แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ wrist fracture สู่กิจกรรมบำบัด



จากภาพคือ fact sheet ที่ดิฉันได้สอบถามมาจากเพื่อนของดิฉันที่เคยมีประสบการณ์ข้อมือหักเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ว่าเขาทำอย่างไรและมีการปรับตัวอย่างไรกับสิ่งที่เปลี่ยนไป จากข้อมือที่เคยใช้งานได้ปกติมามีอาการข้อมือหัก ไม่สามารถใช้ข้อมือได้ โดยเพื่อนของดิฉันได้มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเองตามกระบวนการที่ได้ตามใน fact sheet ทางด้านบน โดยดิฉันได้ออกไปเล่าเรื่อง fact sheet ของดิฉันหน้าชั้นเรียน พอดิฉันเล่าจบ อาจารย์ได้ให้คำถามที่จุดประกายความคิดทางกิจกรรมบำบัดของดิฉันคือ " แล้วถ้านักศึกษาสามารย้อนเวลากลับไปได้ เราจะให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดอย่างไรกับเขา" ดิฉันอึ้งไปสักพัก แล้วคิดขึ้นมาได้ว่า อย่างแรกที่เรานักกิจกรรมบำบัดสามารถทำได้คือ การใส่ splint โดยอาจารย์ก็ตามต่ออีกว่า " นักศึกษาจะให้ splint ประเภทใดแก่เขา" โดยดิฉันตอบไปว่า cock up splint เพื่อช่วยจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อมือในระยะแรกที่ต้องการให้กระดูกเชื่อมติดกันก่อน แต่อาจารย์ได้มีการแนะนำว่า เราควรให้เป็น functional splint เนื่องจากเป็นการกำการการเคลื่อนไหวของข้อมือ แต่ยังคงความสามารในการทำงานของนิ้วมืออยู่ได้โดยใส่ splint เป็นระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ผู้รับบริการได้รับการถอดsplint นักกิจกรรมบำบัดก็ควรที่จะประเมินความสามารถเบื้องต้นของผู้รับริการก่อน เพื่อประเมินความสามรถที่เหลืออยู่ จากนั้นเป็นการฝึก hand function และให้กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของนิ้วมือและข้อมือ

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 620054เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท