ข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจในโครงการQS01


จากที่ได้ไปร่วมการประชุมเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการเปิดเผยสภาวะการติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก เมื่อวันที่๒๐พ.ย.ที่ผ่านมามีข้อมูลบางอย่างที่ได้เรียนรู้จากผู้จัดทำโครงการ(รพ.ศิริราชและสถาบันเด็ก)เกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กติดเชื้อเอชไอวี

 ซึ่งข้อมูลของจำนวนเด็กติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย(สถิติเมื่อ กพ.๒๕๔๙)ประมาณว่ามีเด็กไทยที่ติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เท่ากับ๖๕๐๐๐รายในจำนวนนี้ได้ใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีไปแล้วประมาณ๕๐๐๐๐ราย..

.เขตพื้นที่๑๐(เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง)ครองแชมป์มีประชากรเด็กติดเชื้อมากที่สุด รองลงมาคือในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล..อันดับสามได้แก่เขต๖(ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สุรินทร์).

.ถึงจะต่างสถานที่ต่างทิศกันก็ตามแต่สถานการณ์ที่ได้พบมากขึ้นเหมือนกันก็คือ..เรากำลังก้าวสู๋ระยะของการระบาดช่วงที่๔ มีเด็กติดเชื้อเอชไอวีที่รอดชีวิตและกำลังก้าวสู่ความเป็นวัยรุ่นเพิ่มจำนวนมากขึ้น...ปกติการปรับตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นก็มีความเครียดความกดดันอยู่แล้วแต่เด็กเอชไอวีก็จะมีเรื่องการยอมรับสภาวะการติดเชื้อเอชไอวีของตนและพ่อแม่เพิ่มขึ้นมาอีกซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทั้งท้าทายและวิกฤติ..สิ่งที่เราคาดหวังในการเปิดเผยผลเลือดให้เด็กได้รับรู้ก็เพื่อให้เด็กเกิดการดูแลตนเองดีขึ้น,เพื่อให้เด็กกินยาสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพราะเมื่อเด็กเริ่มโตเขาก็จะตั้งข้อสงสัย สังเกตุ ค้นหา เปรียบเทียบตัวเขาเองกับเด็กอื่นๆ การที่ผู้ปกครองบางรายอาจจะเคยใช้วิธีขู่ให้เด็กกินยาจะเริ่มไม่ได้ผลแล้ว เด็กต้องการเหตผล ต้องการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเขาที่ชัดเจน การที่เด็กถามถึงโรคที่เขาเป็น หรือเหตุผลว่าทำไมเขาต้องมาหาแพทย์บ่อยๆ หรือทำไมเขาต้องกินยาทุกวัน ทำไม..ทำไม..และทำไม..เป็นเหมือนสัญญาณเตือนว่าเด็กควรจะต้องได้รับการเตรียมตัวเพื่อบอกผลเลือด..ฉันชอบคำกล่าวตอนหนึ่งของ อาจารย์ นพ.วิฐารณที่พูดถึงสิ่งที่อาจารย์อยากให้เกิดแก่เด็กเอชไอวีที่เขาจะสามารถพูดถึง การติดเชื้อเอชไอวีของเขา แก่ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดกับเขาได้ โดยไม่ต้องรู้สึกตะขิดตะขวงใจ..สำหรับฉันคิดว่าถ้าเด็กทำได้ในลักษณะนี้นั่นหมายถึงเขากำลังจะทำการSelf healingให้แก่ตนเองเลยที่เดียว

..แต่การที่ผู้ดูแลไม่กล้าเปิดเผยผลเลือกให้แก่เด็กได้รับรู้ก็มีหลายหลากเหตุผล เช่น เพราะเห็นว่าเด็กยังไม่โตพอที่จะเข้าใจ..ซึ่งจากเกณฑ์ในโครงการเริ่มคัดเด็กที่มีอายุตั้งแต่ ๗ ขวบขึ้นไปสอบถามความสมัครใจจากผู้ปกครองและเมื่อผู้ปกครองพร้อมก็จะได้นำมาสู่กระบวนการที่จะแจ้งผลให้แก่เด็ก..ฉันเคยมีประสบการณ์ว่าผู้ปกครองเองน่ะแหละที่ไม่พร้อมหรือไม่กล้าที่จะบอกเด็กเพราะกลัวว่าเด็กจะเกลียดหรือกลัวเด็กเสียใจ.ซึ่งในกระบวนการถ้าได้รู้ว่าผู้ดูแลเองก็มีความกังวลในจุดนี้หลังจากที่แจ้งผลก็ต้องมีการให้คำปรึกษาที่เหมือนกับการทำจิตบำบัดให้ทั้งแก่เด็กและผู้ใหญ่เพื่อให้ปมแห่งความกังวลต่างๆเหล่านี้มันได้ทยอยยุติลงไป.ผู้ดูแลบางคนมีเหมือนกันที่อยากบอกให้เด็กรู้แต่ไม่รู้วิธีการว่าจะพูดอย่างไร..ซึ่งอย่างนี้ก่อนชั่วโมงที่จะทำการบอกก็คงต้องมีการสอนทักษะการสื่อสารให้แก่ญาติเสียก่อนเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจ......ควบคู่ไปกับการเอาสื่อที่สร้างสรรค์และมีลักษณะเฉพาะกลุ่มในเมืองไทยเราก็ยังพอมีการสร้างสื่อเด็กเกี่ยวกับเอดส์อยู่บ้าง อาทิ นิทานภาพ หรือตอนนี้เป็นหุ่นมือนิทานไวรัสเดวีม่อน.ก็คงต้องนำมาสอนหรือสร้างความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับเอชไอวีให้แก่เด็ก...เพราะเด็กต้องอาศัยจินตการผสมผสานกับการแฝงการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัยของเขาการที่จะอธิบายเรื่องการติดเชื้อหรือแม้กระทั่งสภาพความเจ็บป่วยหรือความตายเด็กอาจมีภาพหรือมุมมองที่ต่างกันกับผู้ใหญ่ได้..

หมายเลขบันทึก: 62238เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท