วิธีคิด....การทำนาของคนใต้


การทำนาไม่ใช่ทำเพื่อการค้าอย่างเดียว....เพราะที่ภาคใต้นั้นทำนาเพื่อการบริโภคในครัวเรือนไม่ได้ทำนาเพื่อขาย.

            ตั้งแต่เด็ก... พ่อกับแม่สอนเสมอว่า กินข้าวต้องกินให้หมด..หมดทุกเม็ด..อย่าให้เหลือ......จนกระทั่งเดี๋ยวนี้พฤติกรรมการกินข้าวของดิฉันก็ยังเป็นแบบนี้..ยกเว้นแต่ว่า...กินไม่ไหวแล้วจริงๆ......  ครอบครัวดิฉันไม่ใช่ชาวนาหรอกนะคะ..แต่เป็นคนในอำเภอเมือง..เมืองสกลนคร..... ถึงแม้พ่อ แม่ จะปลูกฝังให้เห็นคุณค่าของข้าวทุกเม็ด..แต่ในชีวิต..ดิฉันไม่เคยมีในความคิดเลยสักครั้ง...ปิ๊งแว๊บ..ก็ไม่เคย....ว่าอยากจะทำนา หรือ ลองทำนา ...........  แต่แล้วความคิดก็เปลี่ยนไป..เมื่อเข้าร่วม ตลาดนัดเครือข่ายการจัดการความรู้มูลนิธิข้าวขวัญ วันที่ ๒๐-๒๑ พ.ย.๔๙

            ประสบการณ์ใหม่ของดิฉันเริ่มต้นขึ้น ในตอนเช้าของวันที่  ๒๐ พ.ย.๔๙ เวลา ๐๘.๓๐ รถตู้ได้พาทีม สคส. ออกจากอาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ มุ่งหน้าไปยัง มูลนิธิข้าวขวัญ (มขข.) จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเข้าร่วมตลาดนัดเครือข่ายการจัดการความรู้มูลนิธิข้าวขวัญ....วัตถุประสงค์เริ่มแรกของดิฉันในการไปครั้งนี้คือ การไปเรียนรู้รูปแบบและกระบวนการจัดการความรู้ของ มขข. และการไปสัมภาษณ์เครือข่ายชาวนาในภาคใต้.......

            รถตู้พาพวกเราเดินทางไปถึง มขข.  ประมาณ ๑๐.๓๐ น.  ตลาดนัดเครือข่ายฯ จัดขึ้นในกลางท้องทุ่งนาของ มขข. มีเวทีตั้งเด่นตระหง่านอยู่ตรงกลาง  มีเก้าอีนั่งสีแดงแบบงานวัดทั่วไป.  มีที่กำบังแดดคือ สแลนสีเขียวโปร่ง  และ บริเวณรอบมีการติดตั้งซุ้มของเครือข่ายชาวนาภูมิภาคต่างๆ   (อุณหภูมิขณะนั้นจินตนาการกันเอาเองนะคะ...ว่าจะมีอุณหภูมิประมาณสักเท่าไหร่)
 

              ภารกิจในวันนี้... คือการสัมภาษณ์เครือข่ายชาวนาภาคใต้ ว่ามีการทำนาอย่างไร  เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อได้มาเรียนรู้กับ มขข. แล้ว และมีเทคนิค หรือ การจัดการความรู้อย่างไร ในการทำนา ..... แรกเริ่มดิฉันก็คิดว่าจะหาตัวชาวนาที่จะให้ข้อมูลที่ต้องการได้จากไหนนะ...แล้วจะเริ่มต้นสัมภาษณ์อย่างไร...เพราะไม่เคยสัมภาษณ์ใครมาก่อนเลย.....ดิฉันก็เลยเกาะติดพี่หญิง นภินทร เพื่อศึกษาดูว่า พี่หญิง มีเทคนิคการสัมภาษณ์อย่างไร...สังเกตได้สักพัก..ดิฉันจึงเริ่มไปหาตัวชาวนาภาคใต้โดยสอบถามจากเจ้าหน้าที่ มขข. ก่อนว่า ชาวนาภาคใต้ คนไหนที่น่าจะสัมภาษณ์แล้วได้ข้อมูลครบถ้วน......และแล้ววันนี้ดิฉันก็ได้สัมภาษณ์ชาวนา ๒ คน คือ ลุงเพ่ง ศรีทองช่วย ชาวนา จ.พัทลุง (ลุงเพ่ง มีนามบัตรมาแจกด้วยนะคะ)  และ คุณวีรพล เกิดผล ชาวนา จ.ตรัง 

                จากการสัมภาษณ์ชาวนาทั้ง ๒ นี้ พอเข้าใจการทำนาในแต่ละภาคของประเทศว่า การทำนาไม่ใช่ทำเพื่อการค้าอย่างเดียว....เพราะที่ภาคใต้นั้นทำนาเพื่อการบริโภคในครัวเรือนไม่ได้ทำนาเพื่อขาย..... ดังนั้นเมื่อทำนาเพื่อกินเอง ก็จะคำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพของตัวเอง การทำนาจึงต้องการทำนาธรรมชาติ หรือ ทำนาแบบอินทรีย์ เนื่องจากคิดได้เองว่าถ้าทำนาโดยใช้สารเคมี ตัวเองก็ต้องได้รับสารเคมีเหล่านั้นด้วย...... การคิดได้เองทำให้กลับไปนึกย้อนถึงการทำนาในอดีตที่ทำกันในชุมชนของตนเอง  เป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูการทำนาที่ปลอดสารเคมี.... เพียงแต่ขาดเทคนิคดีๆ ในการปลูกข้าวให้มีคุณภาพตามต้องการเท่านั้น.... จึงได้เสาะหาความรู้เทคนิคการทำนาจากที่ต่างๆ และได้มาพบกับ มขข.  ทำให้ได้เทคนิคต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะ เทคนิคการปรับปรุงดิน ที่ใช้เชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติ.... ซึ่งถือเป็นเทคนิคแรกที่ได้เรียนรู้จาก มขข. แล้วนำกลับไปปรับใช้กับการทำนาในบริบทของตน โดยจะมีการพัฒนาต่อยอดเทคนิคที่ได้จาก มขข. ต่อไป....... นี่ถือเป็นเพียงการเริ่มต้นของการพัฒนาการทำนาปลอดสารเคมีของเครือข่ายชาวนาภาคใต้.

         

หมายเลขบันทึก: 62243เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร

ยินดีที่รู้จักค่ะ ตอนนี้ทางเรามีกิจกรรมการทำนา โดยจะทำแบบแปลงนาสาธิตขนาดเล็ก

ที่โคกพม่า จ.ภูเก็ต"วิถึไทย ภูมิปัญญาไทย ชาวนาไทย" ในวันที่ 13-15 มีนาคม

สนใจที่จะเข้าร่วมไหมค่ะหรือจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกข้าวก็ได้

ซึ่งเราอยากได้จิตอาสาที่มีความชำนาญหรือมีความรู้ในการทำนามาช่วยด้วยค่ะ

ถ้ามีสมาชิกเครือข่ายสนใจ ช่วยติดต่อกลับหา หมอเพ็ญ โทร. 087-9990059

หมอเพ็ญเคยอบรมกับเครือข่าย "กสิกรรมธรรมชาติ" ที่ภูมิรักษ์ จ.นครนายก ของ

อ.ปัญญา และ อ.ยักษ์ (ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร) ที่มาบเอื้อง ใครที่อยู่เครือข่าย

หรือร่วมเครือข่าย "เศรษฐกิจพอเพียง" ช่วยให้คำแนะนำ หรือ มาช่วยได้ยิ่งดีน่ะค่ะ

ขอบคุณเพื่อนเครือข่ายทุกท่านค่ะ

 

 

 

แมวหน้าโรงหนังลุง

ขออนุญาตินำไปเผยแพร่ต่อครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท