 2558

ภายใต้โครงการวัยทำงานปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข

ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลสมุทรสาคร,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร,สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี

หลักการและเหตุผล

จังหวัดสมุทรสาครมีประชากร รวมทั้งสิ้น ๕๒๒,๕๓๐ คน มีผู้อยู่ในวัยทํางานหรืออายุ ๑๕ ปีขึ้นไป จํานวน ๔๖๓,๖๗๖ คน เป็นผู้อยู่ในกําลังแรงงาน ๓๖๗,๕๒๐ คน จําแนกเป็นผู้มีงานทํา ๓๖๖,๓๓๑ คน (ร้อยละ ๙๙.๖๘ ของผู้อยู่ในกําลังแรงงานทั้งหมด) ในกลุ่มผู้มีงานทําทั้งหมด ๓๖๖,๓๓๑ คน ในขณะที่นอกภาคเกษตรนั้น มีผู้ทํางานทั้งสิ้น ๓๔๓,๗๙๐ คน(ร้อยละ ๙๓.๘๕ ของผู้มีงานทําทั้งหมด) โดยสาขาอุตสาหกรรมที่มีผู้ทํางานมากที่สุด

ภายใต้นโยบายรัฐมนตรี เรื่องการลดโรค เพิ่มสุข สาธารณสุขร่วมใจ เทิดไท้องค์ราชัน กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้เป็นจุดเน้นในการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมทุกขนาด ทุกจังหวัดของประเทศไทย โดยให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑-๑๒ ประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สนับสนุนให้จังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบให้มีการเข้าร่วมโครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข โดยกำหนดเป้าหมายไว้คือทุกจังหวัดต้องมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ โดยคัดเลือกสถานประกอบการต้นแบบ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับสถานประกอบการอื่นๆ ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาสถานประกอบการที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ของโครงการฯและพัฒนาต่อเนื่องเป็นสถานประกอบการต้นแบบต่อๆไป

ทางสำนักงานป้องกันและควบคุมโรค(สคร.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) และโรงพยาบาลทั่วประเทศ เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนให้มีความปลอดภัย ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะวัยแรงงานเป็นวัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว ดังนั้นแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์ฯ สถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ให้กับสถานประกอบการ โดยการให้ความรู้ แนะนำส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยทำงานที่ทำงานในสถานประกอบการมีสุขภาพดี ลดการเจ็บป่วยและประสบอันตราย รวมไปถึงสุขภาพจิตที่ดีด้วย โดยสถานประกอบการสามารถประเมินตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดยกรมควบคุมโรคร่วมกับกรมอนามัย และกรมสุขภาพจิต ซึ่งทางสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๔ จังหวัดราชบุรี ได้ขอความร่วมมือ มายังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ให้โรงพยาบาลสมุทรสาครคัดเลือกสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข จำนวน ๑๐ - ๒๐ แห่ง ทางโรงพยาบาลสมุทรสาคร จึงได้จัดทำโครงการปลอดโรคปลอดภัย กายใจเป็นสุข ปี ๒๕๕๘ เพื่อคัดเลือกสถานประกอบการที่มีความพร้อม มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทำงานในสถานประกอบการให้มีสุขภาพกายใจที่ดี มีความปลอดภัย เพื่อสร้างต้นแบบสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ในระดับจังหวัด และระดับประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ความรู้ แนะนำสนับสนุนให้ประชากรวัยทำงานที่ทำงานในสถานประกอบการมีสุขภาพดี ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข
  • เพื่อพัฒนาสถานประกอบการที่ผ่านการประเมินด้วยตนเองตามเกณฑ์ของโครงการฯและพัฒนาต่อเนื่องเป็นสถานประกอบการต้นแบบต่อๆไป
  • เพื่อสร้างต้นแบบสถานประกอบการปลอดโรคปลอดภัยกายใจเป็นสุขในระดับจังหวัด และระดับประเทศต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

สถานประกอบการพี่เลี้ยง ๑ แห่ง

สถานประกอบการ /วิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ 10 - 20 แห่ง

ระยะเวลาดำเนินการ

เดือนมีนาคม – กันยายน 2558

สถานที่

  • กิจกรรมการอบรม/ประชุม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
  • กิจกรรมการประเมินสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข

ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

วิธีดำเนินการ/กิจกรรม

  • ประชาสัมพันธ์โครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุขกับกลุ่มเป้าหมาย
  • แต่งตั้งคณะกรรมการ และจัดประชุมคณะกรรมการ/เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมุทรสาครที่เกี่ยวข้อง(ครั้งที่๑) เรื่อง ขั้นตอนและการเตรียมตัวในการประเมินตนเองของสถานประกอบการ
  • คัดเลือก/รับสมัครสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ปี ๒๕๕๘
  • ออกเยี่ยมสถานประกอบการพี่เลี้ยง ๑ แห่ง และสถานประกอบการ/วิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการฯจำนวน ๑๐-๒๐ แห่ง
  • พี่เลี้ยง คณะทำงานและหน่วยบริการสาธารณสุขสนับสนุนวิทยากร /สนับสนุนกิจกรรมอบรมให้ความรู้ คำปรึกษาแนะนำให้กับสถานประกอบการ/วิสาหกิจชุมชนจำนวน ๑๐-๒๐ แห่ง

๔.๑ พี่เลี้ยง/ทีมคณะทำงานเข้าชี้แจงทำความเข้าใจ พร้อมทั้งแจกเอกสารเกณฑ์การพัฒนา และแนวทางการดำเนินงานของโครงการสถานประกอบการฯที่เข้าร่วมโครงการฯเรื่องขั้นตอนการเตรียมตัวในการประเมินตนเอง สถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข

๔.๒ สถานประกอบการทำการตรวจประเมินด้วยตนเอง

๕.๑ สนับสนุน แนะนำการดำเนินการจัดตั้งแกนนำ/คณะทำงานการดำเนินงานโครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข

๕.๒ ติดตามการดำเนินงานในสถานประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน ในด้านการประเมิน วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา การจัดลำดับความสำคัญ การวางแผน แนวทาง การดำเนินงาน การประเมินผล และการปรับปรุง แก้ไข ต่อยอดในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการประเมินด้วยตนเองตามเกณฑ์มาตรฐาน

๕.๓ สถานประกอบการดำเนินการแก้ไข และขอการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๖. ติดตามและสรุปการประเมินสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุขร่วมกันระหว่างทีมคณะกรรมการโครงการฯ

๗. คณะกรรมการตรวจประเมินระดับจังหวัด และแจ้งผลการตรวจการประเมิน และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงให้สถานประกอบการทราบและดำเนินการต่อไป

๗.๑ คณะกรรมการตรวจประเมินระดับจังหวัด หากตรวจสถานประกอบการ

ได้คะแนนตั้งแต่ ๖๐-๗๙% : สถานประกอบการรับใบประกาศเกียรติคุณ

๗.๒ คณะกรรมการตรวจประเมินระดับจังหวัด หากตรวจสถานประกอบการ

ได้คะแนนตั้งแต่ ๘๐-๘๙% : สถานประกอบการรับใบประกาศเกียรติคุณระดับดี

๗.๓ คณะกรรมการตรวจประเมินระดับจังหวัด หากตรวจสถานประกอบการ

ได้คะแนนตั้งแต่ ๙๐% ขึ้นไป : สถานประกอบการรับใบประกาศเกียรติคุณระดับดีเด่น

๘. ประชุม(ครั้งที่๒)ร่วมกับ สคร.๔ /สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อส่งสถานประกอบการที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณระดับดีเด่น เข้ารับการพิจารณาในระดับประเทศ

๙. ให้คำแนะนำปรึกษาสถานประกอบการที่ได้รับคัดเลือกในระดับจังหวัด พร้อมนัดซ้อมการประเมินตนเองก่อนที่ทีมคณะกรรมการตรวจประเมินระดับประเทศ มาตรวจประเมิน

๑๐. คณะกรรมการตรวจประเมินระดับประเทศ ตรวจสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข

๑๐.๑ คณะกรรมการตรวจประเมินระดับประเทศ ตรวจสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข หากตรวจได้คะแนน ตั้งแต่ ๘๐-๘๙% : สถานประกอบการรับโล่เงิน

๑๐.๒ คณะกรรมการตรวจประเมินระดับประเทศ ตรวจสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข หากตรวจได้คะแนน ตั้งแต่ ๙๐% : สถานประกอบการรับโล่ทอง

๑๑. ร่วมงานประชุม และเข้าร่วมคัดเลือกสถานประกอบการเพื่อรับโล่ระดับประเทศ

๑๒.สิ้นสุดกระบวนการรับรอง การประเมินโครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ปี ๒๕๕๘

งบประมาณ

งบประมาณจาก PP-Non UC /สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๔ รวมกันเป็นเงินทั้งสิ้น ๘๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน)






การประเมินผลโครงการ/ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

  • มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมาย
  • สถานประกอบการมีความเข้าใจในการประเมินด้วยตนเอง เรื่องเกณฑ์มาตรฐาน และแนวทางการดำเนินงานสถานประกอบการปลอดโรคปลอดภัย กายใจเป็นสุข ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
  • สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินด้วยตนเองระดับจังหวัด อย่างน้อยร้อยละ ๒๐ ของกลุ่มเป้าหมาย

วิธีวัดผลสำเร็จของโครงการ

ประเมินผลด้วยวิธีการให้คะแนนตามแนวทาง และเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • สถานประกอบการมีความเข้าใจเกณฑ์ และแนวทางการดำเนินงานโครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข และมีความพร้อมในการประเมินด้วยตนเองและผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับจังหวัดมากขึ้น
  • เพื่อให้ประชากรวัยทำงานในสถานประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน มีสุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี เจ็บป่วยน้อยลง ได้ทำงานในสถานที่ทำงานที่ดี
  • เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทำงานด้วยกันเอง และระหว่างคนทำงานกับผู้บริหาร
  • ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว และเกิดภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร/สถานประกอบการ
  • สถานประกอบการเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ ลดภาระในการพึ่งพาภาครัฐ
  • เกิดความร่วมมือที่ดีและความสนับสนุนในการดำเนินงานสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ผลการดำเนินงาน มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ และผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 17 แห่ง ได้แก่ ระดับจังหวัด 14 แห่ง ระดับเขต 1 แห่ง และผ่านระดับประเทศ ได้โล่ทอง 2 แห่ง

ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน

  • นายพิสิษฐ์ เลิศเชาวพัฒน์ นายแพทย์ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม
  • นางนิศาชล พฤกษ์ภาคภูมิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม
  • นางนภัสรัญชน์ ลิมปิยเฐียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม
  • นางวัลย์ลดา เลาหกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม

โทรศัพท์ 034-427099 ต่อ 5205-6 หรือ 7531290

เขียนโครงการโดย วัลย์ลดา เลาหกุล เมื่อ เดือน กพ.2558

หมายเลขบันทึก: 622488เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2017 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2017 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท