ทีมสหวิชาชีพ ณ ชุมชนลำสนธิ


ในวันที่ 23 และ 24 กันยายน 2559 นักศึกษา กิจกรรมบำบัด มหิดล ได้ไปลงชุมชน ณ ชุมชนลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เป็นการลงชุมชนเต็มตัวเพราะได้ลงพร้อมกับ
ทีมสหวิชาชีพมากมายทั้งอาจารย์จากคณะกายภาพและกิจกรรมบำบัดมหิดล พี่พยาบาล นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยาของทางโรงพยาบาลลำสนธิ
และเพื่อนนักศึกษาแพทย์ศิริราชชั้นปีที่ 4

ตัวอย่างกรณีศึกษาของกลุ่มข้าพเจ้าที่ได้ไปให้บริการทางกิจกรรมบำบัดร่วมกับทีมสหวิชาชีพ

ป้าสำเภา (นามสมมุติ) อายุ 60 ปี เป็นโรคเส้นเลือดในสมอง พยาธิสภาพที่ basal ganglion ทำให้อ่อนแรงร่างกายครึ่งซีกด้านขวาไม่สามารถพูดสื่อสารได้



System thinking


Personal majesty: ผู้รับบริการไม่สามารถพูดสื่อสารกับผู้อื่นได้ ฟังเข้าเพียงบางคำถามเช่น อายุเท่าไหร่ มีลูกกี่คน และยังไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งหมด ญาติต้องเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือดูแลทั้งหมด ไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้เองเพราะมีนิ่ว จึงต้องใส่สายสวน

Mental modal:

  • MoHo (technique: Motivation, External & internal feedback)
  • Neurodevelopmental frame of reference (technique: light joint compression, Prolong stretching, weight bearing)
  • Physical rehabilitation frame of reference (technique: one hand activity, compensation, Assistive device)
  • Cognitive disability modal (technique: Cranial nerve training, imitation)

Team Learning: ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นสหวิชาชีพ โดยแพทย์ จะตรวจดูสุขภาพเบื้องต้น การกินยา การดูแลสายสวนปัสสาวะในส่วนของนักกายภาพบำบัด จะดูเรื่องการ Active & passive exercise เพื่อป้องกันข้อติดและส่งเสริมการเคลื่อนไหว รวมถึงการช่วยสอนการทำกิจวัตรประจำวัน เช่นการใส่เสื้อผ้า และได้เรียนรู้การทำงานของนักกิจกรรมบำบัดในชุมชน ในด้านของการกระตุ้นแรงจูงใจในการทำกิจกรรม การให้อุปกรณ์ช่วยด้านการสื่อสาร(Communication board) และการใส่ Bobath sling อีกทั้งยังส่งเสริมการรับรู้และการเข้าใจ (Cognitive training)

Building shared vision: ในการดูแลระยะยาวป้องกันการเกิดข้อไหล่หลุด (Subluxation), ส่งเสริมให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้บนเตียง


ทีมสหวิชาชีพ

O: Overlap มีการปรึกษากันระหว่างทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา นักโภชนาการ และช่าง ในการปรับสภาพบ้าน โดยจะลงชุมชนเพื่อเยี่ยมบ้านผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญมีนักบริบาลเป็นเสมือนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด แทนช่วงเวลาที่สหวิชาชีพไม่ได้เข้าเยี่ยม

P: Precision มีการประชุมเคสกันทุกครั้งที่ลงชุมชนเพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลหารือร่วมกัน นำความรู้มาแบ่งปันกัน ถกปัญหาที่ยังไม่แน่นอนและหาข้อมูลเพิ่มเติม

E: Emotion เมื่อมีอารมณ์ทางลบเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน รอยยิ้มของผู้รับบริการช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจาการทำงาน

R: Repetition ทีมสหวิชาชีพจะมีการไปเยี่ยมบ้านผู้รับบริการ 1 ครั้งต่อเดือน และจะมีนักบริบาลคอยเยี่ยมเป็นประจำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

A: Attention ทีมสหวิชาชีพจะให้ความใส่ใจในการลงไปเยี่ยมผู้รับบริการ ครั้งล่ะ 30 นาที ใส่ใจในรายละเอียดของแต่ล่ะรายที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้รับบริการในชุมชน

เรียบเรียงข้อมูลโดย

น.ส. กอข้าว เพิ่มตระกูล 5623001

น.ส. ณัฐพชร์ สรรพธนาพงศ์ 5623008

Reference Photo by :Dr. Supalak Khemthong

หมายเลขบันทึก: 617125เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท