ผลการบริหารจัดการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ปี2558”


ชื่อผลงาน“ผลการบริหารจัดการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ปี2558

ชื่อเจ้าของผลงาน : นางวัลย์ลดา เลาหกุลพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

หน่วยงาน โรงพยาบาลสมุทรสาครจ.สมุทรสาครเบอร์โทรศัพท์ มือถือ 086-7531290

เบอร์โทรศัพท์ สำนักงาน 034-427099 ต่อ6121E-mail [email protected]

สภาพการณ์ สถานการณ์ หลักการ เหตุผล

จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีประชากรรวมทั้งสิ้น 522,530 คน มีผู้อยู่ในวัยทํางานหรืออายุ 15 ปีขึ้นไป จํานวน 463,676 คน

ภายใต้นโยบายรัฐมนตรี เรื่องการลดโรค เพิ่มสุข สาธารณสุขร่วมใจ เทิดไท้องค์ราชัน กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้เป็นจุดเน้นในการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมทุกขนาด ทุกจังหวัดของประเทศไทย

ซึ่งในปี 2558 ทางสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี ได้ขอความร่วมมือมายังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ให้โรงพยาบาลสมุทรสาครคัดเลือกสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ของอำเภอเมือง จ.สมุทรสาครจำนวน 10 แห่ง ทางโรงพยาบาลสมุทรสาคร ได้เห็นความสำคัญของโครงการปลอดโรคปลอดภัย กายใจเป็นสุขมีประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีการบริหารจัดการการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อโรคไม่ติดต่อ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทำงานในสถานประกอบการ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครให้มีสุขภาพกายใจที่ดี มีความปลอดภัย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคให้เกิดรูปแบบการดูแลสุขภาพที่ครบวงจรที่ตรงกับบริบทของอำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร
  • เพื่อให้ประชาชนวัยทำงาน ที่ทำงานในสถานประกอบการ มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ให้มีความปลอดภัย มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

3. เพื่อสร้างต้นแบบสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุขในระดับจังหวัด และระดับประเทศ

กลยุทธ์ กลวิธี ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน กิจกรรม

1. ประชาสัมพันธ์โครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุขกับกลุ่มเป้าหมาย

2.คัดเลือกรับสมัครสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการปลอดโรคปลอดภัย กายใจเป็นสุข ปี 2558

3. ออกเยี่ยมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ตามกลุ่มเป้าหมายจำนวน 10 แห่ง

4. พี่เลี้ยง คณะทำงานและหน่วยบริการสาธารณสุขสนับสนุนวิทยากร/กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ให้กับสถานประกอบการเช่น แจกเอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์ คำปรึกษาแนะนำสำรวจปัญหาและประเมินความเสี่ยงสุขภาพ/ความปลอดภัย ในการบริหารจัดการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคต่างๆ

5. ติดตามและสรุปผลการประเมินร่วมกันระหว่างทีมงาน พร้อมให้ข้อเสนอแนะ

ผลการดำเนินงาน

ผลการบริหารจัดการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ปี2558 มีสถานประกอบการเข้าร่วม 17 แห่ง ซึ่งเกินเป้าหมาย และผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานระดับจังหวัดทั้ง 17 แห่ง (ในจำนวนนี้มีสถานประกอบการผ่านเกณฑ์ได้รางวัลระดับเขต 1 แห่ง ระดับประเทศ 2 แห่ง)

ผลการดำเนินงานโดยใช้เกณฑ์การประเมินตนเองตามมาตรฐาน4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสนับสนุนองค์กรด้านปลอดโรค ด้านปลอดภัย ด้านกายใจเป็นสุข หลังการดำเนินการพบว่า1)มีการสนับสนุนองค์กร จากเดิมร้อยละ40 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100 2)ด้านปลอดโรค จากเดิมร้อยละ46.67 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.673) ด้านปลอดภัย จากเดิมร้อยละ53.33 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.67 และ4)ด้านกายใจเป็นสุข จากเดิมร้อยละ40 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 สถานประกอบการสามารถพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรนำปัญหามาจัดลำดับความสำคัญ วิเคราะห์หาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคทั้งโรคติดต่อเช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรควัณโรค เป็นต้น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โรคจาการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เช่น โรคปวดหลัง โรคเครียด เป็นต้น ทำให้เกิดโครงการ/กิจกรรมในการดูแลสุขภาพ เกิดการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคที่ตรงกับความต้องการมีกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จ เช่นโครงการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีการให้ความรู้ ตรวจสุขภาพคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง กิจกรรมป้องกันกำจัดยุงลาย กิจกรรมธรรมะสัญจร กิจกรรมลดละเลิกบุหรี่/สุรา/ยาเสพติด และอุบัติเหตุ กิจกรรมลดหวานมันเค็ม เป็นต้น เป็นต้นแบบการดูแลสุขภาพที่ดี อีกทั้งประชาชนในวัยทำงานเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองและมีความปลอดภัยมากขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. มีผู้บริหาร ทีมงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือสนับสนุน

2. การมีสัมพันธภาพที่ดี และมีการประชาสัมพันธ์ชี้แจงแนะนำที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน

3.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพร้อม ความสมัครใจ

4. ศักยภาพของพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษาแนะนำ ติดตามประเมินแบบครบวงจรและต่อเนื่อง

5.การทำงานแบบเครือข่าย แบบเพื่อนช่วยเพื่อน แบบพี่ช่วยน้อง

6.มีระบบการบริหารจัดการ และการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

7.มีการติดตามเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และประเมินผลแบบต่อเนื่องครบวงจร

ปัญหา อุปสรรค

1. ไม่มีตัวอย่างรูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ที่มาจากการใช้เกณฑ์มาตรฐานของโครงการสถานประกอบการปลอดโรคปลอดภัยกายใจเป็นสุขแบบครบวงจร ทำให้ต้องใช้เวลานานในการศึกษาข้อมูล ทดลองดำเนินการให้ตรงกับบริบทจังหวัดสมุทรสาคร

2.สถานประกอบการบางแห่ง ประชาชนวัยทำงานบางคนเคยมีทัศนคติที่ไม่ดีกับหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ต้องใช้เวลาอธิบายในการปรับทัศนคติ

ข้อเสนอแนะ

1.ควรมีการติดตามกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค แบบต่อเนื่องโดยใช้แนวทางการบริหารจัดการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ช่วยในการบริหารจัดการดูแลสุขภาพของประชาชน

2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กรมอนามัย เป็นต้น ควรประชาสัมพันธ์ สนับสนุนให้ความรู้ ผ่านช่องทางต่างๆ แบบต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพกายใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความปลอดภัย

หมายเลขบันทึก: 622487เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2017 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2017 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท