๑๐๒๑ มหาวิทยาลัยต้นแบบปลอดยาสูบ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี


มหาวิทยาลัยต้นแบบปลอดยาสูบ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี


ผู้เขียน อาจารย์นาบาวี สือปา อาจารย์/เจ้าหน้าที่บริหารหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มฟน.

ด้วยหลักการและเหตุผลในด้านแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งเสพติดในมุมมองอิสลามที่ว่าด้วยความศรัทธาต่ออัลลอฮ ซบ. การยอมรับในพระเจ้า จิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ และการเชื่อฟังไร้ขีดจำกัดต่อคำสอนของศาสดา จึงทำให้มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอิสลามแห่งแรกในประเทศไทย ริเริ่มโครงการมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมหาวิทยาลัยต้นแบบปลอดยาสูบ และสร้างแนวทางการแก้ปัญหายาเสพติดรวมทั้งปัญหายาสูบในมุมมองอิสลาม ตลอดจนเพื่อเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและยาสูบให้กับสังคมมุสลิมในประเทศไทย ทั้งนี้ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ปลอดยาสูบ 100% ไม่พบการสูบยาสูบในนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร รวมไปถึงบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อในมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือโดยไม่สูบยาสูบ และตรวจบริเวณต่างๆ ไม่พบก้นบุหรี่/ซากยาสูบ-ใบจาก


ในช่วงการดำเนินงานมีกิจกรรมเด่นๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจต่อการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ หรืออาหารหะลาล หรือเตือนสติใช้การละหมาดเป็นเครื่องมือในการเลิกสิ่งเสพติด ดังตัวอย่างในอดีต คือในสมัยของท่านรอซูล (ซล.) ท่านได้บอกแก่บรรดาซอฮาบะห์ (มิตรสหาย) ถึงประโยชน์และโทษของเหล้า ห้ามดื่มเหล้าตอนละหมาด การฟัตวา (วินิจฉัยถูกผิด) เหล้าเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) บรรดาซอฮาบะห์ ต่างก็ยอมรับ และทุบไหเหล้าของตัวเองที่บ้าน ทำให้เมืองมาดีนะห์ในวันนั้นเปรียบเสมือนเป็นแม่น้ำเหล้า การใช้วิธีแบบนี้เป็นการลงทุนน้อยที่สุดในการทำให้ซอฮาบะห์เลิกดื่มเหล้า ไม่มีการประท้วง และทุกคนยอมรับในกฎการห้ามดื่มเหล้า คลิกนิกบำบัดเลิกยาสูบและสิ่งเสพติดทุกชนิดในรูปแบบของการทำฮาลาเกาะห์ร่วมกันเป็นกลุ่ม และสร้างเครือข่ายการ ลด ละ เลิก สิ่งเสพติดทุกชนิดไปยังชุมชนและสังคมรอบข้าง เป็นต้น


ผลสำเร็จที่เห็นเด่นชัด คือผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรทุกคนล้วนเป็นต้นแบบให้กับนักศึกษา ทำให้ในมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ปลอดยาสูบ 100% ไม่พบการสูบยาสูบในนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร การติดป้ายประกาศห้ามสูบยาสูบ บุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อในมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือโดยไม่สูบยาสูบ และตรวจบริเวณต่างๆ ไม่พบก้นบุหรี่/ซากยาสูบ-ใบจาก ผลการจัดกิจกรรมนำเสนอแนวคิดยาสูบเป็นสิ่งหะรอม โดยให้นักศึกษาลงพื้นที่สู่การเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนที่มีความเสี่ยง ได้รับการตอบรับจากชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ทั้งนั้นการดำเนินงานก็ยังมีอุปสรรคอยู่บ้างตรงที่เราต้องเผชิญแนวคิดเดิมที่มุสลิมส่วนหนึ่งยังเชื่อว่า “ยาสูบเป็นสิ่งมักรุฮฺ” (ไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้ามเด็ดขาด แต่ให้พึงหลีกเลี่ยง) ทำให้ความร่วมมือที่จะละทิ้งยาสูบจึงไม่สามารถทำได้ทั้งหมด

“หลักคำสอนอิสลามมีความทันสมัยอยู่เสมอ สามารถนำไปปรับใช้แก้ไขปัญหาสังคมได้ทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องของยาสูบ หากสามารถทำให้ผู้สูบเข้าใจถึงแก่นแท้ของศาสนา ด้วยความศรัทธาที่แท้จริงเท่านั้น ที่จะให้ผู้คนหันห่างและละทิ้งยาสูบไปได้โดยสิ้นเชิง ปราศจากการตั้งคำถามหรือข้อกังขาใดๆ แต่ที่ยังเลิกไม่ได้เพราะยังเข้าใจว่าการสูบยาสูบไม่ได้ผิดหลักศาสนา”


ศจย. www.trc.or.th

๑๐ พฤศจิกาย ๒๕๕๒


หมายเลขบันทึก: 618361เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2016 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2016 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นต้นแบบที่ดีมากๆ

ยอดเยี่ยมมากๆครับ

ชอบมหาวิทยาลัยนี้มากครับ

พื้นที่น่าทำงานมาก

เคยไปอบรมให้อาจารย์

https://www.gotoknow.org/posts/606566

https://www.gotoknow.org/posts/606769

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท