​"ธาตุ 4" ที่คนในวงวิชาการ ทั่วไป อาจจะยังสับสน


สมมติสัจจะ และ ปรมัตถสัจจะ

"ธาตุ 4" ที่คนในวงวิชาการ ทั่วไป อาจจะยังสับสน

.....................................
ระหว่าง สมมติสัจจะ และ ปรมัตถสัจจะ
*************************
ผมเคยเรียนเรื่องนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนวิชาเคมีเบื้องต้น ที่อาจารย์ผู้สอนได้ใช้คำ สมมติสัจจะ" มาอธิบาย จึงไม่ตรงกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ใช้ "ปรมัตถสัจจะ" ในการอธิบายองค์ประกอบของจักรวาล ทั้งปวง

โดยที่คนส่วนใหญ่ ถือว่า ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ ในเชิงสมมติสัจจะ
ด้วยการใช้ส่วนผสมของธาตุ 4 เช่น ดิน น้ำ ลม และ ไฟ มาเป็นตัวแทนในการบรรยาย ธาตุ 4 ที่ทำให้สับสันเป็นอย่างมาก

ทั้งๆที่ ความจริง (ปรมัตถสัจจะ) นั้น แตกต่างจากที่ผมเคยเรียนมาอย่างเกือบจะสิ้นเชิง
-----------------------------------------
เช่น.......

สิ่งที่เรียกว่า ปฐวีธาตุ (หรือ ที่มักนำมาแปลง่ายๆ ว่า ธาตุดิน) คือ สิ่งที่แสดงผลออกมาทาง "อ่อน แข็ง"
อะไรก็ตาม ที่มีความอ่อน และแข็ง นั้น ถือเป็นว่าเป็นการแสดงออกของปฐวีธาตุ ทั้งหมด ไม่จำกัดสถานะ ว่าเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือ กาซ
..................................
สิ่งที่เรียกว่า อาโปธาตุ (ที่เรานำมาแปลง่ายๆว่า ธาตุน้ำ) คือ สิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบ แผ่ซ่าน ไปได้ ในทุกหนทุกแห่ง โดยไม่จำกัดสถานะที่ปรากฏด้วยสัมผัสต่างๆ ใดๆทั้งสิ้น รวมเรียกว่า อาโปธาตุ ทั้งสิ้น
...............................
สิ่งที่เรียกว่า วาโยธาตุ (ที่เรามาแปลว่า ธาตุลม) คือ สิ่งที่ปรากฏลักษณะ ตึง ไหว ที่มีอยู่ในลักษณะของทุกสรรพสิ่ง โดยไม่เกี่ยวข้องกับสถานะ เช่นเดียวกัน
...........................
และสิ่งที่เรียกว่า เตโชธาตุ (ที่เราเรียกว่า ธาตุไฟ) คือ ลักษณะที่ปรากฏ ร้อน เย็น โดยไม่จำกัดสถานะ เช่นเดียวกัน
----------------------------------------------
ทั้ง 4 ธาตุ นี้ จะผสมผสานกันอยู่ในทุกสรรพสิ่งของจักรวาล ในพื้นผิวโลก ในทะเล ใน อากาศ แม้กระทั่งในอวกาศ ก็จะมีส่วนผสมของธาตุ 4 ในสัดส่วนต่างๆ ที่ไม่แน่นอน เป็นไปตามเหตุ และปัจจัย
-----------------------------
นี่คือความหมายจริงๆ (ปรมัตถสัจจะ) ของ ธาตุ 4 ที่ควรเข้าใจ ในการศึกษาธรรมะ (ความจริง) ของธรรมชาติครับ
+++++++++++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 620895เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2016 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ธันวาคม 2016 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้จำกัดความ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท