แนวทางการจัดการคนที่สังคมมองว่าไม่ดี


๑. เป็นการใช้วัตถุจัดการคน แนวทางที่ ๒.เป็นการใช้ข้อตกลงจัดการคน ส่วนแนวทางที่ ๓.เป็นการใช้จิตของบุคคลจัดการบุคคลเอง ดังนั้น แนวทางที่ ๑.และ๒.จึงเป็นการใช้สิ่งอื่นจัดการคน ส่วน ๓. เป็นการใช้โลกความคิดของบุคคลนั้นๆจัดการตนเอง

ระหว่างเดินเท้าไปโรงพยาบาล เพื่อหาซื้อข้าวต้มกิน ก่อนถึงธนาคารฯ มองเห็นกล้องวงจรปิด ติดอยู่บนเสาไฟ ทำให้นึกขึ้นว่า เราใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อยกับการจัดการความไม่ดีของคน จากความคิดดังกล่าวส่งเป็นการประมวลความคิดที่ว่า การจัดการคนที่สังคมมองว่าไม่ดีนั้น มีอยู่ ๓ แนวทางใหญ่ๆคือ

๑. การสร้างอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อจัดการคนที่สังคมมองว่าไม่ดีให้อยู่ในกรอบที่สังคมได้วางแบบไว้ การจัดการแบบนี้มีจุดเด่นตรงที่ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆเพื่อทำงานแทนคน แทนที่การใช้คนเพื่อจัดการคน เป็นการใช้อุปกรณ์เพื่อจัดการคน จุดด้อยคือ ถ้าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่ทำงาน ก็ส่งผลต่อการเปิดช่องว่างสำหรับคนที่ฉลาดเพื่อการเอาตัวรอด ยกตัวอย่าง กล้องวงจรปิด เราคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้แทนตาของคนในการจับตาคนที่สังคมมองว่าไม่ดี แต่ถ้ากล้องวงจรปิดชำรุด ก็ส่งผลต่อความบอดของการจับตา

๒. การกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อจัดการคนที่สังคมมองว่าไม่ดี และสร้างระเบียบแบบแผนทีสังคมเห็นว่าสมควร กฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้มีลักษณะ ๒ ประการคือ (๑) มีความชัดเจนของผลจากกฎเกณฑ์ เช่น กรณีฝ่าฝืนกฎจราจร หากมีเจ้าหน้าที่คอยกำกับ เราจะโดนจับปรับ เป็นต้น (๒) ไม่มีความชัดเจนของผลจากกฎเกณฑ์ ประเด็นนี้หมายถึงกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นในวิถีชีวิต อาจไม่ใช่ข้อห้ามที่มีผลทางกฎหมาย แต่เป็นข้อที่สังคมกำหนดขึ้นตามวิถีเช่น ต้องสวมใส่เสื้อผ้าสีดำ-ขาว-โทนคล้ำไปงานศพ หากใส่สีชมพูไปงานศพ จะถูกมองจากสังคมว่า "ไม่บาย" "ไม่รู้หวัน" "ไม่มีการศึกษา" ฯลฯ หรือการใส่ชุดสีดำไปงานแต่งงาน เป็นต้น การที่ระบุว่าไม่มีความชัดเจนในข้อนี้เพราะว่า การกระทำดังกล่าวอาจถูกมองจากสังคมในทางเหมาะสมก็ได้ เช่น การใส่ชุดดำมางานแต่งงาน ดีกว่าการไม่ใส่อะไรเลยมางานแต่งงาน / ขึ้นชื่อว่าเสื้อผ้าผลิตขึ้นมาเพื่อปกปิดความน่าละอายของร่างกาย สีที่จัดแต่งขึ้นให้เหมาะสมกับงานเป็นเพียงค่านิยมชั่วคราว ดังนั้น ถ้าการแต่งงานคืองานมงคล ดังนั้น สีดำก็น่าจะคือสิ่งมงคลด้วย เพราะสีดำไม่ใช่ตัวบ่งชี้ถึงความไม่ดีของบุคคล การมาแสดงความยืนดีในงานแต่งงานต่างหาก การมาแสดงความอาลัยในงานศพต่างหากคือเป้าหมายแท้จริง เป็นต้น

๓. การสร้างภาพความคิดจากโลกนามธรรม ประเด็นนี้คือแนวทางของศาสนา เช่น สร้างภาพความโหดร้ายทารุณจากชีวิตหลังความตาย การสร้างภาพความสงบ สวยงาม จากชีวิตหลังความตาย ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ความสงบ สวยงามจากการเข้าถึงความจริงในชีวิตนี้ การจัดการคนที่สังคมมองว่าไม่ดีด้วยความคิดจากโลกนามธรรมนี้มีความคาดหวังว่า จะปรับเปลี่ยนคนที่สังคมมองว่าไม่ดีให้เข้าสู่ความเป็นคนที่สังคมคาดหวัง ขณะเดียวกัน อาจมีที่เกาะเกี่ยวสำหรับความไม่นิ่งของจิตใจ ในบางความคิดเสมือนมีกล้องวงจรปิดติดตามตลอด ๒๔ ชั่วโมงไม่ได้ขาด อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของแนวทางนี้คือ การไม่สามารถจะจัดการบุคคลที่ลุ่มลึกในด้านความไม่ดีได้ หมายถึง บุคคลผู้มีความเชื่อมั่นอย่างที่สุดว่าความไม่ดีที่สังคมระบุนั้นเป็นความดีที่สามารถยังตนให้ไม่หิว มีที่อยู่อาศัยสะดวกสบายอย่างรวดเร็ว บุคคลผู้ไม่เชื่อว่าสิ่งที่่สังคมมองว่าดีนั้นคือความดีจริง เพราะความดีดังกล่าวนั้นไม่ได้ช่วยให้ตนหายหิวได้เลย เป็นต้น นอกจากนั้น อาจทำให้บุคคลหลงในโลกนามธรรมจนเกินความมีอยู่แห่งตน (ลืมไปว่าตนมีชีวิตที่สามารถจะทำอะไรก็ได้ด้วยศักยภาพของตน มากกว่าการที่จะต้องถูกเชื้อเชิญให้ทำตามที่ใครๆให้ทำ)

โดยสรุป ในข้อ ๑. คือแนวทางการจัดการทางกายภาพหรือโลกของวัตถุ ในข้อที่ ๒. อาจจะดูกึ่งๆระหว่างกายภาพและจิต (นามธรรม) เพราะมีทั้งสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นคล้ายวัตถุคืออักษรสื่อแสดงถึงโลกนามธรรม ๓.คือแนวทางนามธรรมที่ศาสนาและผู้รู้กล่าวสอนไว้ แนวทางที่ ๑. เป็นการใช้วัตถุจัดการคน แนวทางที่ ๒.เป็นการใช้ข้อตกลงจัดการคน ส่วนแนวทางที่ ๓.เป็นการใช้จิตของบุคคลจัดการบุคคลเอง ดังนั้น แนวทางที่ ๑.และ๒.จึงเป็นการใช้สิ่งอื่นจัดการคน ส่วน ๓. เป็นการใช้โลกความคิดของบุคคลนั้นๆจัดการตนเอง

ความคิดที่เสนอไปนี้ อาจไม่ต้องด้วยวิชาการ เพราะเป็นเพียงการสังเกตและประมวล จึงโปรดใช้วิจารณญาณ

หมายเลขบันทึก: 617408เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2016 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2016 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท