ศาสตร์พระราชา...นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


การจัดการศึกษาต้องไม่เป็นไปเพื่อ..การเห็นแก่ตัว..ทั้งครูและนักเรียน..แต่เป็นไปเพื่อสร้างองค์ความรู้คู่คุณธรรม..นำมาซึ่งความรัก สามัคคี ทำงานร่วมกันได้และปฏิบัติได้จริง..

ขับรถกลับ..ด้วยอารมณ์ยิ้มกริ่ม อิ่มเอมในความรู้สึก มีความสุขในงานที่ทำมาแล้วและจะทำต่อไป..งานที่คิดว่า..ใช่ ไม่มีใครบังคับให้ทำ ..ไม่ได้ทำเพื่อรางวัลหรือเป็นต้นแบบให้ใคร นโยบายก็ไม่ได้พูดถึง..เพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเรามากมาย..เทิดทูนแต่ไม่ปฎิบัติ...

แต่วันนี้..ไม่เหมือนที่ผ่านมาแล้ว เพราะ รมว.ศธ.ให้นโยบายการศึกษาของชาติที่ชัดเจน..ทุกเรื่องราว..กิจกรรม งาน โครงการ การพัฒนาครู นักเรียน การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการแก้ปัญหาการศึกษาชาติ..จะใช้ศาสตร์พระราชา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการทำงาน ให้บังเกิดผลจับต้องได้ ด้วยความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา..

ผมรับทราบนโยบายในที่ประชุมผู้บริหารในวันนี้.ด้วยใจจดจ่อ ตื่นเต้น เร้าใจ..และชื่นชมแนวคิดและนโยบายของ..รมว.ศธ...เป็นคนแรกในรอบหลายปี ที่พูดถึงการศึกษาตามคำพ่อสอน ทั้งยังจูงใจให้ ผอ.เขตและ ผอ.ร.ร.ตระหนัก..ไม่เพียงแค่บอกรักและเทิดทูนพ่อ..

“พ่อพูดไว้ตั้งแต่ยังไม่ประชวร จนประชวร และตอนนี้ท่านสวรรคตแล้ว..พวกเราจะยังไม่ทำกันอยู่..อีกหรือ..”

แนวคิดของ รมว.ศธ. ใจความสำคัญอยู่ที่ การจัดการศึกษาต้องไม่เป็นไปเพื่อ..การเห็นแก่ตัว..ทั้งครูและนักเรียน..แต่เป็นไปเพื่อสร้างองค์ความรู้คู่คุณธรรม..นำมาซึ่งความรัก สามัคคี ทำงานร่วมกันได้และปฏิบัติได้จริง..

โดยตัวชี้วัดทั้งหมด จะขับเคลื่อนด้วยหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อ..๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข..ที่สอดรับในทุกทฤษฎี และสอดคล้องกับวิถีไทย..

ขับรถถึงโรงเรียน มองไปรอบๆ รู้สึกสดชื่น หายเหนื่อย เหมือนขับรถเข้าไปในดงนโยบาย แทบไม่ต้องทำอะไรใหม่..ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง..บอกตัวเองว่า เราจักทำตามคำสอนพ่อ..ต่อไป

แล้วพรุ่งนี้ต้องทำอะไรบ้างล่ะ..โดยครูและนักเรียนเรียนรู้ร่วมกัน ต้องง่าย งดงาม และได้ประโยชน์

รั้วข้างครัว..ต้องปรับปรุงดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปลูกต้นกระเพราและตะไคร้เพิ่มเติม ให้แม่ครัวได้ใช้..

ว่านหางจระเข้..มากมาย ต้องขยายพันธุ์ ต้องวางแผนกับนักเรียน ว่าจะปลูกที่ไหนอย่างไร..

รอบๆศาลาพระ..ซ่อมแซมต้นเข็ม ใช้ไม้ประดับเป็นรั้ว ประหยัดและเพิ่มความสวยงาม..

นักเรียน ป.๖ ต้องเรียนรู้การทำร้านไม้เลื้อยให้แตงกวาและถั่วพลู..

ก่อนกลับบ้าน..ใส่ปุ๋ยบำรุงดินให้ต้นหอม..ต้องยอมรับคุณค่าในตัวเอง ที่เข้าใจนโยบายระดับสูง แล้ว..นำมาปฏิบัติได้ทันทีในระดับรากหญ้า..หรือว่า..นี่คือ..วิถีชีวิตครู..ที่พอเพียงอยู่แล้ว

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๗ มกราคม ๒๕๖๐








หมายเลขบันทึก: 621682เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2017 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2017 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท