ผ้าขาวเปื้อนหมึก
กานนา สงกรานต์ กานต์ วิสุทธสีลเมธี

เอกสารปรกอบการสอนวิชา พุทธวิถีไทย (BU 5005)


เอกสารปรกอบการสอนวิชา พุทธวิถีไทย (BU 5005)

(Buddhism and Thai Way of Life)

บทที่ 1

ความสำคัญทางพระพุทธศาสนา

  • ประวัติพระพุทธเจ้าและพุทธศาสนา
  • ศีกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการ ได้แก่ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ยุทธศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โชยติศาสตร์ ศาสนศาสตร์ วาณิชยศาสตร์ อักษรศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ คณิตศาสตร์ เวชศาสตร์ ฉันทศาสตร์ คันธัพศาสตร์ มายาศาสตร์ โยคศาสตร์ เหตุศาสตร์ โหราศาสตร์ เวชศาสตร์

1)ระยะเวลา 80 พรรษาของพระพุทธเจ้า วัยศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ (อายุ 1-16 ปี) ศึกษา 2ทาง คือ

1.ศึกษาไตรเพท ได้แก่ ฤคเวท, ยชุรเวท , สามเวท และอถรรพเวท

- วัยครองเรือน ( อายุ 16-29)

- บวชแสวงหาการตรัสรู้ (วัยอายุ 29-35 ปี)

- ตรัสรู้และเผยแผ่พระพุทธศาสนา-(อายุ 35-80 ปี)

2) พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย พ.ศ.235 สังคายนาครั้งที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณฑูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาถึง 9 สาย สายที่ 8 มีพระโสณะและพระอุตตระเดินทางมาสุวรรณภูมิ(พม่า มอญ ไทย มาเลย์ อินโดนีเซียและเขมร) โดยสัณนิษฐานว่า ดินแดนไทยน่าจะเป็นทราวดีหรือตามพลิงค์(นครศรีธรรมราช) ต่อมานักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้ค้นพบจารึกเก่าแก่ที่นครปฐม เรียกว่า จารึก เย ธัมมา..เขาจึงสันนิษฐานว่า สุวรรณภูมิน่าจะเป็นดินแดนแถบนครปฐม จึงตั้งดินแดนเหล่านี้ว่า จังหวัดนครปฐม

  • หัวใจพระพุทธศาสนา
  • หัวใจพระปาฏิโมกข์
  • ความสำคัญด้านการปกครอง
  • ด้านการจัดระเบียบสังคม
  • ด้านสร้างสรรค์อารยธรรม
  • ด้านสร้างความสงบสุขให่แก่โลก

เย ธมมา เหตุปพภวา เตส๋ เหตุ๋ ตถาคโต

เตสญจ โย นิโรโธจ เอว๋ วาที มหาสมโณ .

แปลว่า

สพพปาปสส อกรณ๋ กุสลสสูปสมปทา

สจิตตปริโยทปนน๋ เอต๋ พุทธานสาสน๋

แปลว่า

การไม่ทำบาปทั้งปวง การกระทำแต่กรรมดี

การทำจิตให้ผ่องใส นี่คือ คำสอนของพระพุทธศาสนา.

ความสำคัญของพุทธวิถีไทย

1.ประวัติพุทธ โดยย่อ ประสูติวันวิสาขบูชา 3 วัน 5 วัน 7 วัน ถึง 16 ปี

2. อายุ 16-29 ปี สมรส อยู่ครองเรือนเตรียมตัวครองราชในฐานะพระราชกุมาร

3. อายุ 29-35 ปี ออกบวชแสวงหาโมกขธรรม (อาฬารดาบส รามบุตร อุทกดาบส กาลามโคตร) สาเหตุปรารภ เทวทูต 4 ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ

ได้สมาบัติ 7 และ 8 ตามลำดับ แล้วบำเพ็ญต่อตามแนวนิครณ(เขน) ไม่พบความสำเร็จ กลับมาบริโภคเพื่อตั้งหลักใหม่

4. วัย 35 ปีโดยฝึกจิตเป็น อานาปานสติ แล้าสู่วิปัสสนา สามารถหยั่งเห็น ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์(ปัญหา) สาเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัย(โจทย์วิจัย) ตั้งสมมติฐานเพื่อการดับทุกข์ และปฏิบัติ ค้นคว้า ทดลอง เป็นมรรค 8 ประการ แล้ววิเคราะห์การแก้ทุกข์ สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ว่า ตรัสรู้ ด้วยอริสัจ 4 ประกอบด้วย วิชชา 3 ได้แก่

1. ปุพเพนิวาสานุสติญาน ระลึกชาติได้ ในยามต้น

  • 2. จุตูปปาตญาน รู้จุติ และการเกิดได้
  • 3. อาสวักขญาณ รู้วิธีดับกิเลสได้

5. อายุ 35-80 พรรษา ตรัสรู้ เผยแผ่พระพุทธศาสนา

6. หลังปรินิพพาน

หลักธรรมต่าง ๆ คือ ธรรมโลกบาล(ธรรมมีอุปการคุณต่อโลก)

- หิริ ความละอายต่อบาป

- โอตต้ปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป

ธรรมของบุคคลที่หาได้ยาก

- บุพพการี ผู้กระทำบุญคุณให้ก่อนแล้ว

- กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณที่คนอื่นกระทำให้และกระทำตอบแทน

ไตรสิกขา 3

- ศีลสิกขา

- จิตสิกขา(สมาธิ)

- ปัญญาสิกขา(ปัญญา)

ไตรลักษณ์(ลักษณะที่ทุกคนต้องพบ) คือ

- อนิจจัง ความไม่เที่ยง

- ทุกขัง ความทุกข

- อนัตตา ความไม่ไม่ใช่ตัวตน

สุจริต 3

- กายสุจริต

- วจีสุจริต

- มโนสุจริต

อริยสัจ 4

- ทุกข์

- สมุหทัย

- นิโรธ

- มรรค

พรหมวิหาร 4

- เมตตา

- กรุณา

- มุทิตา

- อุเบกขา

อิทธิบาท 4

- ฉันทะ

- วิริยะ

- จิตตะ

- วิมังสา

สังคหวัตถุ 4

- ทาน การให้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

- ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก

- อัตถจริยา ประพฤติเป็นประโยชน์ บำเพ็ญประโยชน์

- สมานัตตตา ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย

ฆราวาสธรรม 4

- สัจจะ ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ

- ทมะ ข่มใจ คุมจิตใจ แก้ไขข้อบกพร่อง

- ขันติ อดทน อดกลั้น

- จาคะ เสียสละ เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

ทิฏฐธัมมิกประโยชน์(หัวใจเศรษฐี..อุ..อา…ก….ส…)

- อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความอุตสาหะ

- อารักขสัมปทา ………..ด้วยการรักษาทรัพย์

- กัลยาณมิตตตา…………ด้วยการคบมิตรที่ดี

- สมานัตตตา …………..ด้วยการใช้ชีวิตที่สมฐานะ

จริต 6 ความประพฤติของคนที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง

1.ราคจริต พวกรักสวยรักงาม

2.โทสจริต ใจร้อน หงุดหงิด โมโหง่าย

3.โมหจริต พวกเหงาเศร้าซึม งมงาย

4.สัทธาจริต พวกจิตใจซาบซึ้ง น้อมใจเลื่อมใสง่าย

5.พุทธจริต พวกนิยมความรู้ ชอบคิดพิจารณา

6.วิตกจริต พวกคิดฟุ้งซ่าน นึกคิดจับจด

ทิศ 6

-ทิศเบื้องหน้า

-หลัง

-ซ้าย

-ขวา

-ด้านบน

-ด้านล่าง

สวรรค์6

- จาตุมมหาราชิกา (ธตรสหน้าน่ารัก วิรุฬปักษ์รักษ์ตะวันตก วิรุฬหกขวาเผ่น ท้าวกุเวร

เต้นเหนือ)

- ดาวดึงส์

- ดุสิต

- ยามา

- นิมนรดี

- ปรมิตสวัสดี

สัปปุริสธรรม 7

- ธัมมัญญุตา

- อัตถัญญุตา

- อัตตัญญุตา

- มัตตัญญุตา

- กาลัญญุตา

- ปริสัญญุตา

- ปุคคลัญญุตา

อปริหานิยธรรม 7(ไม่เสื่อมสามัคคี)

- หมั่นประชุม

- พร้อมประชุม

- ม่บัญญัติที่ไม่ได้บัญญัติ

- เคารพนับถือผู้ใหญ่

- กุลบุตรธิดาไม่ถูกข่มเหง

- เคารพสักการะพระเจดีย์

- คุ้มครองป้องกันพระอรหันต์

มรรคมีองค์ 8

- สัมมาทิฏฐิ

- สัมมาสังกัปปะ

- สัมมากัมมันตะ

- สัมมาวาจา

- สัมมาอาชีวะ

- สัมมาวายามะ

- สัมมาสติ

- สัมมาสมาธิ

โลกธรรม 8

- อิฏฐารมณ์ - ลาภ ยศ สรรเสริฐ สุข

- อนิฏฐารมณ์ - เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์

ความเชื่อ หลักกาลามสูตร(เกศบุตติยสูตร)

- มา อนุสสเวน .. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา

- มา ปรมปราย .. ด้วยการถือกันสิบๆ กันมา

- มา อิติราย .. ด้วยการเล่าลือ

- มา ปิฏกสัมปเทน .. ด้วยอ้างตำราหรือคัมภีร์

- มา ตกก .. ด้วยตรรก

- มา นยเหตุ .. ด้วยการอนุมาน

- มา อาการปริวิตกเกน .. ด้วยการคิดตรองตามเหตุผล

- มา ทิฏฐนิชฌานกขนติยา.. ด้วยเข้ากับทฤษฎีที่พินิจไว้

- มา ภพพรูปตาย .. ด้วยมองเห็นตามรูปลักษณะว่าน่าจะเป็น

- มา สมโณ ครูติ .. ด้วยว่าสมณะนี้เป็นครูเรา

“ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้น แล้วจึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น”

ทศธรรม 10.

- ทาน

- สีล

- ปริจฺจาค

- อาชฺชวะ

- มทฺทวะ

- ตปะ

- อกฺโกธะ

- อวิหึสา

--ขนฺติ

- อวิโรธนะ.

บทที่ 2

พระพุทธศาสนาที่เป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย

การยอมรับพระพุทธศาสนาเข้าผสมผสานกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยนั้น ก่อให้เกิดการปรับตัวและพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี โดยไม่มีการขัดแย้งใด ๆ ซึ่งสรุปได้ ดังนี้

  • วัฒนธรรมไทยมีการปรับตัวได้ดีกับวัฒนธรรมอื่น ๆ (Highly Adaptive) คือ สามารถรับวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งที่ดีกว่าและเท่าเสมอกัน โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาแล้ว วัฒนธรรมไทยรับทั้งคำสอน ภาษา-วรรณกรรม และพิธีกรรม เช่น การทำความเคารพ การบูชา เป็นต้น
  • มีความยืดหยุ่นสูง (Highly Flexible) คือ รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว(รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ) แบบอ่อนนอกแข็งใน(มีกลอุบายที่ชาญฉลาด กรณี เช่น การรักษาเอกราช โดยการรู้จักยอมเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้ และการทำให้ประเทศเป็นรัฐกันชน(Buffer State)
  • ยึดมั่นในความเป็นไทยอย่างเหนียวแน่น(Thai-ism) คือ ภูมิใจที่เป็นไทย รักพวกพ้อง ดูเหมือนธรรมดา แต่พอมีเหตุการณ์วิกฤติ จะเห็นได้ชัด เช่น เกิดอุทกภัย เกิดฟ้าดินถล่มในภาคใด คนไทยทุกภาคจะช่วยเหลือกัน

จากการรับวัฒนธรรมจากพระพุทธศาสนานี้ ทำให้เกิดประเพณีใหม่หรือผสมผสานกับประเพณีเดิมได้เป็นอย่างดี เช่น

  • ด้านประเพณี

ด้านประเพณีนี้ มีพิธีการและรูปที่หลากหลาย มีทั้งที่คงรูปแบบดั้งเดิมและที่ประยุกต์หรือมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นบ้าง นักศึกษาพึงพิจารณาว่า อะไรคือแก่นแท้และอะไรคือส่วนประกอบ

การบวช คือ การนำตนเข้าเป็นพระหรือสามเณรในพระพุทธศาสนา สังคมไทยถือว่า ผู้ชายที่ได้บวชแล้วเป็นคนสุก(รู้บุญ รู้กรรม รู้คุณ-รู้โทษ) คนไม่ได้บวชเป็นคนดิบ(ไม่รู้บุญคุญพ่อแม่) การบวชนั้น มีคติแตกต่างกัน คือ

บวชเป็นสามเณร หมายถึง ผู้ชายที่อายุ ตั้งแต่ 7-19 ปี ที่ร่างกายสมบูรณ์ บวชเรียนพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา ในภาคกลางถือวา เป็นเรื่องธรรมดา หรือ ผู้มีฐานะไม่ค่อยดี บวชเรียน ส่วนภาคเหนือจะถือว่า สำคัญมากเพราะถือว่า เป็นเหล่ากอพระสมณะ(ภาคเหนือเรียกสามเณรว่าพระ) บวชเพื่อสืบพระศาสนา และจะมีพิธีบวชที่ใหญ่โต เช่น ปอยส่าลอง

การบวชพระ ในภาคกลางถือว่า สำคัญมาก เพราะผู้ชายที่อายุ 20 ปีแล้ว ต้องบวชทดแทนบุญคุณพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา โยมแม่จะภาคภูมิใจที่สุดเพราะตนเองบวชไม่ได้ แต่ถือว่า ได้เกาะชายจีวรลูกพระไปสู่

สวรรค์ ยิ่งได้บวช เรียนรู้หลักพระธรรมวินัย จะถือว่า ดีเยี่ยม เวลาสึก(ลาสิกขา) ชาวบ้านจะเรียกว่า ทิด (บัณฑิต) เวลาจะบวชจึงมีพิธีกรรมมากมาย ตั้งแต่การเป็นนาค ทำขวัญนาคและวันบวชจะมีการแห่นาคที่สนุกสนาน ทางภาคเหนือเรียกการบวชพระว่า เป๊ก เป็น ตุ๊ หมายถึง การขอ อุปสัมปทาเปกขะ(ขอบวช)

ประเพณีการสมรส(แต่งงาน) เพื่อเกิดความเป็นสิริมงคลกับคู่สมรส จะนิมนต์พระไปเจริญพระพุทธมนต์ จะมีบทสวดมนต์ที่สำคัญที่ใช้ในงานนี้ คือ ชยมังคลคาถา( ชะยันโต) อีกบทหนึ่งคือ บทอังคุลิมาลสูตร

ประเพณีการเกิด โดยเฉพาะการตั้งชื่อ การโกนผมไฟและสมัยก่อนมีการตัดจุกด้วย

(รวมทั้งการแก่-เจ็บ) มีการทำบุญต่ออายุ การสืบชะตา กายลอยเคราะห์ ฯลฯ

การตาย ตั้งแต่การเสียชีวิต ต้องใช้พระไปร่วมพิธีกรรมตลอด เช่น การสวดพระอภิธรรม การเทศน์ การบังสุกุล และการนำสู่เชิงตะกอนหรือจิตกาธาน(ฌาปนสถาน,สู่เมรุ)

การทำบุญ 7 วัน และการทำบุญ 100 วัน ก็เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเช่นกัน ทั้งนี้ เพราะพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจของชาวพุทธนั่นเอง

ประเพณีวันสงกรานต์ เป็นงานที่ยิ่งใหญ่อีกงานหนึ่ง เพราะสงกรานต์หมายถึง การเคลื่อนราศีหนึ่ง เข้าสู่อีกราศีหนึ่ง คนไทยเรียกว่า เคลื่อนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ จึงมีวันสังขารล่อง วันเนาหรือ(วันสุดปี) วันพญาวัน 15 เมษายน (วันต้นปี)และวันปากปี การขึ้นสู่ปีใหม่ ทุกคนต้องการความมีสิริมงคล จึงต้องไปทำบุญ ขอพรพระ มาร่วมพิธีด้วย

ประเพณีวันลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 (ภาคเหนือคือ วันยี่เป็ง) เป็นประเพณีที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์(นางนพมาศ) โดยอ้างถึงตำนานที่เกี่ยวกับพญานาคที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทานทีว่า มีพญานาคแปลงกายมาบวชเพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตอนท้ายถูกจับได้ว่าเป็นพญานาคแปลงกายมา จึงขอกลับไปอยู่ที่เมืองบาดาล แต่ขอให้พระพุทธเจ้าเหยียบเป็นรอยเท้าไว้ที่ริมฝั่งน้ำนัมทานทีนั้นเมื่อวันเพ็ญเดือน 12 ทุกปี กลุ่มพญานาคจะขึ้นมาบูชาโดยทำเป็นกระทงใส่ดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา ชาวพุทธทั่วไปจึงร่วมบูชาด้วย ในประเทศไทย นอกจากไหว้พระพุทธเจ้าแล้ว ยังถือเป็นการขอขอบคุณและขอขมาต่อพระแม่คงคาด้วยที่ให้น้ำกินน้ำใช้บางครั้งต้องเหยียบย่ำน้ำด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการปล่อยเคราะห์(ลอยเคราะห์)ไปกับน้ำบ้าง ปล่อยให้ลอยไปกับฟ้าบ้าง

ความเป็นองค์สามัคคีในที่นี้ขอยกเรื่อง หลักอปริหานิยธรรม 7 (ธรรมที่ไม่เสื่อมสามัคคี)

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

2. พร้อมเพียงในการประชุมและเลิกประชุม

3. ไม่บัญญัติที่ไม่ได้บัญญัติ ที่บัญญัติไว้แล้วต้องปฏิบัติตาม

4. เคารพนับถือผู้ใหญ่ในที่ประชุมและในแคว้นที่ตนอยู่

5. ดูแลกุลบุตรธิดาให้ดี ไม่ให้ถูกข่มเหง

6. เคารพสักการะพระเจดีย์,พระธาตุ และสิ่งที่เคารพ

7. ให้การคุ้มครองป้องกันพระอรหันต์,นักบวชต่าง ๆ อย่างดี

การส่งเสริมและคุ้มครองพระพุทธศาสนา

-การปฏิบัติตามหลักธรรมมากกว่าถือพิธีกรรม หรือเรียกว่า ปฏิบัติบูชา ดีกว่า อามิสบูชา

-คอยสอดส่องดูแลวัดและพระสงฆ์ ระวังคนคิดไม่ดีจะทำร้ายพระศาสนา

-หน้าที่พระสงฆ์กับประชาชน พึงปฏิบัติหน้าที่ต่อกันให้ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้

>พระสงฆ์ปฏิบัติต่อประชาชน

1) ห้ามมิให้ทำชั่ว

2) ให้ตั้งอยู่ในความดี

3) อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี คือ ส่งเสริมให้กุลบุตรมีน้ำใจโอบอ้อมอารี มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์

4) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง

5) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง

>ประชาชนปฏิบัติต่อพระสงฆ์

1) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา

2) จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา

3) จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา

4) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ

5) อุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัย

สรุป

คำสอน ภาษา-วรรณกรรม และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างยิ่ง เพราะคนไทยรับหลักธรรมคำสอน ภาษาและพิธีกรรมจากพุทธศาสนาแล้วสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ มีการปรับตัว มีการยืดหยุ่น และมีการผนวกให้เป็นเหมือนประเพณีของคนไทย

บทที่ 3

ความเป็นสถาบันคู่ชาติและพระมหากษัตริย์

พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่ชาติไทย เพราะคนได้เห็นว่า มีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตของคนไทย เช่น การเกิด การสมรส และการตาย ล้วนต้องการที่พึ่งทางใจเสมอ คือ พระพุทธศาสนาเพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งพุทธปรัชญาและภูมิปัญญา คือ การคิดหาความรู้ หาเหตุผลของการเกิดและการดับแห่งเหตุนั้น มีหลักธรรมมากมายที่บ่งบอกถึงการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นปรัชญาหรือเป็นปัญญาในการนำทางชีวิต เช่น

หลักธรรมโลกบาล(ธรรมมีอุปการคุณต่อโลก)

หิริ ความละอายต่อบาป

โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป

หลักธรรมของบุคคลที่หาได้ยาก

บุพพการี ผู้กระทำบุญคุณให้ก่อนแล้ว เช่น พ่อ แม่

กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณที่คนอื่นกระทำให้และกระทำตอบแทน

ไตรสิกขา 3 หลักการศึกษา ได้แก่

ศีลสิกขา ทำกายให้สงบ

จิตสิกขา(สมาธิ) ทำจิตใจให้สงบ ผ่องใส

ปัญญาสิกขา(ปัญญา) ทำสมาธิให้เกิดปัญญาช่วยคิดและปรับปรุงการกระทำของตน

ไตรลักษณ์(ลักษณะที่ทุกคนต้องพบ) คือ

อนิจจัง ความไม่เที่ยง

ทุกขัง ความทุกข์

อนัตตา ความไม่ไม่ใช่ตัวตน

สุจริต 3 คือ การประพฤติดี ปฏิบัติดี

กายสุจริตความประพฤติดีทางกาย ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม

วจีสุจริต ความประพฤติดีทางวาจา ได้แก่ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่

พูดเพ้อเจ้อ

มโนสุจริต ความประพฤติทางความคิดดี ได้แก่ ไม่คิดร้าย ไม่คิดพยาบาท คิดแต่ทางที่

ถูกต้อง

อริยสัจ 4 (ความจริง 4 ประการ ที่ทุกคนควรรู้แจ้ง เห็นจริง) ได้แก่

ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

สมุหทัย สาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ได้แก่ กามตัณหา ความต้องการความใคร่ ภวตัณหา ความอยากได้ อยากมี และวิภวตัณหา ความไม่อยากได้ ไม่อยากมี

นิโรธ คือ ความดับทุกข์

มรรค คือ ทางดับทุกข์มี 8 ทางได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปป สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

พรหมวิหาร 4 (ธรรมที่เป็นที่อยู่แห่งพรหมหรือธรรมะของผู้ใหญ่)

เมตตา ความรักปรารถนาจะให้เป็นสุข

กรุณา ความสงสารปรารถนาจะให้พ้นทุกข์

มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี

อุเบกขา ความวางเฉยในบางอย่าง

อิทธิบาท 4 (ธรรมที่ช่วยให้กิจการงานสำเร็จ)

ฉันทะ ความพอใจในงานที่กระทำ

วิริยะ ความพยายามกระทำงานนั้น

จิตตะ ความตั้งใจมั่นในกิจที่กระทำ

วิมังสา การใคร่ครวญ, การตริตรองงานที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ

สังคหวัตถุ 4 (การสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์) ได้แก่

ทาน การให้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก

อัตถจริยา ประพฤติเป็นประโยชน์ บำเพ็ญประโยชน์

สมานัตตตาทำตนเสมอต้นเสมอปลาย

ฆราวาสธรรม 4 (ธรรมสำหรับผู้ครองเรือนหรือของคฤหัสถ์) ได้แก่

สัจจะ ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ ขันติ อดทน อดกลั้น

ทมะ ข่มใจ คุมจิตใจ แก้ไขข้อบกพร่อง จาคะ เสียสละ เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

ทิฏฐธัมมิกประโยชน์ หรือ หัวใจเศรษฐี (..อุ..อา…ก….ส…)

อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความอุตสาหะ

อารักขสัมปทา ถึงพร้อมถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์

กัลยาณมิตตตา ถึงพร้อมด้วยการคบมิตรที่ดี

สมานัตตตา ถึงพร้อมด้วยการใช้ชีวิตที่สมฐานะ

จริต 6 ความประพฤติของคนที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง

1.ราคจริต พวกรักสวยรักงาม

2.โทสจริต พวกใจร้อน หงุดหงิด โมโหง่าย

3.โมหจริต พวกเหงาเศร้าซึม งมงาย

4.สัทธาจริต พวกจิตใจซาบซึ้ง น้อมใจเลื่อมใสง่าย

5.พุทธิจริต พวกนิยมความรู้ ชอบคิดพิจารณา

6.วิตกจริต พวกคิดฟุ้งซ่าน นึกคิดจับจด

ทิศ 6 (การบูชาบุคคลตามทิศทั้ง 6 ) ได้แก่

ปุรัตถิมทิศ ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดามารดา

ทักษิณทิศ ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์

ปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา

อุตตรทิศ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย

เหฏฐิมทิศ ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้และคนงาน

อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์ หรือพระสงฆ์

สวรรค์ 6 (สวรรค์ที่ยังเสพกามคุณอยู่หรือเรียกว่า ฉกามาพจรสวรรค์) มี 6 ชั้น ได้แก่

ชั้นจาตุมหาราชิกา เทวดาชั้นต่ำสุด หรือ ท้าวจตุโลกบาลปกครองอยู่ทั้ง 4 ได้แก่โลก คือ (ธตรฐ (ทิศตะวันออก) วิรูปักษ์รักษ์(ตะวันตก) วิรุฬหก(ทิศใต้) และท้าวกุเวร(ทิศเหนือ)

ชั้นดาวดึงส์หรือไตรตรึงส์ แดนที่อยู่ของเทพ 33 ตนมีพระอินทร์เป็นหัวหน้ากับบริวาร

ชั้นยามา แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์มีท้าวสุยามเป็นจอมเทพ

ชั้นดุสิต แดนที่อยู่แห่งเทพผู้อิ่มด้วยสิริสมบัติของตนมีท้าวสันตุสิตเป็นจอมเทพ

ชั้นนิมมานรดี แดนที่อยู่แห่งเทพที่ยินดีในการเนรมิต มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ

ชั้นปรมิตสวัตตีชั้นสูงสุดของสวรรค์ที่เสวยสมบัติที่เทพพวกอื่นเนรมิตให้

สัปปุริสธรรม 7

ธัมมัญญุตา ผู้รู้ประมาณในธรรม อัตถัญญุตา ผู้รู้ประมาณในข้อความ

อัตตัญญุตา ผู้รู้ประมาณในตน มัตตัญญุตา ผีรู้ประมาณในประมาณ

กาลัญญุตา ผู้รู้ประมาณในเวลา ปริสัญญุตา ผู้รู้ประมาณในบริษัท

ปุคคลัญญุตา ผู้รู้ประมาณในบุคคล

อปริหานิยธรรม 7(ไม่เสื่อมสามัคคี)

หมั่นประชุม

พร้อมประชุม

ไม่บัญญัติที่ไม่ได้บัญญัติ

เคารพนับถือผู้ใหญ่

กุลบุตรธิดาไม่ถูกข่มเหง

เคารพสักการะพระเจดีย์

คุ้มครองป้องกันพระอรหันต์

โลกธรรม 8 คือ หลักธรรมที่ทุกคนต้องเกี่ยวข้อง ถ้ารู้จักคิด รู้จักปลง จะไม่ติดมั่นและไม่ทุกข์

- อิฏฐารมณ์ คือ อารมณืที่น่าปรารถนา มี 4 อย่าง ได้แก่ มีลาภ มียศ สรรเสริญ มีสุข

- อนิฏฐารมณ์ คือ อารามณืที่ไม่น่าปรารถนา มี 4 ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา มีทุกข์

ความเชื่อ หลักกาลามสูตร(กเกศบุตติยสูตร)

มา อนุสสเวน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา

มา ปรมปราย .. ด้วยการถือกันสิบๆ กันมา

มา อิติราย .. ด้วยการเล่าลือ

มา ปิฏกสัมปเทน .. ด้วยอ้างตำราหรือคัมภีร์

มา ตกก .. ด้วยตรรก

มา นยเหตุ .. ด้วยการอนุมาน

มา อาการปริวิตกเกน .. ด้วยการคิดตรองตามเหตุผล

มา ทิฏฐนิชฌานกขนติยา.. ด้วยเข้ากับทฤษฎีที่พินิจไว้

มา ภพพรูปตาย.. ด้วยมองเห็นตามรูปลักษณะว่าน่าจะเป็น

มา สมโณ ครูติ .. ด้วยว่าสมณะนี้เป็นครูเรา

“ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้น แล้วจึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น”

ทศพิธราชธรรม 10.

ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ

อกฺโกธํ อวิหึสฺจ ขนฺติฺจ อวิโรธนํ.

การให้ทาน รักษาศีล บริจาค ซื่อตรง ไม่เย่อหยิ่ง ข่มใจตนได้

ไม่เกี้ยวโกรธ ไม่เบียดเบียน มีความอดทน และประพฤติตามแบบแผนการปกครอง.

ความเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาระดับชาติ

-การเมือง-การปกครอง ใช้หลักอธิปไตย 3 หลักอปริหานิยธรรม 7 หลักทศพิธราชธรรม

10

-เศรษฐกิจและสังคม ใช้หลักทิฏฐธรรมิกประโยชน์ 4 หลักทิศ 6 หลักสังคหวัตถุ

-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ใช้หลักมิตรแท้ 4 หลักธรรมมีอุปการะมาก 2 ฯลฯ

หลักธรรมในพระพุทธศาสนาสามารถนำไปแก้ปัญหาได้ทั้งในระดับชาติ ระดับสังคม ถ้ามีความรู้และมีวิธีนำหลักธรรมนั้นมาปฏิบัติอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

สรุป

พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่ชาติไทย อย่างแท้จริง เพราะคนไทยมีความรู้และปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่มีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตของคนไทย เช่น การเกิด การสมรส และการตาย ล้วนต้องการที่พึ่งทางใจเสมอ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งพุทธปรัชญาและภูมิปัญญา คือ การคิดหาความรู้ หาเหตุผลของการเกิดและการดับแห่งเหตุนั้น มีหลักธรรมมากมายที่บ่งบอกถึงการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ทั้งในระดับครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

บทที่ 4

ความเป็นแหล่งหล่อหลอมเอกลักษณ์ของชาติ

พระพุทธศาสนาสอนให้คนมีเหตุผล บางครั้งอาจมีการเกินเหตุผลบ้างแต่ยังมีเมตตาธรรมกำกับอีกทอดหนึ่ง ต่อมามีความสันโดษแลรักสันติ มีการยอมรับเรื่องบุญกรรมจึงเป็นเรื่องธรรมดาของคนรักความสันติเมื่อเกิดปัญหากับตนเองมักไม่โต้แย้ง ความมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนี้เองจึงเป็นพลังหล่อหลอมให้คนไทยทั้งชาติรักกัน จนกระทั่งหล่อหลอมเป็นเอกลักษณ์ของชาติมีพฤติกรรมหลายอย่างที่บ่งบอกว่า พระพุทธศาสนาเป็นเหมือนพลังใจให้คนในชาติรักกัน สามัคคีกลมเกลียวกัน เช่น

นับถือเรื่องนรก-สวรรค์เป็นการสอนให้คนทำแต่สิ่งที่ดี ไม่ให้กระทำชั่ว ทำจิตให้ผ่องใส โดยมีสวรรค์เป็นที่สุดแห่งการทำความดี และมีนรกเป็นที่สุดแห่งการทำชั่ว เราจะเห็นภาพนรก สวรรค์ตามผนังวัด ผนังโบสถ์ วิหารอยู่ทั่ว ๆ ไปตามวัดในประเทศไทย

การรักสวยรักงาม เราจะมีคำคน คำภาษิตที่สอนเกี่ยวกับการรักสวยรักงามอยู่มากมาย เช่น ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง, ไม่มีกินไม่มีใครเอาไฟส่องท้อง ไม่มีทองหย้องพี่น้องดูแคลน, กาคาบพริก, กิ้งก่าได้ทอง เป็นต้น การรักสวยรักงามนั้น จะเห็นได้ที่ทุกคนมีศิลปะประจำตัว เช่น

ความมีศิลปะในการใช้ชีวิต แต่งตัวสวยงาม สีเสื้อผ้าอาภรณ์ผสมกลมกลืนกัน ทางภาคเหนือสามารถดูการฟ้อนเล็บจะพบศิลปะที่งดงามที่สุด

การสร้างที่อยู่อาศัย จะหาเครื่องตกแต่งบ้านให้ดูสง่า น่าชื่นชม

การเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน คนไทยตั้งแต่เล็กจะมีความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนเสมอ สังเกตการใช้คำพูด จะมีคำคล้องจองกันตลอด เช่น เก็บที่หลับพับที่นอน หรือเก็บที่นอนหมอนมุ้ง แล้วล้างหน้าล้างตา ใส่เสื้อใส่ผ้า กางกงกางเกง เป็นต้น อาจจะมีวิวัฒนาการมาจากสมันสุโขทัยก็เป็นได้ที่พูดเป็นค่าวเป็นเครือว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ค้าเงินค้าทองค้า” ยิ่งไปกว่านั้น คนไทยยังรู้จักประดิษฐ์เครื่องดลตรีหลายประเภท แต่ละประเภทสามารถบรรเลงได้ไพเราะไม้แพ้ชาติอื่นใดในโลก

นิยมคุณงามความดี คนไทยทั้งประเทศนิยมในคุณงามความดี งานบุญต่าง ๆ จะเห็นคนไทยทั้นลูกเด็กเล็กแดง วัยรุ่นและวัยสูงอายุจะไปรวมตัวกันทำบุญ หรือสร้างความดี ลูกผู้ชายอายุครบ 20 ปี จะบวชให้พ่อและแม่ได้ร่วมทำบุญ ญาติพี่น้องก็พลอยชื่นใจ ยิ่งทางภาคเหนือจะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างโบสถ์ วิหารและศาสนสถานต่าง ๆ ให้กับวัด เพื่อกระทำความดีนั่นเอง

นิยมพิธีกรรม คนไทยส่วนมากจะทำอะไรจะต้องมีพิธีรีตองเสมอ อย่างเช่น

การทำบุญ หรือการทำความดีนั้น นิยมชักชวนกันทำ เพื่อเกิดไปชาติหน้าจะได้พบกันอีก จึงนิยมชักชวนกันทำบุญ เมื่อมีคนจำนวนมาก จึงต้องมีพิธีกรรม มีขั้นตอนการทำบุญขึ้น เช่น การปลูกบ้าน ก่อน

จะเข้าอยู่อาศัยต้องทำบุญเพื่อเกิดสิริมงคลแก่ครอบครัวก่อน หรือ ในวัดที่เราร่วมกันก่อสร้าวศาสนสถานนั้น พอสร้างเสร็จเราต้องมีงานปอย หรืองานฉลองศาสนสถานเพื่อประกาศให้คนทั่วไปรู้ว่า หมู่บ้านเรามีใจศรัทธาสร้างโบสถ์วิหารเสร็จแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น งานบุญงานปอยนั้น อาจส่งเสียงดังไปถึงสวรรค์ชั้นฟ้า ให้พญาอินทร์ พญาพรหมได้ยิน จะได้ร่วมอนุโมทนา ให้ศีลให้พรมาสู่ชาวบ้านด้วย แต่การทำบุญในสังคมไทยจะแฝงไปด้วยการทำบุญเอาหน้า คือ งานเล็กน้อยแต่ตนมีเงินทองมาก จึงต้องทำบุญให้ใหญ่โต ทางภาคกลางพบบ่อยครั้งในงานบวชพระหรืองานแต่งงาน ต้องกู้หนี้ยืมสินมาทำบุญ บวชพระได้ 7 วัน ต้องสึกไปหางานทำหาเงินมาใช้หนี้ หรือแต่งงานยืมเงินแสนมาวางให้ชาวบ้านเห็นว่าเงินมาก พอแต่งเสร็จต้องเอาเงินไปคืน คู่บ่าวสาวต้องก้มหน้าทำงานหาเงินมาส่งดอก การทำบุญเช่นนี้ เรียกว่า ทำบุญได้บาป ไม่ใช่วิธีกรรมของพระพุทธศาสนา

การพึ่งพาอาศัยกัน เกิดจากความสามัคคีในทางพระพุทธศาสนาชาวบ้านจึงมาประยุกต์ใช้กับการงานหลายอย่าง เช่น การทำบุญบ้าน บ้านข้าทำบุญ ท่านก็มาช่วยแรง พอบ้านท่านทำบุญบ้าง ข้าก็ไปช่วยงาน เรียกว่า เอามื้อเอาแรงกัน โดยเฉพาะงานศพจะพบเห็นอย่างชัดเจนว่า บ้านนั้นมาช่วยเราเมื่อญาติเราเสีย พอ(ญาติบ้านนั้นเสีย แม้จะติดงานสำคัญก็ต้องพยายามมาให้ได้ อีกลักษณะหนึ่ง เช่น การเอาแรงกันในยามทำนา หรือชาวบ้านเรียกว่า ลงแขก คือ คนประมาร 10-20 คน จะแรกเปลี่ยนเอามื้อเอาแรงกัน เพราะการช่วยกันทำงาน ด้วยคนจำนวนมาก เพียงวันเดียวก็เสร็จ ฉะนั้น การรวมตัวช่วยเหลือกัน 20 คน 20 งาน เอาแรงกันวันละงาน 20 วันก็เสร็จ 20 งาน ดีกว่าทำคนเดียว 30 วันก็อาจจะไม่เสร็จ

สรุป

พระพุทธศาสนาสอนให้คนมีเหตุผล บางครั้งอาจมีเมตตาธรรมกำกับหรือมีความสันโดษแลรักสันติ มีการยอมรับเรื่องบุญกรรมทำให้ตนเองมักไม่โต้แย้ง ความมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนี้เองจึงเป็นพลังหล่อหลอมให้คนไทยทั้งชาติรักกัน จนกระทั่งหล่อหลอมเป็นเอกลักษณ์ของชาติด้วยพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น การเขื่อเรื่องนรกสวรรค์ การรักในศิลปะ การนิยมทำคุณงามความดีอย่างใหญ่โต การนิยมพิธีกรรมและการพึ่งพาอาศัยกัน เป็นความสามัคคีกลมเกลียวกัน เป็นต้น

บทที่ 5

ความเป็นสถาบันพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลก มีประการยอมรับนับถือมาดเช่นกัน เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่เข้าไปที่ใด พุทธศาสนิกชนจะรวมรวมกันเป็นกลุ่มก้อนเรียกว่า สมาคมบ้าง ชมรมบ้าง สถาบันบ้างตามแต่จะเห็นเหมาะสมซึ่งในแต่ละกลุ่มนั้นจะยึดพระพุทธเจ้าและคำสอนของศาสนาซึ่งอาจมีการคลาดเคลื่อนจากเดิมบ้างตามภูมิอากาศแต่ละกลุ่มจะต้องรู้และเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น

พระรัตนตรัย หมายถึง แก้วทั้ง 3 เป็นองค์ประกอบของแก้วประเสริฐ 3 ดวง ได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่เคารพในพระพุทธศาสนา

1) พระพุทธ หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงค้นพบสัจธรรมโดยการตรัสรู้เองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม ปัจจุบันจะมีพระพุทธรูปเป็นที่บูชาแทนพระองค์

2) พระธรรมหมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รวบรวมไว้ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ เรียกว่า พระไตรปิฎก ในแต่ละปิฎก มีพระธรรมขันธ์ ชื่อคัมภีร์ ดังนี้

1. พระสุตตันตปิฎก มี 21,000 พระธรรมขันธ์ และมีคัมภีร์สำคัญ 5 คัมภีร์ ได้แก่ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตรนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย

2. พระวินัยปิฎก มี 21,000 พระธรรมขันธ์ และมีคัมภีร์สำคัญ 5 คัมภีร์ คือ อาทิกรรม ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค ปริวาร

3. พระอภิธรรมปิฎก มี 42,000 พระธรรมขันธ์ และมีคัมภีร์สำคัญ 7 คัมภีร์ ได้แก่ สังคิณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน

  • พระสงฆ์หมายถึง หมู่สาวกที่ศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มี 2 อย่าง คือ

3.1 พระอริยสงฆ์ หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้บรรลุพระอรหันต์

3.2 พระสมมติสงฆ์ คือ พระสงฆ์ที่บวชในภายหลัง ที่สืบทอดพระพุทธศาสนาใน

ปัจจุบัน

พระสงฆ์ได้รับการเคารพบูชาจากพุทธศาสนิกชนแล้วพึงอนุเคราะห์ด้วยหลัก 5 ประการคือ

1) ห้ามมิให้ทำชั่ว

2) ให้ตั้งอยู่ในความดี

3) อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี คือ ส่งเสริมให้กุลบุตรมีน้ำใจโอบอ้อมอารี มีเมตตา

ต่อเพื่อนมนุษย์

4) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง

5) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง

พุทธศาสนิกชนพึงสงเคราะห์พระสงฆ์ด้วยหลัก 5 ประการ คือ

1) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา

2) จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา

3) จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา

4) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ

5) อุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัย

การสร้างความสงบสุขแก่ชาวโลกพระพุทธศาสนาได้มีคำสอนที่สร้างสันติสุขให้กับชาวโลกหลายประการ เช่น

  • สอนไม่ให้เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น โดยยีดหลักศีล 5 ไว้
  • สอนให้มีเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
  • สอนให้เป็นผู้เสียสละ เช่น จาคะ ทาน
  • สอนให้เป็นคนอดทนและไม่ยึดมั่นในตสเองมากเกินไป
  • สอนให้เป็นคนใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นบ้าง
  • สอนให้เอาขนะคนชั่วด้วยความดี

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีวันสำคัญที่ควรรู้และควรระลึกถึงหลายวัน เช่น วันธรรมสวนะหรือวันพระ ซึ่งมีเดือนละ 4 ครั้งแล้ว ยังมีวันพิเศษที่ควรรู้เป็นอย่างยิ่งอีก คือ

  • วันวิสาขบูชา ถือว่า เป็นวันสำคัญของชาวโลกด้วย วันวิสาขบูาเป็นวันสำคัญเพราะ
    • วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะที่สวนลุมพินีวันใต้ต้นรังในวันเพ็ญเดือน 6
    • วันตรัสรู้ ที่ใต้ต้นโพธิ์ อุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือน 6
    • วันนิพพานใต้ต้นรัง กรุงกุสินารา วันเพ็ญเดือน 6 ( เพ็ญเดือน 6 คือ เพ็ญเดือน 8 ภาคเหนือ)
  • วันมาฆบูชา ได้แก่วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันสำคัญเพราะ
    • เป็นว้นมาฆมาส วันสำคัญของพราหมณ์
    • เป็นวันที่พระอรหันต์ 1,250 รูปมาพบกันโดยมิได้นัดหมาย
    • พระอรหันต์ทั้งหมดบวชด้วยเอหิภิกขุจากพระพุทธเจ้า
    • เป็นวันที่ประทานพระโอวาทปาฏิโมกข์
  • วันอาสาฬหบูชา ได้แก่วันเพ็ญเดือน 8 ก่อนเข้าพรรษา 1 วัน มีความสำคัญเพราะ เป็น วันที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมจักกัปวัตนสูตร แสดงธรรมครั้งแรก มีสาวกได้ดวงตาเห็นธรรมองค์แรกคือ พระอัญญาโกญทัญญะจึงเกิดพระสงฆ์ในวันนี้ ซึ่งถือว่า เป็นวันที่ครบพระรัตนตรัย(ทั้ง 3 วันนี้ พุทธศาสนิกชนจะไปทำบุญที่วัดและเดินเวียนเทียนรอบศาสนสถานเพื่อรำลึกถึงพระพุทธคุณ คือ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระปัญญธิคุณ)
  • วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ หลังพุทธปรินิพพานได้ 7 วัน เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ที่มกุฏพันธเจดีย์ เมืองกุสินารา
  • วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ หลังวันอาสาฬหบูชา 1 วัน มีความสำคัญเพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา 3 เดือน เนื่องจากเป็นฤดูทำนา พระภิกษุเดินทางลำบาก บางครั้งไปเหยียบย่ำไร่นาชาวบ้านด้วย
  • วันแห่เทียนเข้าพรรษา ช่วงเวลาก่อนเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนถวายเทียนเพื่อให้พระภิกษุได้จุดถวายพระพุทธเจ้าหรือไว้จุดอ่านพระธรรมคัมภีร์ การแห่เทียนพรรษานี้
  • วันออกพรรษา(วันเทโวโรหนะ) ตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 หลังออกพรรษา 1 วัน สำคัญเพราะ เป็นวันพระเจ้าเปิดโลก เมื่อครั้งพรราาที่ 7 พระพุทธเจ้าไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์โปรดพระมารดา พอออกพรรษาจึงเสด็จลงทางเมืองสาเกต ตามบันไดแก้ว มีเทวดาและประชาชนมาต้อนรับเป็นอันมาก พระพุทธองค์จึงบันดาลให้โลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และบาดาล เปิดสว่าง ทำให้ญาติพี่น้องมองเห็นกันได้
  • วันทอดกฐิน มีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบแล้ว รับผ้าไตรจีวรซึ่งเรียกว่า ผ้าอานิสงส์กฐิน ตั้งแต่วันออกพรรษาไปถึงวันเพ็นเดือน 12 รวม 1 เดือน
  • วันลอยกระทง(ยี่เป็ง) ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ภาคกลางหรือเดือนยี่เป็งในภาคเหนือ เป็นวันสำคัญ….
  • วันเทศน์มหาชาติ(ตั้งธรรมหลวง) แต่ละภาคเลือกวันจัดตามความเหมาะสม แต่ละวัดอาจจัดทุกปีก็ได้ หรือเว้นบ้างก็ได้ เป็นวันสำคัญวันหนึ่งเพราะเชื่อกันว่า ใครได้ฟังเทศน์มหาชาติให้จบในวันเดียว จะไม่ตกนรก ชาติหน้าจะได้พบพระศรีอาริยเมตไตรย

มีประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่จังหวัดอุบลราชธานี

  • เพื่อระลึกถึงพุทธคุณ ตามตำนานว่า พญานาคตนหนึ่งได้ปลอมบวช แต่จับได้จึงต้องลาพระพุทธเจ้า แต่ก่อนลาขอให้พระพุทธองค์จำลองรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทานที ในวันเพ็ญเดือน 12 ทุกปีเหล่าพญานาคจะขึ้นมาบูชา มีดอกไม้ธูปเทียน บางตนก็ทำเป็นรูปกระทงลอยบูชา พุทธศาสนิกชนเห็นดังนั้นจึงบูชาตามบ้าง จึงเป็นประเพณีสืบมา
  • เพื่อระลึกถึงพระคุณของน้ำ(พระแม่คงคา) ที่ได้ใช้ดื่มกิน และขอขมาที่อาจเหยียบย่ำบ้าง เพื่อลอยเคราะห์ให้ไหลไปตามน้ำบ้าง ปัจจุบันปล่อยลอยขึ้นฟ้าด้วย
  • เพื่อรำลึกถึงประเพณีอันดีงามตั้งแต่สมัยสุโทัยที่ท้าวศรีจุฬาลักษณ์(นางนพมาศ)พระสนมเอกที่ประดิษฐ์กระทงสวยงามมาลอยหน้าพระที่นั่ง พระธรรมราชาลิไทย ทอดพระเนตรเห็นว่า ดีงาม จึงจัดให้เป็นประเพณีสืบมา

หลักศาสนพิธี

หมายถึง หลักการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การอาราธนาศีล การประเคนของให้พระ การเวียนเทียน เป็นต้น หลักศาสนพิธีแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.พิธีกรรมที่เป็นงานมงคลได้แก่งานทำบุญเกี่ยวกับการเป็นสิริมงคลชีวิต เช่น

-การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ถ้าเป็นศาสนสถานในวัด จะจัดเป็นงานปอย ลักษณะการทำงานจะมีดังนี้

  • วันเตรียมงาน (วันสุกดิบหรือวันดา) ต้องไปนิมนต์พระ 5 รูปบ้าง 9 รูปบ้าง บอกญาติมิตรมาช่วยงาน
  • วันงานจะประกอบพิธีกรรมไปตามขั้นตอน เช่น รับพระที่มาในงาน ทำพิธีถอน พิธีรับศีล ฟังพระเจริญพุทธมนต์ เจิมบ้าน ให้พรและกรวดน้ำ ถวายสังฆทาน(สังฆ์)
  • วันเก็บข้าวของ ส่วนมากจะทำให้เสร็จภายในวันนั้น

-งานมงคลสมรส (แต่งงาน) เริ่มตั้งแต่หาฤกษ์ หายาม กำหนดวันและเวลา

ให้คู่สมรสไหว้พระ รับศีล ฟังพระเจริญพุทธมนต์ รับพร ฟังสวดพระมงคลปริตร (ชะยันโต) ถวายสังฆทานและกรวดน้ำเป็นเสร็จพิธีพระ

-วันเกิดหรือวันคล้ายวันเกิด สมัยก่อนจะมีพิธีโกนจุกด้วย นิมนต์พระมารับบาตร ขอศีลขอพร งานวันเกิดนั้น แล้วแต่เจ้าภาพจะสะดวกและกำหนด

2. พิธีกรรมงานอวมงคลหมายถึง งานที่เกี่ยวกับการตาย เช่น

-งานศพ จะนิมนต์พระ 4 รูป มาสวดพระอภิธรรม อุทิศบุญกุศลให้ผู้ตาย เวลานำศพสู่สุสาน จะนิพน๖พระอ่านธรรมและช่วยชักจูงนำหน้าศพสู่สุสาน(ป่าเห้ว) ส่วนจิตกาธานชาวบ้านทั่วไปสร้างเป็นปราสาท คนใหญ่คนโตหรือคนมีฐานะดีจะสร้างเป็นปราสาททรงนกยูง ส่วนพระเถรานุเถระจะสร้างปราสาทเป็นนกหัสดีลิงค์

-การทำบุญ 7 วัน 50 วัน หรือ 100 วันจะนำกระดูกผู้ตายใส่โกศมาให้พระบังสุกุลอุทิศบุญกุศลไปให้ตามแต่กรณี

3. การเข้าร่วมพิธีกรรม ประชาชนที่ไปร่วมงาน โดยทั่วไปจะแต่งตัวสุภาพให้เหมาะกับงาน เช่นงานบุญทั่วไป แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย เวลาอยู่ในงานจะสงบเสียงพูดคุย ถ้าเป็นงานศพมักจะแต่งชุดดำล้วน หรือใส่เสื้อสีขาว ผ้านุ่งเป็นสีดำก็ได้ เวลาอยู่ในงานก็เช่นกัน คือ สงบปากคำ เพื่อให้เกียรติกับผู้ตาย

สรุป

ความเป็นสถาบันพระพุทธศาสนาเพราะเป็นศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลก เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่เข้าไปที่ใด พุทธศาสนิกชนจะรวมรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า สมาคมบ้าง สถาบันบ้าง เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งระลึกถึงวันสำคัญต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา เป็นต้นนอกจากนี้ ยังมีเรื่องศาสนพิธีในงานมงคลและอวมงคลอีกด้วย

บทที่ 6

ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของสังคมไทยและการจัดการศึกษา

ความเชื่อ หมายถึง ศรัทธาหรือการยอมรับนับถือหลักคำสอนบ้าง การปฏิบัติตนของพระพุทธเจ้าบ้าง ในพระพุทธศาสนาจะเน้นความเชื่อที่ปัญญา คือ ต้องพิจารณาหรือพิสูจน์ดูก่อนว่าดีหรือไม่ดี ก่อนที่จะยอมรับหรือเชื่อถือ ในพระพุทธศาสนาจะอ้างถึงหลักความเชื่อใน กาลามสูตร หรือ เกศ ปุตติยสูตร 10 ประการ ได้แก่

มา อนุสสเวน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา

มา ปรมปราย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือกันสิบๆ กันมา

มา อิติราย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ

มา ปิฏกสัมปเทน อย่าปลงใจเชื่อด้วยอ้างตำราหรือคัมภีร์

มา ตกก อย่าปลงใจเชื่อด้วยตรรก

มา นยเหตุ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอนุมาน

มา อาการปริวิตกเกน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามเหตุผล

มา ทิฏฐนิชฌานกขนติยา อย่าปลงใจเชื่อด้วยเข้ากับทฤษฎีที่พินิจไว้

มา ภพพรูปตาย อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยมองเห็นตามรูปลักษณะว่าน่าจะเป็น

มา สมโณ ครูติ อย่าปลงใจเชื่อด้วยว่าสมณะนี้เป็นครูเรา

“ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้น แล้วจึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น”

ในประเทศไทย มีความเชื่อในพระพุทธศาสนาอยู่ แต่มีการผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย จึงดูเหมือนลูกครึ่ง นักศึกษาต้องพยายามแยกแยะให้ออกว่า อะไร คือ แก่นแท้ของพระศาสนา และเลือกปฏิบัติให้เหมาะสม เช่น

1. ความเชื่อในพุทธคุณ พระเครื่อง

ความเชื่อในพระบริสุทธิคุณ พระกรุณาธิคุณและพระปัญญาธิคุณ เชื่อเพราะความดีที่ทรงกระทำโดยหวังผลต่อชาวโลก ต่อมากลายเป็นเชื่อในพุทธวิทยาคม เชื่อการปุกเสกเหรียญบ้าง ทำเป็นพระเครื่องบ้าง

2. เชื่อในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

พระพุทธองค์ไม่เน้นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ บางครั้งทรงใช้เพื่อให้เหมาะสมกับการปราบพยศหรือความเชื่อ เช่น

-เมื่อคราวโปรดชฎิล 3 พี่น้อง ที่ชอบบูชาไฟ

-เมื่อโปรดองคุลีมาล..สมณะ หยุดก่อน..ไล่ตามพระเจ้าที่ดำเนินไปตามปกติแต่องคุลีมาลวิ่งสุดกำลังและไม่ทัน พระองค์ตรัสว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด”..จนองคุลีมาลได้สติ

-เมื่อคราวเสด็จไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสด็จลงทางบันไดแก้ว เปิดโลกสวรรค์ มนุษย์และบาดาลให้เห็นกัน

-เมื่อเผชิญกับช้างนาฬาคิรีตกมัน ช้างกลับมาคุกเข่าเคารพ

-จากความเชื่อในพุทธคุณและปาฏิหาริย์ ทำให้วิวัฒนาการมาสู่พระเครื่อง เหรียญพระและวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นแล้วปลุกเสกเพื่อให้เกิดมนตร์ขลังในรูปแบบต่าง ๆ กัน พุทธศาสนิกชนควรใช้หลักกาลามสูตรพิจารณาในความเชื่อก็แล้วกัน

3. ความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ บุญและบาป การทำบุญได้ไปสวรรค์(สู่สุคติ) อยู่ในกามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4 ส่วนการทำชั่วจะตกนรก(ทุคติ) 8 ขุม แต่ละขุมน่ากลัวมาก(ดูในไตรภูมิพระร่วงหรือ เตภูมิกถา)

4. เชื่อเรื่องฟังเทศน์มหาชาติ คาถาพัน พระศรีอาริยเมตไตรย

การฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรครบ 13 กัณฑ์ในวันเดียว(มีคาถารวม 1000 คาถา) เชื่อว่า จะได้ไปเกิดในศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย เพราะเชื่อว่า พระพุทธศาสนาจะมีอายุเพียง 5000 ปี ต่อจากนั้น พระศรีอาริย์จะมาเกิด แล้วมนุษย์ในยุคนั้น จะเปี่ยมไปด้วยบุญกุศลเท่าเทียมกัน มีแต่ความสุขสบาย

5. ความเชื่อเรื่องกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

เชื่อเรื่องกรรม หมายถึงการกระทำ พระพุทธองค์ตรัสไว้เสมอว่า บุคคลหว่านพืชเช่นใด จะได้รับผลเช่นนั้น คนก็เช่นกัน ทำดีก็ได้ดี ทำชั่วก็ได้ชั่ว เพียงแต่ว่าได้ช้าหรือเร็วเท่านั้น

อีกตอนหนึ่งว่า บุคคลจะเป็นเพราะชาติกำเนิดก็หาไม่ เป็นพราหมณ์เพราะการประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้นจะบ่งบอกว่า เป็นอะไร

6. ความเชื่อเรื่องอดีตชาติ ตายแล้วเกิด

ความเชื่อในการระลึกชาติได้หรือเชื่อในเรื่องอตีตชาติ เช่น เรื่องชาดก หรือพระเจ้า 500 ชาติ เพราะในพระสุตตันตปิฎกเป็นเรื่องเล่าในอดีตชาติทั้งหมด ทำให้เกิดความเชื่อว่า ชาติหน้ามีจริง ต้องทำบุญ ใส่บาตรด้วยของที่ตนชอบ

7. ความเชื่อเรื่องบุญคุณ กตัญญู กตเวที

คนไทยมีความเชื่อว่า คนถ้ารู้คุณคน กระทำการทดแทนบุญคุณคนจะเป็นคนดี มีคนยกย่องสรรเสริญแม้แต่เทวดาก็พลอยสรรเสริญด้วย โดยเฉพาะบิดามารดาที่ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว พอท่านแก่เฒ่า ลูกเต้าต้องคอยดูแลท่านตอบแทนพระคุณ ลูกชายจะต้องบวชพระให้พ่อแม่ ลูกสาวต้องคอยดูแลท่านตลอดไป

8. การจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

เดิมวัดในพระพุทธศาสนาเป็นแหล่งการเรียนรู้ชองชายไทย ส่วนมากเด็กชายจะไปฝาดตัวอยู่ในวัดที่มีพระเถระที่มีความรู้และเก่งหรือมีฝีมือทางการช่างแขนงต่าง ๆ วัดจึงเป็นเหมือนที่พึ่งทางการให้การศึกษาของสังคมคนไทย วัดเป็นได้หลายอย่าง เช่น เป็นโรงเรียนให้ศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและด้านอักษรศาสตร์ / เป็นโรงพยาบาลให้คนป่วยได้พักรักษาตัว / เป็นโรงแรมให้ผู้ที่เดินทางไกลผ่านไป-มาได้พักค้างแรม / เป็นสนามกีฬาสำหรับเด็ก ๆ / เป็นสวนสนุก / เป็นสวนสมุนไพร / เป็นที่ประชุมหรือห้องประชุม / เป็นที่ทำงานบุญ+งานศพ

สมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เป็นผู้นำฝ่ายสงฆ์ได้ปรับปรุงการเรียนการสอนทางพระพุทธศาสนา จัดการเรียนเป็นหลักสูตรปริยัติธรรมฝ่ายนักธรรมและฝ่ายภาษาบาลี มีการเรียนและสอบความรู้ ดังนี้

1. ฝ่ายปริยัติธรรม

นักธรรมชั้นตรี เรียนวิชากระทู้, ธรรมวิภาค+คิหิปฏิบัติ, พุทธประวัติ+ศาสนพิธีและพระวินัย

นักธรรมชั้นโท เรียนวิชากระทู้, ธรรมวิภาค+คิหิปฏิบัติ, พุทธประวัติ+ศาสนพิธีและพระวินัย

นักธรรมชั้นเอก เรียนวิชากระทู้ ธรรมวิจารณ์ พุทธานุพุทธประวัติ และพระวินัยมุข

2. ฝ่ายบาลีผู้ที่สอบได้ตั้งแต่เปรียญธรรม 3 ประโยคขึ้นไป จะเรียกว่า มหาเปรียญ

เปรียญธรรม 3 ประโยค หรือ เปรียญตรี (แยกเป็น ป.ธ.1-2 เมื่อปี พ.ศ.2510)

เปรียญธรรม 4 – 5 - 6 ประโยค หรือ เปรียญโท

เปรียญธรรม 7-8-9 ประโยค หรือ เปรียญเอก

3. มหาวิทยาลัยสงฆ์ ปัจจุบัน นอกจากการเรียนทางธรรมของพระภิกษุสามเณรแล้ว ยังมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของพระภิกษุสามเณรอีกด้วย โดยเปิดเรียนทางธรรมและทางโลกคู่กันไป ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอก มี 2 แห่งในประเทศไทยคือ

3.1 มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร.) สำนักงานใหญ่อยู่ที่วัดบวรนิเวศ

3.2 มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงณ์ราชวิทยาลัย(มจร.) สำนักงานใหญ่อยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤฏษ์ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยนี้ ยังมีวิทยาเขตและศูนย์ศึกษาอีกหลายแห่งทั่วประเทศไทย ส่วนรายวิชานั้น มีทั้งคณะพุทธศาสนตร์, คณะมนุษยศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์

9.สรุป

ความเชื่อในพระพุทธศาสนา เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วนป้ญญา ไม่สอนให้เชื่อออย่างงมงาย เพราะก่อนจะเชื่อสิ่งใดควรพิสูจน์ให้รู้แจ้งเห็นจริงเสียก่อน ในประเทศไทยมีความเชื่อหลายเรื่อง ผู้ศึกษาต้องพิจารณาให้ดีก่อนเชื่อ เพราะอาจจะถูกหลอกลวงให้เสียทรัพย์หรือเสียความประพฤติได้

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. ประชุมหลักศิลาจารึก ภาค 1 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2500.

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สุวรรณภูมิ สังคมพระพุทธศาสนา ส.0110 สำนักพิมพ์อังษรเจริญ 2532,

กฤษณา วงษาสันต์. วิถีไทย. กรุงเทพมหานคร : เธิรดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น, 2542.

ขจร สุขพานิช,ดร. คำบรรยายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย.และประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ.1600-2310, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2509.

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,สำนักงาน. ภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท. 2532.

คึกฤทธิ์ ปราโมช,มรว. สังคมสมัยอยุธยา. คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2510.

จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา. พระเจดีย์เมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.

ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. พระประวัติและพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. ด้านศิลปวัฒนธรรม,2525.

ถนอม อานามวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างไทย เขมรและญวน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(ประวัติศาสตร์), 2514.

ทรัพย์ ประกอบสุข. วรรณคดีชาดก. โอเดียนสโตร์ จำกัด. กรุงเทพมหานคร.2527.

น.ณ ปากน้ำ(นามแฝง). พจนานุกรมศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมือโบราณ,2530.

นิธิ เอี่ยวศรีวงค์. กากรเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2529.

บุญคิด วัชรศาสตร์. คนเมือง..อู้คำเมือง. เชียงใหม่. ธาราทองการพิมพ์, 2538.

บุญยง เกศเทศ. วรรณกรรมประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต, 2520.

ประเสริฐ ณ นคร และ ปวงคำ ตุ้ยเขียว. ตำนานมูลศาสนาเชียงใหม่ เชียงตุง. กรุงเทพฯ : สมาคมประวัติศาสตร์, 2537.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมี บุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระพุทธศาสนาในเอเชีย ,ธรรมสภาจัดพิมพ์ 1 กุมภาพันธ์ 2540,

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ิตาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. วัดบวรนิเวศวิหาร

สภาการศึกษามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2536.

พระยาอนุมานราชธน. เรื่องของชนชาติไทย. กรุงเทพมหานคร : ประจักษ์วิทยา, 2513.

พิชิต อัคนิจ,รศ,ดร. วรรณกรรมไทยสมัยสุโขทัย-กรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2536.

พิริยะ ไกรฤกษ์. ประวัติศาสตร์ศิลป์ในประเทศไทย. ฉบับคู่มือนักศึกษา กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2538.

นายโผน นามณี

ผู้รวบรวม/บรรยาย

หมายเลขบันทึก: 616489เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2016 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2016 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท