บทบาทของครูในการปลูกฝังวัฒนธรรมไทยให้แก่เด็กปฐมวัย


วัฒนธรรมไทยใกล้จางหายไปจากบุคคลรุ่นหลัง โดยเฉพาะเด็กในระดับปฐมวัย จึงในบางครั้งอาจจะทำให้สิ่งที่ถือปฏิบัติกันมายาวนานนั้นเริ่มหายไป การไม่ดูแลเอาใจ การนำสิ่งอื่นๆ เข้ามามีบทบาทกับชีวิต ครูปฐมวัยเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและมีเวลาอยู่กับเด็กมากกว่าผู้อื่น ครูปฐมวัยจึงเป็นบุคคลที่สำคัญคนหนึ่งในการปลูกฝังและสอนเรื่องราววัฒนธรรมไทยในแก่เด็กปฐมวัยในขณะที่เรียนในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของเด็กปฐมวัยนั้น ครูสามารถที่จะเริ่มจากการเรียนรู้ที่เด็กได้รับในปัจจุบันได้เลย สิ่งแรกควรจะมุ่งไปในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรักความเป็นไทย ให้เด็กรู้จักตนเองมากขึ้น รู้จักที่มาของตนเอง ให้เด็กเกิดความสำนึกที่จะนึกถึงกัน และเกื้อกูลต่อกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ในสังคมที่มีจำนวนคนอยู่มากๆ ในเรื่องของรักความเป็นไทย จะรวมถึงการที่เด็กนั้นมีความภาคภูมิใจในประเพณีของตน การแต่งกายและแสดงมารยาทงามแบบไทย การสอนให้เด็กได้รู้คุณค่าของภาษาไทย และเกิดความตระหนักในการใช้ภาษาเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นให้เด็กเกิดการอยากที่จะเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการละเล่นไทย เด็กกับการเล่นเป็นสิ่งที่คู่กันมา ครูสามารถที่จะนำวัฒนธรรมไทย เข้าไปมีบทบาทกับเด็กได้อย่างง่าย เมื่อเด็กได้ปฏิบัติจนชิน เด็กก็จะเกิดความชื่นชอบ และไม่ลืมความเป็นไทย และประเพณีการละเล่นของไทยเลย ในเรื่องของดนตรี ก็ให้เด็กได้ซึมซับบทเพลงของดนตรีพื้นบ้านต่างๆ ให้เด็กได้ฟังทุกๆวัน และค่อยๆบอกความหมายของบทเพลงและที่มาของบทเพลงให้เด็กได้รู้ ให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของบทเพลงพื้นบ้านต่างๆ โดยการที่มีการสอนการร้องเพลง และอาจจะให้เด็กได้ร่วมทำกิจกรรมกับโรงเรียน ก็จะทำให้เด็กสนใจในเรื่องของดนตรีไทยมากขึ้น ในเรื่องของมารยาทไทย สอนให้เด็กรู้จักการขอโทษ การวางตัวกับคนในสังคมในจำนวนที่มากๆ การพูด การใช้น้ำเสียง ครูสามารถฝึกฝนเด็กในตอนที่เด็กอยู่ในชั้นเรียน การเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้เด็กได้เห็นเป็นประจำ ก็จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในการพาเด็กออกในทัศนศึกษาภายนอกห้องเรียน หรือภายนอกโรงเรียน ทำให้เด็กนั้นซึมซับและมีความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้พาเด็กไปในสถานที่จริง ได้สัมผัสของจริง เช่นการพาไปวัด เด็กก็จะได้กราบไหว้ การพาไปดูภูมิปัญญาไทย อาจจะมีสิ่งง่ายๆที่เด็กได้ลงมือทำ ก็จะทำให้เด็กนั้นสนใจที่จะทำสิ่งนั้น หลังจากที่ได้ลงมือทำแล้ว เด็กจะจดจำสิ่งนั้นไปตลอด เรื่องราวของวัฒนธรรมไทย ครูยังสามารถที่จะจัดในห้องเรียนได้อีก อาจจะเป็นการจัดนิทรรศการ การไหว้กันเมื่อเจอหน้ากัน การร้องเพลงไทย การให้เกียรติกัน หรือในบางครั้งอาจจะสอนเด็กในเรื่องของการทำขนมไทย ให้เด็กได้ลงมือทำจริงๆ เด็กจะเกิดการเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ในการลงมือกระทำจริงๆ เด็กจะตื่นตัว และมีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้สิ่งเหล่านั้น เมื่อเด็กเกิดความสนใจในสิ่งที่เราสอนแล้ว เราควรที่จะใส่เนื้อหาต่างๆเข้าไปแทรกแซงสิ่งที่จะเรียนรู้ไดทันที ทำให้เด็กได้รับถึงการรักความเป็นไทยเพิ่มมากขึ้น ในการดำรงชีวิตของเด็กปฐมวัย เราสามารถที่จะนำความเป็นไทย เข้าไปสอนเด็กได้ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่การเข้าแถวเคารพธงชาติ การไหว้ครูก่อนเข้าห้องเรียน เมื่อเข้าห้องแล้วอาจจะสอนในเรื่องของการทักทายเพิ่มขึ้นไปด้วย เมื่อกลับบ้านก็ให้ไปกราบไหว้และเคารพพ่อแม่ที่บ้านด้วย สอนแบบนี้หลายๆครั้ง ก็จะทำให้เด็กนั้นชินต่อการทำสิ่งนี้ และจะทำให้เด็กนั้นทำสิ่งนี้ไปตลอด เมื่อเด็กเกิดความชินและเริ่มรู้สึกรักการทำแบบนี้แล้ว หลังจากนี้จะมีสิ่งใดเข้ามามีบทบาทกับตัวเด็ก สิ่งเหล่านั้นก็จะไม่เข้ามากระทบกับตัวเด็กเลย เพราะเด็กรักที่จะปฏิบัติที่จะทำสิ่งเหล่านี้แล้ว ในการปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ ทุกสิ่งย่อมเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ที่เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้อย่างง่าย ให้เด็กได้เรียนรู้และซึมซับสิ่งเหล่านั้นไปได้ โดยที่เด็กนั้นสนใจที่จะเรียนรู้และกระทำสิ่งนั้นอย่างไม่เบื่อ

ถึงแม้ในปัจจุบัน วัฒนธรรมต่างๆเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตของเด็กเพิ่มมากขึ้น ครูยังคงที่จะดูแลเด็กอย่างทั่วถึง มีการเอาใจใส่ในเรื่องของการปฏิบัติตามประเพณีของไทย ให้เด็กได้ทำและได้ปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน ก็จะไม่มีสิ่งใดที่จะมาทำให้เด็กปฐมวัยได้ลืมความเป็นไทยไปได้

คำสำคัญ (Tags): #บทบาทครูปฐมวัย
หมายเลขบันทึก: 619695เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2016 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2016 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท