๔๖๑. หนังสือมีชีวิต..คิดกิจกรรม..เพิ่มเวลารู้


สพฐ. เห็นความสำคัญของครูหรือบุคลากรที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งต้องทำหน้าที่พัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่รวบรวมสารสนเทศสนับสนุนการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งให้บริการบุคลากรในโรงเรียนให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

โรงเรียนปิด ๓ วัน ผมไปเป็นคณะทำงานของ สพฐ.ในโครงการประชุมปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรครูบรรณารักษ์ ในวันที่ ๒ – ๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา.. ณ โรงแรมบียอนด์ บางพลัด กรุงเทพฯ

ด้วย สพฐ. เห็นความสำคัญของครูหรือบุคลากรที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งต้องทำหน้าที่พัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่รวบรวมสารสนเทศสนับสนุนการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งให้บริการบุคลากรในโรงเรียนให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

วัตถุประสงค์ในโครงการนี้มี ๒ ประการด้วยกัน คือนอกจากจะพัฒนาหลักสูตรครูบรรณารักษ์ทางออนไลน์ ให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนางานให้พร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ รวมทั้งสามารถจัดการงานในห้องสมุดตามที่ได้รับมอบหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกิจกรรมรักการอ่านให้เป็นแนวทางในการดำเนินงานตามนโยบาย”ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”ที่หลากหลาย

ผมไปช่วยสพฐ.ทำในวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒..ช่วยกันคิดเมนูกิจกรรมรักการอ่าน ตั้งแต่ชั้นปฐมวัย,ป๑ – ป.๖ และม.๑ – ม.๓. รวมทั้งหมด ๑๐๐ เมนู..เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้ว สพฐ.ก็จะนำเมนูกิจกรรมทั้งหมดไปแขวนไว้ที่เว็บ สพฐ. ที่ชื่อว่า TEPE ONLINE ที่ครูทั่วประเทศรู้จักกันดี

ผมกับน้องศึกษานิเทศก์ ช่วยกันคิดกิจกรรมรักการอ่านชั้น ป.๖ รวม ๑๐ กิจกรรม แบ่งกันคนละ ๕ เมนู..ผมได้เขียนต้นฉบับให้สพฐ.ไปแล้ว เมนูของผมประกอบด้วย..กิจกรรมร้อยเรียงเรื่องราว...ร้อยกรองลองปัญญา คุณค่าที่คู่ควร สารพันปัญหา และค้นหาถ้อยคำ...

โครงสร้างของเมนูกิจกรรม มีความชัดเจนและสะดวกต่อการนำไปใช้ ตลอดจนสอดรับกับนโยบายในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ตั้งแต่ผังมโนทัศน์ของกิจกรรม ที่จะต้องพัฒนา ๔ H คือ พัฒนาสมอง (Head) พัฒนาจิตใจ (Heart) พัฒนาทักษะการปฏิบัติ ( Hand) และพัฒนาสุขภาพ (Health)

นอกจากนั้น ยังได้ระบุตัวชี้วัด ที่มีเป้าหมายด้านการอ่านเป็นสำคัญ ระบุสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ในทุกกิจกรรม ได้กำหนดเกณฑ์ความสำเร็จ ข้อเสนอแนะ ข้อควรคำนึง สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ท้ายที่สุดได้กำหนดแนวทางการประเมินผล ที่สำคัญที่สุดก็คือ กระบวนการขั้นตอนการจัดกิจกรรม..ที่คณะทำงานต้องกำหนดให้ชัดเจน และง่ายต่อการนำไปใช้ให้มากที่สุด เพื่อให้บรรลุกิจกรรมรักการอ่าน.ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เสร็จสิ้นการประชุมปฏิบัติการไปเป็นที่เรียบร้อย ผมก็ได้แต่คิดว่า..โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้..ของ ศธ.จะก้าวไปได้ไกลแค่ไหนหนอ..และคิดว่าจริงๆแล้ว..กิจกรรมรักการอ่าน ก็เป็นกิจกรรมสำคัญในระดับหัวแถว..แต่แทบจะไม่มีใครพูดถึงเลย..

<p “=””> <p “=””>หลายคนคงคิดเหมือนผม..หากว่า..ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้..ต้องจากไปจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ที่สุดแล้ว..กิจกรรมรักการอ่าน..จะอยู่และยั่งยืนที่โรงเรียน..เหตุผลก็คือ..ครั้งหนึ่งเราเคยมีโครงการห้องสมุดมีชีวิต แต่มีชีวิตแบบเงียบเหงา วันนี้..สพฐ.มาปลุกห้องสมุดให้ตื่นขึ้น และทำหนังสือให้มีชีวิตด้วยการคิดกิจกรรม ทำให้นักเรียนรักการอ่าน..ด้วยเมนูที่น่าสนใจ..ทำให้เกิดเครื่องมือที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในทุกสาระวิชา..และเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาการศึกษาไทย. </p> </p>

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๖ ธันวาคม ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 619802เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2016 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2016 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ช่วยห้องสมุดด้วยจ้าา่่...!

ยังหาที่เกิดไม่ได้เลย...แง..แง...แง..!



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท