ผ้าขาวเปื้อนหมึก
กานนา สงกรานต์ กานต์ วิสุทธสีลเมธี

มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน


มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช ๒๕๕๖

ปรับปรุงจาก

มาตรฐานห้องสมุด และตัวบ่งชี้

เพื่อการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วิสัยทัศน์

ห้องสมุดโรงเรียนเป็นห้องสมุดมีชีวิตที่ได้มาตรฐาน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน ภายในปีพุทธศักราช ๒๕๖๑

พันธกิจ

  • พัฒนาห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้หลักของโรงเรียนที่ได้มาตรฐานห้องสมุดของ สพฐ. และเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • สร้างนิสัยรักการอ่านที่ยั่งยืนให้แก่นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหาร
  • ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการการใช้ห้องสมุด ใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน
  • พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดให้สอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ
  • พัฒนาบริการของห้องสมุดให้มีคุณภาพและส่งเสริมทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ
  • พัฒนาการบริหารจัดการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เป้าหมาย

  • เพื่อให้ห้องสมุดจัดบริการอย่างทั่วถึงและผู้รับบริการพึงพอใจ
  • เพื่อให้มีบุคลากรประจำห้องสมุดที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับลักษณะงาน
  • เพื่อให้มีทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ มีคุณภาพและทันสมัย สอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของผู้ใช้บริการ
  • เพื่อให้มีกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคม
  • เพื่อให้มีการจัดการด้านอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ยุทธศาสตร์

  • จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และให้บริการอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาศักยภาพของบุคลากรห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง
  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด องค์กรและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • สร้างและส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้
  • ส่งเสริมให้มีการประกันคุณภาพห้องสมุด

หมวดที่ ๑มาตรฐานด้านผู้บริหาร มี ๓มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๑ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ

มาตรฐานที่ ๒ ผู้บริหารส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุด

มาตรฐานที่ ๓ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

หมวดที่ ๒มาตรฐานด้านครู

ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ มี ๕มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๔ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ มีความสามารถในการบริหารงานห้องสมุด

มาตรฐานที่ ๕ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถในการปฏิบัติงานเทคนิค

มาตรฐานที่ ๖ ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถในการให้บริการ

มาตรฐานที่ ๗ ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถในการจัดกิจกรรม

มาตรฐานที่ ๘ ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ครูผู้สอนมี ๒มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๙ ครูผู้สอนใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน

มาตรฐานที่ ๑๐ ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน

หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านนักเรียน มี ๒มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๑๑นักเรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ

มาตรฐานที่ ๑๒นักเรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และมีนิสัยรักการอ่าน

หมวดที่ ๔ มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ มี ๓มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๑๓ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์

มาตรฐานที่ ๑๔ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์

มาตรฐานที่ ๑๕การจัดการทรัพยากรสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

หมวดที่ ๕ อาคาร สถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ มี ๒มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๑๖ อาคาร สถานที่

มาตรฐานที่ ๑๗ วัสดุครุภัณฑ์

ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้

มาตรฐานด้านผู้บริหาร

มาตรฐานที่ ๑ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการมี ๖ ตัวบ่งชี้

๑.๑ ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานห้องสมุด โรงเรียน

๑.๑.๑ มีแผนการพัฒนาห้องสมุดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

๑.๑.๒ มีการกำหนดนโยบายให้ครูผู้สอนทุกวิชาจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุด

๑.๑.๓ มีการกำหนดนโยบายการใช้ห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ครู บุคลากร และชุมชน

๑.๒ผู้บริหารจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน

๑.๒.๑มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงานห้องสมุด แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานห้องสมุดและ

คณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด

๑.๒.๒มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรตามโครงสร้างและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามบทบาท

หน้าที่

๑.๒.๓มีการประชุมคณะกรรมการบริหารงานห้องสมุดและคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด อย่างน้อย

ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง

๑.๒.๔ มีการแต่งตั้งครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์เป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ

๑.๓ผู้บริหารจัดให้มีครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์และและเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

๑.๓.๑มีการแต่งตั้งครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

๑.๓.๒มีการเสริมแรง ให้ขวัญและกำลังใจแก่ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

๑.๓.๓มีการส่งเสริม สนับสนุน และให้โอกาสแก่ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่

ห้องสมุดได้รับการพัฒนา

๑.๔ ผู้บริหารจัดให้มีงบประมาณสำหรับการดำเนินงานและพัฒนาห้องสมุด

๑.๔.๑มีการจัดสรรงบประมาณประจำปีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการพัฒนาห้องสมุด

๑.๔.๒มีการจัดหางบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จากแหล่งทุนภายในและภายนอก

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการพัฒนาห้องสมุด

๑.๕ผู้บริหารจัดให้มีห้องสมุดโรงเรียนที่มีขนาดเหมาะสมไว้บริการนักเรียนครู ผู้บริหาร บุคลากรภายในโรงเรียน

ผู้ปกครองและชุมชน

๑.๖ ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

๑.๖.๑ มีแผนการนิเทศงานห้องสมุด

๑.๖.๒ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

๑.๖.๓ มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดและผู้ที่เกี่ยวข้อง

๑.๖.๔ มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาห้องสมุด

๑.๖.๕ มีการนำมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้ในการ

บริหารงานห้องสมุด

มาตรฐานที่ ๒ ผู้บริหารส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุด

๒.๑ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ชุมชนมาใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้

๒.๒ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน

๒.๓ ผู้บริหารสร้างเครือข่ายความร่วมมือและแสวงหาความช่วยเหลือจากหน่วยงานและองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและ

เอกชน เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน

มาตรฐานที่ ๓ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

๓.๑ผู้บริหารเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านห้องสมุดอย่างน้อยปีละ

๑ ครั้ง

๓.๒ผู้บริหารใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน

๓.๓ผู้บริหารมีนิสัยรักการอ่าน แสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

หมวดที่ ๒มาตรฐานด้านครู

๒.๑ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ มี ๕มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๔ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถในการบริหารงานห้องสมุด

มาตรฐานที่ ๕ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถในการปฏิบัติงานเทคนิค

มาตรฐานที่ ๖ ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถในการให้บริการ

มาตรฐานที่ ๗ ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถ ในการจัดกิจกรรม

มาตรฐานที่ ๘ ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

๒.๒ ครูผู้สอนมี ๒ มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๙ ครูผู้สอนใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน

มาตรฐานที่ ๑๐ ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน

ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์

ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้

มาตรฐานที่ ๔ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถในการบริหารงานห้องสมุด

๔.๑ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจของห้องสมุดโรงเรียน

๔.๒มีการจัดทำแผนงาน โครงการห้องสมุดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

๔.๓มีการจัดทำโครงสร้างการบริหารงานห้องสมุด

๔.๔มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของห้องสมุดให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

๔.๕การประเมินผลการดำเนินงาน

๔.๖มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนางานห้องสมุด

๔.๗มีการนำมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้ในการบริหารงาน

ห้องสมุด

มาตรฐานที่ ๕ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถในการปฏิบัติงานเทคนิค

๕.๑ จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

๕.๒ จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเหมาะสม และตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

๕.๓ มีการจัดหมวดหมู่และทำรายการทรัพยากรสารสนเทศตามหลักสากล

๕.๔ มีการเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้บริการ

๕.๕ ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศอย่างเหมาะสมตามสภาพของโรงเรียน สะดวก

ต่อการเข้าถึงและใช้บริการ

๕.๖ มีการสำรวจทรัพยากรสารสนเทศประจำปี

๕.๗ มีการบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ

มาตรฐานที่ ๖ ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถในการให้บริการ

๖.๑ มีการจัดทำระเบียบการใช้ห้องสมุด

๖.๒ มีการจัดทำตารางการใช้ห้องสมุดที่ชัดเจน

๖.๓ มีการแนะนำการใช้ห้องสมุด และการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ

๖.๔ มีการสอนวิชาการใช้ห้องสมุด และการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ

๖.๕ มีการจัดบริการการอ่านและการศึกษาค้นคว้า

๖.๖ มีการจัดบริการยืม-คืน

๖.๗ มีการจัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า

๖.๘ มีการจัดบริการเชิงรุกอย่างหลากหลาย

๖.๙ มีการจัดบริการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และทางอินเทอร์เน็ต

๖.๑๐ มีการจัดเก็บสถิติการใช้บริการ

มาตรฐานที่ ๗ ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความสามารถ ในการจัดกิจกรรม

๗.๑ มีการจัดกิจกรรมห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

๗.๒ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลายเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

๗.๓ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่องเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

มาตรฐานที่ ๘ ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

๘.๑ มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และมีนิสัยรักการอ่าน

๘.๒ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

๘.๓ เข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง หรือศึกษาต่อ

๘.๔ เป็นสมาชิกสมาคม ชมรม หรือกลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

๘.๕ มีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด

๘.๖ มีวุฒิทางวิชาชีพบรรณารักษ์หรือสารสนเทศศาสตร์ หรือผ่านการศึกษาอบรมด้านงานห้องสมุด

ครูผู้สอน

ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้

มาตรฐานที่ ๙ ครูผู้สอนใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน

๙.๑มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการการใช้ห้องสมุดในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ

๙.๒มีส่วนร่วมในการเสนอหรือคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

๙.๓มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้

๙.๔มีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้ห้องสมุด

มาตรฐานที่ ๑๐ ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน

๑๐.๑ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบอย่างหลากหลาย

๑๐.๒ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง

๑๐.๓ มีการประสานความร่วมมือกับครูบรรณารักษ์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๑๐.๔ มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๑๐.๕ มีการรายงานผลการประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่อผู้บริหาร โรงเรียน

๑๐.๖ มีการเผยแพร่ผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบ

๑๐.๗ มีการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านนักเรียน มี ๒มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๑๑นักเรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ

มาตรฐานที่ ๑๒นักเรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และมีนิสัยรักการอ่าน

ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้

มาตรฐานที่ ๑๑ ครูผู้สอนใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน

๑๑.๑นักเรียนกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้

๑๑.๒นักเรียนค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑๑.๓ตัดสินใจเลือกสารสนเทศที่เข้าถึงได้อย่างถูกต้อง

๑๑.๔สรุป เรียบเรียงแนวคิดจากสารสนเทศที่ค้นพบได้

๑๑.๕จัดเก็บ/เผยแพร่สารสนเทศได้

๑๑.๖สร้างองค์ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าได้

๑๑.๗มีจิตสำนึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

๑๑.๘มีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

มาตรฐานที่ ๑๒นักเรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และมีนิสัยรักการอ่าน

๑๒.๑นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ

๑๒.๒นักเรียนยืมหนังสือหรือสื่อทรัพยากรสารสนเทศอื่นอย่างสม่ำเสมอ

๑๒.๓นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างสม่ำเสมอ

๑๒.๔นักเรียนมีปริมาณการอ่านเหมาะสมกับระดับชั้น ตามเกณฑ์การอ่านหนังสือขั้นต่ำที่สำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

หมวดที่ ๔ มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ มี ๓มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๑๓ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์

มาตรฐานที่ ๑๔ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์

มาตรฐานที่ ๑๕การจัดการทรัพยากรสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้

มาตรฐานที่ ๑๓ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์

๑๓.๑ห้องสมุดมีหนังสืออ้างอิง เช่น หนังสือพระราชนิพนธ์ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์

ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พจนานุกรม

๑๓.๒ห้องสมุดมีหนังสือสารคดี บันเทิงคดี หนังสือภาษาต่างประเทศ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร เอกสาร

หลักสูตร ที่เหมาะสม สอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ

๑๓.๓ห้องสมุดมีหนังสืออย่างน้อย ๑๐ เล่ม ต่อนักเรียน ๑ คน

๑๓.๔ห้องสมุดมีวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ไว้ให้บริการอย่างเหมาะสมและเพียงพอ

มาตรฐานที่ ๑๔ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์

๑๔.๑ห้องสมุดมีวัสดุไม่ตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร และ

ความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น

๑๔.๑.๑ลูกโลก

๑๔.๑.๑แผนที่

๑๔.๑.๑หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง

๑๔.๑.๑เกม ของเล่นเสริมทักษะ

๑๔.๑.๑วีดิทัศน์ ซีดี-รอม ดีวีดี

๑๔.๑.๑บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

๑๔.๑.๑หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

๑๔.๑.๑บทเรียนออนไลน์

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๑๕การจัดการทรัพยากรสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

๑๕.๑ห้องสมุดใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ

๑๕.๒ห้องสมุดมีการสืบค้นออนไลน์ทางเว็บไซต์

๑๕.๓ห้องสมุดมีเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

๑๕.๔ห้องสมุดมีการจัดฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของห้องสมุด

หมวดที่ ๕ อาคาร สถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ มี ๒มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ ๑๖ อาคาร สถานที่

มาตรฐานที่ ๑๗ วัสดุครุภัณฑ์

ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้

มาตรฐานที่ ๑๖ อาคาร สถานที่

๑๖.๑ห้องสมุดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สะดวกในการเข้าใช้บริการ

๑๖.๒ห้องสมุดมีการออกแบบและตกแต่งอย่างเหมาะสมและสวยงาม

๑๖.๓ห้องสมุดมีการจัดพื้นที่และบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้

๑๖.๔ห้องสมุดมีการจัดการด้านสภาพแวดล้อม (สะอาด แสงสว่าง เสียง และการถ่ายเทอากาศ) อย่างเหมาะสม

๑๖.๕ห้องสมุดมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยของห้องสมุดและผู้ใช้บริการ

มาตรฐานที่ ๑๗ วัสดุครุภัณฑ์

๑๗.๑ห้องสมุดมีครุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับขนาดของห้องและผู้ใช้บริการ

๑๗.๒ห้องสมุดมีครุภัณฑ์เพียงพอและจัดวางได้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและให้บริการ

๑๗.๓ห้องสมุดมีครุภัณฑ์ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่รองรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของห้องสมุด (คอมพิวเตอร์

เพื่อการสืบค้น และคอมพิวเตอร์เพื่อการปฏิบัติงาน)

๑๗.๔ห้องสมุดมีเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ และการให้บริการ

เกณฑ์การประเมินคุณภาพ

พอใช้ (ควรปรับปรุง)

ดี

ดีเยี่ยม

มีคะแนนน้อยกว่า70 คะแนน

มีคะแนน 71 – 85 คะแนน

มีคะแนนมากกว่า 85 คะแนน

เกณฑ์การประเมินและแนวทางการให้คะแนน

หมวดที่ ๑มาตรฐานด้านผู้บริหาร

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑

ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ

๑.๑ ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานห้องสมุด โรงเรียน

๑.๑.๑ มีแผนการพัฒนาห้องสมุดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

๑.๑.๒ มีการกำหนดนโยบาย

ให้ครูผู้สอนทุกวิชาจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุด

๑.๑.๓ มีการกำหนดนโยบาย

การใช้ห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัย

รักการอ่านของนักเรียน ครู บุคลากร และชุมชน

แนวทางการให้คะแนน

มี ๑ ข้อ ได้ ๑ คะแนน

มี ๒ ข้อ ได้ ๒ คะแนน

มีครบทุกข้อ ได้ ๓ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- แผนพัฒนาห้องสมุด

- แผนการจัดการเรียนรู้ของ

วิชาต่างๆ

- แผนพัฒนาคุณภาพ

การศึกษา

- แผนปฏิบัติการ

- โครงการต่างๆ

- แผนภูมิโครงสร้างการ

บริหาร

- กิจกรรม โครงการส่งเสริม

ให้ครูและนักเรียนรักการ

อ่าน

- สถิติการเข้าใช้ห้องสมุด

- มีคำสั่งมอบหมายงานที่

ชัดเจน

ฯลฯ

๑.๒ ผู้บริหารจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน

๑.๒.๑ มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงานห้องสมุด แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานห้องสมุดและคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด

๑.๒.๒ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรตามโครงสร้างและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่

๑.๒.๓ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารงานห้องสมุดและคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด อย่างน้อยภาคเรียนละ

๑ ครั้ง

๑.๒.๔มีการแต่งตั้งครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์เป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- มีแผนภูมิโครงสร้าง

- คำสั่งมอบหมายงานที่

ชัดเจน

- รายงานการประชุม

ฯลฯ

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑

ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ

(ต่อ)

๑.๓ ผู้บริหารจัดให้มีครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์และและเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

๑.๓.๑ มีการแต่งตั้งครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์

และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

๑.๓.๒ มีการเสริมแรง ให้ขวัญและกำลังใจแก่ครูหรือบุคลากร

ทำหน้าที่บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

๑.๓.๓ มีการส่งเสริม สนับสนุน และให้โอกาสแก่ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดได้รับการพัฒนา

แนวทางการให้คะแนน

มี ๑ ข้อ ได้ ๑ คะแนน

มี ๒ ข้อ ได้ ๒ คะแนน

มีครบทุกข้อ ได้ ๓ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- มีคำสั่งแต่งตั้งมอบหมาย

งาน

- สังเกต

- สัมภาษณ์

- มีหลักฐานการเข้าร่วม

ประชุม สัมมนา

- มีเกียรติบัตร รางวัล

ฯลฯ

๑.๔ ผู้บริหารจัดให้มีงบประมาณสำหรับการดำเนินงานและพัฒนาห้องสมุด

๑.๔.๑ มีการจัดสรรงบประมาณประจำปีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการพัฒนาห้องสมุด

แนวทางการให้คะแนนข้อ ๑.๔.๑

จัดสรรงบประมาณประจำปีเพื่อซื้อหนังสือและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ดังนี้

โรงเรียนประถมศึกษา

ขนาดเล็ก (นักเรียนน้อยกว่า๑๒๑ คน)

- จัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของเงินอุดหนุน ได้ ๑ คะแนน

- จัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖ ของเงินอุดหนุน ได้ ๒ คะแนน

- จัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗ ของเงินอุดหนุน ได้ ๓ คะแนน

ขนาดกลาง (นักเรียน ๑๒๑ – ๖๐๐ คน)

- จัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗ ของเงินอุดหนุน ได้ ๑ คะแนน

- จัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘ ของเงินอุดหนุน ได้ ๒ คะแนน

- จัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙ ของเงินอุดหนุน ได้ ๓ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- มีคำสั่ง

- แผนพัฒนาห้องสมุด

- แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

- แผนปฏิบัติการ

- หลักฐานการจัดหางบประมาณ

ฯลฯ

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑

ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ

(ต่อ)

๑.๔.๒ มีการจัดหางบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จากแหล่งทุนภายในและภายนอก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการพัฒนาห้องสมุด

ขนาดใหญ่ (นักเรียน ๖๐๑ คนขึ้นไป)

- จัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของเงินอุดหนุน ได้ ๑ คะแนน

- จัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๑ ของเงินอุดหนุน ได้ ๒ คะแนน

- จัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๒ ของเงินอุดหนุน ได้ ๓ คะแนน

โรงเรียนมัธยมศึกษา

- จัดสรรงบประมาณประจำปี

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓ ของเงินอุดหนุน ได้ ๑ คะแนน

- จัดสรรงบประมาณประจำปี

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔ ของเงินอุดหนุน ได้ ๒ คะแนน

- จัดสรรงบประมาณประจำปี

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของเงินอุดหนุน ได้ ๓ คะแนน

แนวทางการให้คะแนนข้อ ๑.๔.๒

- มีการจัดหางบประมาณจากภายในโรงเรียน ได้ ๑ คะแนน

- มีการจัดหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก ได้ ๒ คะแนน

- มีการจัดหางบประมาณจากแหล่งทุนทั้งจากภายในและภายในนอก ได้ ๓ คะแนน


๑.๕ ผู้บริหารจัดให้มีห้องสมุดโรงเรียนที่มีขนาดเหมาะสมไว้บริการนักเรียน ครู ผู้บริหาร บุคลากรภายในโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

แนวทางการให้คะแนน

โรงเรียนประถมศึกษา

- โรงเรียนขนาดเล็ก มีห้องสมุด

๑ ห้องเรียน ได้ ๑ คะแนน

มีห้องสมุด ๒ ห้องเรียนได้ ๒ คะแนน มีห้องสมุด ๓ ห้องเรียนหรือเป็นอาคารเอกเทศขนาด ๑ ห้องเรียน ได้ ๓ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- สังเกต (ห้องสมุด อาคารเอกเทศ)

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑

ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ

(ต่อ)

๑.๕ ผู้บริหารจัดให้มีห้องสมุดโรงเรียนที่มีขนาดเหมาะสมไว้บริการนักเรียน ครู ผู้บริหาร บุคลากรภายในโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

(ต่อ)

- โรงเรียนขนาดกลาง มีห้องสมุด๑ – ๒ ห้องเรียน ได้ ๑ คะแนน

มีห้องสมุด ๓ ห้องเรียนได้ ๒ คะแนนมีห้องสมุด เป็นอาคารเอกเทศขนาด ๑ ห้องเรียน ได้ ๓ คะแนน

- โรงเรียนขนาดใหญ่ มีห้องสมุด๒ ห้องเรียน ได้ ๑ คะแนน

มีห้องสมุด ๓ ห้องเรียนได้ ๒ คะแนน มีห้องสมุด ๓ ห้องเรียนขึ้นไปหรือเป็นอาคารเอกเทศขนาด ๒ ห้องเรียน ได้ ๓ คะแนน

โรงเรียนมัธยมศึกษา

- โรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียน

น้อยกว่า ๕๐๐ คน)

มีห้องสมุด ๒ ห้องเรียน ได้ ๑ คะแนนมีห้องสมุด ๓ ห้องเรียนได้ ๒ คะแนน มีห้องสมุด ๓ ห้องเรียนขึ้นไปหรือเป็นอาคารเอกเทศ ๒ ห้องเรียน ได้ ๓ คะแนน

- โรงเรียนขนาดกลาง (นักเรียน ๕๐๐ – ๑,๔๙๙ คน)

มีห้องสมุด ๓ ห้องเรียน ได้ ๑ คะแนน มีห้องสมุด ๔ ห้องเรียนได้ ๒ คะแนน เป็นอาคารเอกเทศขนาด ๓ ห้องเรียน ได้ ๓ คะแนน

- โรงเรียนขนาดใหญ่ (นักเรียน๑,๕๐๐ คนขึ้นไป)

มีห้องสมุด ๔ ห้องเรียน ได้ ๑ คะแนนมีห้องสมุด ๔ ห้องเรียนได้ ๒ คะแนน เป็นอาคารเอกเทศ ๔ ห้องเรียน ได้ ๓ คะแนน


มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑

ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ

(ต่อ)

๑.๖ ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

๑.๖.๑ มีแผนการนิเทศงานห้องสมุด

๑.๖.๒ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

๑.๖.๓ มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดและผู้ที่เกี่ยวข้อง

๑.๖.๔ มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาห้องสมุด

๑.๖.๕ มีการนำมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้ในการบริหารงานห้องสมุด

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- แผนการนิเทศ

- หลักฐานการนิเทศ

- รายงานผล

- หลักฐานการนำผลการ

ประเมินไปใช้

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๒

ผู้บริหารส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุด

๒.๑ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ชุมชน

มาใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้

๒.๒ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ชุมชน

มีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน

๒.๓ ผู้บริหารสร้างเครือข่ายความร่วมมือและแสวงหาความช่วยเหลือจากหน่วยงานและองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- สังเกต

- สัมภาษณ์

- ภาพถ่าย

ฯลฯ

มาตรฐานที่ 3

ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

๓.๑ ผู้บริหารเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านห้องสมุดอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

๓.๒ ผู้บริหารใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน

๓.๓ ผู้บริหารมีนิสัยรักการอ่าน แสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- เกียรติบัตร

- บทความทางวิชาการ

- เอกสารเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ

- หลักฐานการเข้าร่วมประชุม สัมมนา

- หลักฐานการยืม-คืน

- หลักฐานการศึกษาค้นคว้า

- สังเกต

- สัมภาษณ์

ฯลฯ

หมวดที่ ๒มาตรฐานด้านครู

๒.๑ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๔

ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ มีความ สามารถในการบริหาร งานห้องสมุด

๔.๑ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจของห้องสมุดโรงเรียน

๔.๒ มีการจัดทำแผนงาน โครงการห้องสมุดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

๔.๓ มีการจัดทำโครงสร้างการบริหารงานห้องสมุด

๔.๔ มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของห้องสมุดให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

๔.๕ การประเมินผลการดำเนินงาน

๔.๖ มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนางานห้องสมุด

๔.๗ มีการนำมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐานมาใช้ในการบริหารงานห้องสมุด

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- แผนพัฒนางานห้องสมุด

- สถิติการใช้บริการ

- แผ่นพับประชาสัมพันธ์

- สังเกตสภาพแวดล้อม

- แบบประเมินงาน ผลการ

ดำเนินงาน

- ข้อมูลแสดงการนำผลการ

ประเมินมาใช้พัฒนาต่อไป

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๕

ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความ สามารถในการปฏิบัติ งานเทคนิค

๕.๑ จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศ

ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

๕.๒ จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเหมาะสม และตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

๕.๓ มีการจัดหมวดหมู่และทำรายการทรัพยากรสารสนเทศตามหลักสากล

๕.๔ มีการเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้บริการ

๕.๕ ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศอย่างเหมาะสมตามสภาพของโรงเรียน สะดวกต่อการเข้าถึงและใช้บริการ

๕.๖ มีการสำรวจทรัพยากรสารสนเทศประจำปี

๕.๗ มีการบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- ทะเบียนทรัพยากร

สารสนเทศ

- แผนการจัดหาทรัพยากร

- สังเกตระบบการจัด

หมวดหมู่การสืบค้น

- การเข้าถึงทรัพยากร

สารสนเทศ

- หลักฐานการสำรวจหรือ

แสดงความต้องการ

ทรัพยากรสารสนเทศ

ฯลฯ

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๖

ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความ สามารถในการให้บริการ

๖.๑ มีการจัดทำระเบียบการใช้ห้องสมุด

๖.๒ มีการจัดทำตารางการใช้ห้องสมุดที่ชัดเจน

๖.๓ มีการแนะนำการใช้ห้องสมุด และการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ

๖.๔ มีการสอนวิชาการใช้ห้องสมุด และการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ

๖.๕มีการจัดบริการการอ่านและการศึกษาค้นคว้า

๖.๖ มีการจัดบริการยืม-คืน

๖.๗มีการจัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า

๖.๘ มีการจัดบริการเชิงรุกอย่างหลากหลาย

๖.๙ มีการจัดบริการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และทางอินเทอร์เน็ต

๖.๑๐ มีการจัดเก็บสถิติการใช้บริการ

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- ระเบียบการใช้บริการ

- ตารางการใช้ห้องสมุด

- สถิติการยืม-คืน

- สังเกต

- สัมภาษณ์

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๗

ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีความ สามารถ ในการจัดกิจกรรม

๗.๑ มีการจัดกิจกรรมห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

๗.๒ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลายเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

๗.๓ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่องเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- แผนปฏิบัติงาน

- แผนพัฒนาห้องสมุด

- การประเมินโครงการ

- รูปภาพ

- สรุปโครงการ

- สถิติ

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๘

ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

๘.๑ มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และมีนิสัยรักการอ่าน

๘.๒ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

๘.๓ เข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง หรือศึกษาต่อ

๘.๔ เป็นสมาชิกสมาคม ชมรม หรือกลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

๘.๕ มีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด

๘.๖ มีวุฒิทางวิชาชีพบรรณารักษ์หรือสารสนเทศศาสตร์ หรือผ่านการศึกษาอบรมด้านงานห้องสมุด

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- บันทึกรายงานการประชุม

- หลักฐานอื่นๆ เช่น

เกียรติบัตร

- สังเกต

- สัมภาษณ์

- สถิติการใช้ห้องสมุด

- คำสั่ง

- หนังสือเชิญ

- หนังสือตอบรับ

ฯลฯ

๒.๒ครูผู้สอน

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๙

ครูผู้สอนใช้ห้องสมุด

เพื่อการเรียนการสอน

๙.๑ มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่

บูรณาการการใช้ห้องสมุดในวิชา

ที่ตนเองรับผิดชอบ

๙.๒ มีส่วนร่วมในการเสนอหรือคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

๙.๓ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้

๙.๔ มีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้ห้องสมุด

แนวทางการให้คะแนน

- ครูร้อยละ ๗๐ – ๘๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน

- ครูร้อยละ ๘๑ – ๙๐ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๒ คะแนน

- ครูร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐

ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- แผนการจัดการเรียนรู้

- บันทึกรายงานการประชุม

- ภาพถ่าย

- ป้ายนิทรรศการ

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๑๐ ครูผู้สอนมีการ

จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน

๑๐.๑ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัย

รักการอ่าน ในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบอย่างหลากหลาย

๑๐.๒ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัย

รักการอ่าน ในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง

๑๐.๓ มีการประสานความร่วมมือกับครูบรรณารักษ์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๑๐.๔ มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

๑๐.๕ มีการรายงานผลการประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่อผู้บริหารโรงเรียน

๑๐.๖ มีการเผยแพร่ผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบ

๑๐.๗ มีการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนา กิจกรรมส่งเสริมนิสัย

รักการอ่าน

แนวทางการให้คะแนน

- ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของโรงเรียน ปฏิบัติได้ ๑ – ๓ ข้อ

ได้ ๑ คะแนน

- ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของโรงเรียน ปฏิบัติได้ ๔ – ๕ ข้อ

ได้ ๒ คะแนน

- ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของโรงเรียน ปฏิบัติได้ ๖ ข้อขึ้นไป

ได้ ๓ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- แผนการจัดกิจกรรม

ส่งเสริมการอ่าน

- ผลงานจากการจัด

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

- สังเกต

- สัมภาษณ์

ฯลฯ

หมวดที่ ๓มาตรฐานด้านนักเรียน

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑๑

นักเรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ

๑๑.๑ นักเรียนกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้

๑๑.๒ นักเรียนค้นหาสารสนเทศ

ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑๑.๓ ตัดสินใจเลือกสารสนเทศ

ที่เข้าถึงได้อย่างถูกต้อง

๑๑.๔ สรุป เรียบเรียงแนวคิดจากสารสนเทศที่ค้นพบได้

๑๑.๕ จัดเก็บ/เผยแพร่สารสนเทศได้

๑๑.๖ สร้างองค์ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าได้

๑๑.๗ มีจิตสำนึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

๑๑.๘ มีคุณธรรมและจริยธรรม

ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

แนวทางการให้คะแนน

- นักเรียน ร้อยละ ๗๐ – ๘๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน

- นักเรียน ร้อยละ ๘๑ – ๙๐ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๒ คะแนน

- นักเรียน ร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐

ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- สังเกต

- สัมภาษณ์

- ตอบแบบสอบถาม

- รายงาน

- ชิ้นงาน

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๑๒

นักเรียนมีความใฝ่รู้

ใฝ่เรียน และมีนิสัย

รักการอ่าน

๑๒.๑ นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ

๑๒.๒ นักเรียนยืมหนังสือหรือสื่อทรัพยากรสารสนเทศอื่นอย่างสม่ำเสมอ

๑๒.๓ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างสม่ำเสมอ

๑๒.๔ นักเรียนมีปริมาณการอ่านเหมาะสมกับระดับชั้น ตามเกณฑ์การอ่านหนังสือขั้นต่ำที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

แนวทางการให้คะแนน

ข้อ ๑๒.๑ – ๑๒.๓

- นักเรียน ร้อยละ ๗๐ – ๘๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน

- นักเรียน ร้อยละ ๘๑ – ๙๐ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๒ คะแนน

- นักเรียน ร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐

ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน

ข้อ ๑๒.๔

- นักเรียน ร้อยละ ๗๐ – ๘๐

อ่านหนังสือตามปริมาณขั้นต่ำ

ได้ ๑ คะแนน

- นักเรียน ร้อยละ ๘๑ – ๙๐อ่านหนังสือตามปริมาณขั้นต่ำ

ได้ ๒ คะแนน

- นักเรียน ร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐

อ่านหนังสือตามปริมาณขั้นต่ำ

ได้ ๓ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- สังเกต

- สัมภาษณ์

- แบบสอบถาม

- รายงาน

- ชิ้นงาน

- สถิติการเข้าใช้ห้องสมุด

- สถิติการยืมหนังสือ

- มีหลักฐานการเข้าร่วม

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

- บันทึกการอ่าน

ฯลฯ

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑๒

นักเรียนมีความใฝ่รู้

ใฝ่เรียน และมีนิสัย

รักการอ่าน

(ต่อ)

๑๒.๔ นักเรียนมีปริมาณการอ่านเหมาะสมกับระดับชั้น ตามเกณฑ์การอ่านหนังสือขั้นต่ำที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

(ต่อ)

ปริมาณการอ่านหนังสือขั้นต่ำของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๑) ประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓

อ่านหนังสืออื่น อย่างน้อยคนละ

๕ เล่มต่อปี๒

๒) ประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖

อ่านหนังสืออื่น อย่างน้อยคนละ

๑๐ เล่มต่อปี

๓) มัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓

อ่านหนังสืออื่น อย่างน้อยคนละ ๑๕ เล่มต่อปี

๔) มัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖

อ่านหนังสืออื่น อย่างน้อยคนละ ๒๐ เล่มต่อปี


หมวดที่ ๔ มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑๓ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์

๑๓.๑ ห้องสมุดมีหนังสืออ้างอิง เช่น หนังสือพระราชนิพนธ์ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สารานุกรม พจนานุกรม

เป็นต้น

๑๓.๒ ห้องสมุดมีหนังสือสารคดี บันเทิงคดี หนังสือภาษาต่างประเทศ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์

จุลสาร เอกสารหลักสูตร ที่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ

๑๓.๓ ห้องสมุดมีหนังสืออย่างน้อย ๑๐ เล่ม ต่อนักเรียน ๑ คน

๑๓.๔ ห้องสมุดมีวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ไว้ให้บริการอย่างเหมาะสมและเพียงพอ

แนวทางการให้คะแนน

ข้อ ๑๓.๑ ข้อ ๑๓.๒ และข้อ

๑๓.๔

มีทรัพยากรสารสนเทศตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน

ข้อ ๑๓.๓

- มีจำนวนน้อยกว่าที่ระบุ

ในตัวบ่งชี้ ได้ ๑ คะแนน

- มีจำนวนตามที่ระบุ

ในตัวบ่งชี้ ได้ ๒ คะแนน

- มีจำนวนมากกว่าที่ระบุ

ในตัวบ่งชี้ ได้ ๓ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- ทรัพยากรสารสนเทศ

- สมุดทะเบียนรายชื่อวัสดุ

ตีพิมพ์

- สังเกต

- สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๑๔ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์

๑๔.๑ ห้องสมุดมีวัสดุไม่ตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในปริมาณ

ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น

๑๔.๑.๑ ลูกโลก

๑๔.๑.๒ แผนที่

๑๔.๑.๓ หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง

๑๔.๑.๔ เกม ของเล่นเสริม

ทักษะ

๑๔.๑.๕ วีดิทัศน์ ซีดี-รอม ดีวีดี

๑๔.๑.๖ บทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน

๑๔.๑.๗ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

๑๔.๑.๘ บทเรียนออนไลน์

ฯลฯ

แนวทางการให้คะแนน

มีทรัพยากรสารสนเทศตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- ทรัพยากรสารสนเทศ

- สมุดทะเบียนรายชื่อวัสดุ

ไม่ตีพิมพ์

- สังเกต

- สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๑๕

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

๑๕.๑ ห้องสมุดใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ

๑๕.๒ ห้องสมุดมีการสืบค้นออนไลน์ทางเว็บไซต์

๑๕.๓ ห้องสมุดมีเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

แนวทางการให้คะแนน

มีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- โปรแกรมห้องสมุด

- คอมพิวเตอร์เพื่อการ

สืบค้น

- เครือข่ายสังคมออนไลน์

- โปรแกรมการฝึกอบรม

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑๕

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ต่อ)

๑๕.๔ ห้องสมุดมีการจัดฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของห้องสมุด


- สังเกต

- สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ

ฯลฯ

หมวดที่ ๕ อาคาร สถานที่และวัสดุครุภัณฑ์

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมิน

ข้อมูลเชิงประจักษ์

มาตรฐานที่ ๑๖

อาคาร สถานที่

๑๖.๑ ห้องสมุดตั้งอยู่ในตำแหน่ง

ที่เหมาะสม สะดวกในการเข้าใช้บริการ

๑๖.๒ ห้องสมุดมีการออกแบบและตกแต่งอย่างเหมาะสมและสวยงาม

๑๖.๓ ห้องสมุดมีการจัดพื้นที่และบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้

๑๖.๔ ห้องสมุดมีการจัดการด้านสภาพแวดล้อม (สะอาด แสงสว่าง เสียง และการถ่ายเทอากาศ) อย่างเหมาะสม

๑๖.๕ ห้องสมุดมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยของห้องสมุดและผู้ใช้บริการ

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- สังเกต

- สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ

ฯลฯ

มาตรฐานที่ ๑๗

วัสดุครุภัณฑ์

๑๗.๑ ห้องสมุดมีครุภัณฑ์

ที่เหมาะสมกับขนาดของห้องและผู้ใช้บริการ

๑๗.๒ ห้องสมุดมีครุภัณฑ์เพียงพอและจัดวางได้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและให้บริการ

๑๗.๓ ห้องสมุดมีครุภัณฑ์ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่รองรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของห้องสมุด

(คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น และคอมพิวเตอร์เพื่อการปฏิบัติงาน)

๑๗.๔ ห้องสมุดมีเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์และการให้บริการ

แนวทางการให้คะแนน

มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ

๑ คะแนน

วิธีการและเอกสารหลักฐาน

เช่น

- ทะเบียนครุภัณฑ์

- สังเกต

- สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ

ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 616606เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เกียรติศักดิ์ เฟื่องฟูกิจการ

อยากให้สพฐ.แตกมาตรฐานออกมาแยกเป็นตัวชี้วัดให้สำหรับร.ร.ที่จะนำมาใช้จัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน และการเรียนรู้ในส่วนของรายวิชาการใช้ห้องสมุดครับ

เกียรติศักดิ์ เฟื่องฟูกิจการ

อยากให้สพฐ.แตกมาตรฐานออกมาแยกเป็นตัวชี้วัดให้สำหรับร.ร.ที่จะนำมาใช้จัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน และการเรียนรู้ในส่วนของรายวิชาการใช้ห้องสมุดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท