การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็น ของการสมัครเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยครั้งที่ 9 ที่ มข. 19 ม.ค.2550


การออกแบบขั้นตอนการดำเนินงาน ที่เห็นดูยุ่งยาก วุ่นวายนั้น บางครั้ง อาจเป็นเพราะใส่ใจในรายละเอียดที่ไม่จำเป็นเกินไปหรือไม่

ม.ขอนแก่น จัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9 โดยเปิดรับสมัครถึง 15 พ.ย.49 และได้ขยายเวลารับสมัครจนถึง 24 พ.ย.49 นี้

การรับสมัคร โดยกรอกข้อมูลและพิมพ์จากเวบไซต์ http://gs.kku.ac.th/gradresearch/
เตรียมเอกสารประกอบการสมัคร  ได้แก่ บทความวิจัย, สำเนาหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษา, ใบสมัคร, และ บันทึกข้อมูลลงแผ่น CD โดยบันทึกเป็น Microsoft word และ PDF ไฟล์

ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ หรือไปส่งด้วยตัวเอง

เมื่อเปรียบเทียบกับเวทีประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาเหมือนกัน รูปแบบการรับสมัครของ มข. ดูยุ่งยากกว่า

ของ ม.มหิดล ให้ผู้สมัครเข้าไปกรอกข้อมูล และ Upload ไฟล์ผ่านทาง เวบไซต์ได้เลย
ของ ม.รังสิต ให้ผู้สมัครส่งบทความโดย write ข้อมูลลง CD พร้อมใบสมัครที่กรอกข้อมูล ส่งทางไปรษณีย์ หรือแนบไฟล์ส่งทางอีเมล์

มหิดลและรังสิต ไม่ต้องส่งสำเนาหนังสือรับรองต่างๆ เปิดช่องทางให้สมัครและส่งข้อมูลทางอินเตอร์เนตได้เลย

ระบบการคัดเลือกผลงาน มหิดล และ ม.รังสิต จะมี Reader ช่วยกันอ่าน และคัดสรรบทความที่ได้รับ พร้อมให้คำแนะนำในการแก้ไขตามมาตรฐานทางวิชาการของสถาบัน

ม.ข.  จัดเป็นครั้งที่ 9 แต่ ม.มหิดล และ ม.รังสิต จัดครั้งที่ 1

มข. ขั้นตอนเยอะกว่า คงเพราะต้องการคัดเลือกผลงานที่จะถูกนำเสนอให้มีคุณภาพ แต่ผู้ส่งผลงานหลายคน มีเวลาในการเตรียมตัวจำกัด หลายคนเตรียมเอกสารต่างๆไม่ทัน จึงต้องพลาดโอกาสร่วมนำเสนอผลงาน

แนวคิดของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ผลงาน นำผลงานวิจัยไปใช้ต่อ และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลงานวิจัยให้มีคุณภาพต่อไป

มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า  มข.ตั้งกฏเกณฑ์ในการรับสมัครที่เกินความจำเป็นหรือไม่
ในขณะที่อีก 2 สถาบัน เน้นที่ผลงานวิจัยที่ส่ง ข้อมูลอื่นๆ ให้กรอกในใบสมัคร และผ่านเวบไซต์ แต่ มข.ต้องมีเอกสารมายืนยัน ถึงจะรับพิจารณา

ผ่านจัดการประชุมของ มข. ต้องมีภาระงานเพิ่มขึ้น ในการตรวจสอบและรวบรวมเอกสารการสมัครให้ครบทุกอย่าง ในขณะที่อีก 2 สถาบัน เมื่อได้รับใบสมัคร หรือข้อมูลถูกกรอกในเวบไซต์ บันทึกในฐานข้อมูลแล้ว ผู้จัดการประชุม จะใช้เวลาในการตรวจสอบบทความวิจัยเท่านั้น

ไม่ต้องมาเสียเวลาตรวจนับเอกสาร ซึ่งความจริงแล้วใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันเท่านั้น
แต่เนื้องานที่แท้จริง คือ ผลงานวิจัยต่างหาก เพราะการจัดประชุมวิชาการ ไม่ได้เอาเอกสารหลักฐานมาแปะโชว์พร้อมกับผลงานวิจัยด้วย

เสร็จจากงานประชุม ก็จะมีกองเอกสารการรับสมัครกองใหญ่  เป็นภาระในการจัดเก็บ ขนย้าย เป็นการเพิ่มภาระงานที่ไม่น่าจะเพิ่มด้วยซ้ำ

กองกระดาษ ใบสมัคร หนังสือรับรอง เหล่านั้น เสร็จจากงานก็ไร้ค่า กองเอาไว้ชั่งกิโลขาย



การออกแบบขั้นตอนการดำเนินงาน ที่เห็นดูยุ่งยาก วุ่นวายนั้น บางครั้ง อาจเป็นเพราะใส่ใจในรายละเอียดที่ไม่จำเป็นเกินไปหรือไม่

รายละเอียดบางอย่าง ที่ดูเหมือนจะเล็กน้อย เมื่อรวมกันมากขึ้น เป็นสิ่งที่เบียดบังเวลาในการทำงานอื่นๆที่จำเป็นหรือไม่


.... นายบอนได้รับฟังข้อสังเกตของเพื่อนๆแล้ว ก็จริงอย่างที่ว่าครับ
จะมีกี่คนที่มีโอกาสได้เห็นรูปแบบการเตรียมงาน การรับสมัครของหลายๆที่ แล้วนำมาเปรียบเทียบ มองหาจุดเด่น จุดด้อยของการเตรียมงานต่างๆ

ถ้าไม่ได้รับฟังข้อสังเกตของเพื่อนแล้ว มองไม่ออกเหมือนกันครับว่า  ขั้นตอนการรับสมัครนั้น มีอะไรที่เกินความจำเป็นบ้าง  ส่วนไหนที่มาเบียดบังเวลาทำงาน แรงงาน โดยที่หน่วยงานนั้น ไม่รู้ตัวมาก่อน

และทำให้การทำงานดูยุ่ง วุ่นวายอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆที่สามารถที่จะลดปริมาณงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็น แต่ยังคงรักษาหัวใจสำคัญของตัวงานนั้นไว้ได้

และจะเกิดเนื้องานที่มีคุณภาพมากขึ้น  โดยการทุ่มเทไปที่หัวใจสำคัญของตัวงานนั้น

-

หมายเลขบันทึก: 62158เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท