R2R Education'59 ; Workshop การพัฒนาเพื่อตอบสนองการจัดบริการในศตวรรณที่ 21


R2R Education'59 ; Workshop การพัฒนาเพื่อตอบสนองการจัดบริการในศตวรรณที่ 21

วันที่สองของการเรียนรู้ ...มีห้องเรียนรู้สามห้อง เป็นการทำ Workshop

  • ห้องแรกเป็นเรื่องเกี่ยวการฝึกตั้งคำถาม : Effective Questioning and Reflection
  • ห้องที่สอง Innovation in Education in 21 Century
  • ห้องที่สาม การพัฒนาเพื่อตอบสนองการจัดบริการในศตวรรณที่ 21

ใน session นี้...ห้อง workshop ที่สามได้ทำงานร่วมกัน อ.นพ.ไพโรจน์ และ ดร.ปุย(วัลยาภรณ์ ทังสุภูติ) รูปแบบของการเรียนรู้ได้ทำเป็น world cafe สามกลุ่ม...

กลุ่มแรก... เกี่ยวกับการค้นหาคำตอบที่ว่า "เถียงไม่ขึ้น วิจัยใครๆ ก็ว่ายาก จริงหรือไม่"

กลุ่มสอง...R2R นำมาสู่ความสุขที่แท้จริงได้อย่างไร

กลุ่มสาม...พบแก่นแท้ของ R2R นำสู่ความก้าวหน้าจริงหรือ...

เป็นการวนกลุ่มสามรอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นดังกล่าว โดยมีอาจารย์วิทยากรทั้งสามท่านทำหน้าที่เป็น Fa ประจำกลุ่ม...

ความประทับใจที่เกิดขึ้นใน session นี้คือ ...เริ่มตั้งแต่การจัดสถานที่ที่ อ.ปุยพาน้องๆ ทีมงานจาก สสจ.มาช่วย ปรับโต๊ะที่วางเรียงรายมาเป็นป้ายกระดาน โดยที่ผู้จัดไม่ต้องวิ่งวุ่นหากระดาน Flipchart ให้ ...

ความตั้งใจและความกระตือรือร้นของผู้เข้าร่วมที่มาจากหลากหลาย ทั้งภาคการศึกษาและภาคบริการต่างพากันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาคำตอบ ... ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่ม เป็นการดึงประสบการณ์เดิมบวกกับความคิดความเชื่อ และฐานความรู้ที่แต่ละบุคคลมีมาเชื่อมโยงกัน เกิดเป็นชุดความรู้ใหม่

ทีม capture จาก สสจ.แพร่ ...ที่มาร่วมกันสกัดและนำไปเขียนลงเป็นภาพผืนใหญ่ที่สะท้อนองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสามกลุ่ม

การได้ทำงานร่วมกันกับ อ.ไพโรจน์และ อ.ปุยเป็นการประสานกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ความแตกต่างหากแต่ลงตัวได้อย่างเหมาะสม

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องนี้ ... ทำให้ไม่เกิดการผูดขาดความรู้จากอาจารย์วิทยากร หากแต่เป็นปรากฏการณ์ของการเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยกระบวนการเรียนรู้เริ่มต้นจากการเร้าด้วยคำถาม จากนั้นนำมาสู่การการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share&Learning) ท้ายสุดอาจารย์ที่เป็น Facilitator ประจำกลุ่มร่วมสรุป และ Note taker ที่มาช่วยกันสกัดนำสรุปภาพรวมทั้งหมด

ประเด็นแรก : “เถียงไม่ขึ้น วิจัยใครๆ ก็ว่ายาก จริงหรือไม่" ... บทสรุปร่วมกันทุกคนมองว่า เมื่อลงมือทำ R2R เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่การเรียนระเบียบวิธีวิจัยหรือสถิติ หากแต่เป็นการแสวงหาคำตอบอันมีเป้าหมายจากปัญหาหน้างาน ในสิ่งที่ยาก เช่น เรื่องสถิติก็สามารถหาคนที่มีความชำนาญมาช่วยได้

ประเด็นที่สอง : “R2R นำมาสู่ความสุขที่แท้จริงได้อย่างไร"... บทสรุปทุกคนมองว่าการลงมือทำ R2R คือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากหน้างาน เมื่อปัญหาคลี่คลายความทุกข์ก็คลายลง และการทำงานในลักษณะนี้เป็นการทำงานเพื่อผู้อื่น ผู้รับบริการ หน่วยงาน/องค์กร และตัวเองได้รับการพัฒนานับแต่เรื่องพื้นฐานไปจนถึงเรื่องที่ลึกซึ้งขึ้น

ประเด็นที่สาม : “ พบแก่นแท้ของ R2R นำสู่ความก้าวหน้าจริงหรือ" ... ความเป็นจริงของการทำงานทุกคนต้องมีความเติบโตและก้าวหน้า นอกจาก R2R จะนำมาสู่การพัฒนาด้านในแล้ว การเติบโตภายนอกก็มีตามไปด้วย และที่สำคัญถ้ามองการทำงานที่ไม่ใช่เรื่องรางวัลอย่างเดียวความก้าวหน้าที่เกิดอาจรวมถึงงานพัฒนา ยุ่งยากซับซ้อนน้อยลง คุณภาพเพิ่มมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาจึงอาจเป็นตำแหน่งหน้าที่การงานได้

...

17 พฤศจิกายน พ.ศ.2559





คำสำคัญ (Tags): #r2r#km#r2r education
หมายเลขบันทึก: 618812เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2016 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2016 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท