๒. พระที่ข้าพเจ้ามี


หลังจากที่ตั้งจิตอธิฐานแล้วพระต่างๆไม่ว่าจะเป็นพระอะไรที่พวกเซียนเฝ้าตู้ในห้างใหญ่ว่าหายากหาเย็นข้าพเจ้าได้มาหมด

ส่วนใหญ่จะได้มาแบบฟรีๆ บางองค์ท่านเสด็จมาเอง บางองค์ก็มีคนเอามาให้แล้วบอกว่าจะให้เท่าไรก็ได้สรุปก็ได้มาแบบหลักสิบบาทไม่เกินร้อย พระที่ข้าพเจ้าได้มาแพงที่สุดคือ 15,000 บาทเป็นพระคงลำพูนเนื่องจากไปซื้อที่ตู้พระในห้างดิโอล์สยาม ตอนนั้นไม่ได้ตั้งใจไปซื้อพระแต่ไปหาซื้อพลอยไพลินจะเอามาทำหัวแหวน เป็นการซื้อพระก่อนที่จะตั้งจิตอธิฐานต่อสมเด็จโต และเป็นการซื้อพระที่แพงที่สุดของข้าพเจ้า

ปัจจุบันข้าพเจ้ามีพระชุดเบญจภาคีครบทุกองค์และเกือบทุกพิมพ์ โดยเฉพาะพระสมเด็จมีครบทุกพิมพ์ พระนางพญา พระรอด พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณ พระลีลา พระทางเหนือหลักๆมีครบ พระคง พระลือ พระสาม พระฤาษีนารอดที่ขึ้นพร้อมกับพระรอดยังมีเลย หายากสุดๆ ไม่อยากจะโม้ พระเบญจภาคีมีหลายองค์ พระสมเด็จมีหลักพันองค์ พระรอดมีหลายร้อยองค์ พระซุ้มกอมีร้อยกว่าองค์ พระผงสุพรรณมีร้อยกว่าองค์ พระลีลากำแพงร้อยกว่าองค์ พระคงมีหลายร้อย ฯลฯ

ส่วนตัวเป็นคนชอบพระกรุเพราะว่าเป็นคนชอบของเก่าก็เลยต้องศึกษาวิชาดูของเก่า ก็ศึกษาจากตำราต่างประเทศบ้างเพราะว่าคนไทยไม่มีความรู้ทางด้านนี้ หรืออาจจะมีคนมีความรู้แต่ก็คงเก็บไว้เฉพาะตัวไม่สอน ไม่เผยแพร่ซึ่งเป็นลักษณะคนไทยแต่โบราณ

นี่คือโลโก้สมาคม Antique Roadshow ของพวกฝรั่งเค้า พวกเค้ามีการสอนวิธีดูของเก่าซึ่งใช้หลักวิทยาศาสตร์มาอธิบายว่าความเก่าเกิดขึ้นจากอะไร และมีพัฒนาการเป็นอย่างไรเพื่อใช้ประเมินอายุของเก่าได้ นอกจากใช้หลักศิลปซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ประเมินอายุมาแต่เดิม แต่เนื่องจากมีการทำของเลียนแบบ (reproduction) ออกมามากและนับวันยิ่งทำได้เหมือนการใช้หลักศิลปในการแยกจึงมีปัญหาว่าไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วจึงต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์แทน

องค์ความรู้ที่ใช้ในการดูของโบราณจึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ดีด้วย สำคัญที่สุดคือวิชาเคมี และฟิสิกส์ ถ้าจะประยุกต์ดูพระเครื่องซึ่งส่วนใหญ่เป็นดิน หิน แร่ ปูน วัสดุจากต้นไม้ ก็ต้องใช้ความรู้ด้านดินหินแร่ทางธรณีวิทยา geology ด้านพืช botanical ผสมผสานด้วย แต่ความรู้หลักๆเลยคือความรู้ทางเคมี เนื่องจากสิ่งที่ดูได้ง่ายคือปฏิกิริยาของวัสดุต่างๆผ่านกาลเวลาจึงมีพัฒนาการของผิววัสดุที่ผ่านการทำปฏิกิริยากับสภาพภายนอกเช่น ออกซิเจนในบรรยากาศ ความชื้น แสงแดด สารที่อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นๆเช่นภายในกรุ ภายในเจดีย์ อยู่ในไห อยู่ใต้ดิน เป็นต้น

ดังนั้นการแยกพระแท้ออกจากพระเทียมโดยใช้องค์ความรู้ทางด้านเคมีจึงยุติด้วยข้อเท็จจริง พิสูจน์ได้ ทำซ้ำได้ อธิบายได้ ดีกว่าการดูของเซียนพระเฝ้าตู้ในห้างใหญ่ที่สอนแต่ให้ดูตำหนิแม่พิมพ์ จุตดาย และจุดที่พวกเซียนไม่บอก คือ "จุดจ่ายเงิน" นั่นเอง ซึ่งก็อาจจะถูกแต่ไม่ทั้งหมด เพราะว่าพระแท้จริงๆมีมากพิมพ์เพราะว่าสร้างครั้งหนึ่งก็ต้องมีหลัก 84,000 องค์ตามคติคนไทยแต่เดิม ถ้ามีแค่พิมพ์เดียวทำกี่วันถึงจะเสร็จ ผมลองคำนวนดูแล้ว ถ้าพระองค์หนึ่งใช้เวลาทำครึ่งนาที ทำวันละ 8 ชั่วโมง ทำทุกวัน ปีหนึ่งทำพระได้ 84,000 องค์ ถามว่ามีใครตั้งพิธีทำพระถึงหนึ่งปีไหมครับ ไม่มีหรอกมันนานไป ดังนั้นสร้างพระครั้งหนึ่งๆต้องมีหลายแม่พิมพ์แน่นอน

มีต่อ.....

๒๖ มค. ๖๐

หมายเลขบันทึก: 622146เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2017 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2017 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท