กิจกรรมบำบัด กับคนที่เรารักๆ


ก่อนอื่น ต้องกล่าวความเป็นมาของกรอบการทำงานของนักกิจกรรมบำบัด ซึงบันทึกนี้ จะเขียนเกี่ยวกับ โมเดลสองตัว


ตัวแรกคือ MOHO : The Model of Human Occupation เป็นกรอบแนวคิดของนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งเกี่ยวกับ ความสุข ความสามารถของตัวผู้ป่วย หรือ

ผู้รับบริการ โดยมีแรงจูงใจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภายนอกและภายในของบุคคล หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นการหากิจกรรมทำ เพื่อเป็นการพัฒนา

ศักยภาพ หรือการสร้างความสุขของบุคคล


PEOP : Person Environment Occupation Performance ซึ่งประกอบไปด้วยสี่ส่วน ได้แก่

1.Person คือ ปัจจัยเชิงลึกในผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ รายละเอียดของร่างกาย ซึ่งแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป อาจจะมาจากความแตกต่างกันของ

ตัวผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ อาทิ เช่น สภาพแวดล้อมของผู้ป่วย


2.Environment ปัจจัยภายนอก / สิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ มีสองแบบ คือ ทางกายภาพ และทางสังคม

ซึ่งทางกายภาพนั้น อาทิ เช่น สิ่งก่อสร้างต่างๆ ถนนหนทาง บ้าน ทางสังคม อาทิ เช่น ศาสนา สถาบันต่างๆ เพื่อนบ้าน

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เอง เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของตัวผู้ป่วย หรือ ผู้รับบริการ ซึ่งแตกต่างกัน


3.Occupation คือ กิจกรรมการดำเนินชีวิต ประกอบไปด้วยสี่ส่วน คือ Avtivities Role Tasks และ Value

Activities กิจกรรมต่างๆ รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันด้วยก็ได้ เช่น การกวาดบ้าน การถูบ้าน การตากผ้า การล้างจาน การจัดดอกไม้

Role จับประเด็นว่า กิจกรรมนั้นๆ ส่งผลต่อผู้ป่วย หรือผู้รับบริการอย่างไรบ้าง เน้นบทบาทของผู้รับบริการ

Tasks เป็นการศึกษารายละเอียด ขั้นตอนการทำกิจกรรมของกิจกรรมนั้นๆ โดยเรียงตามลำดับ จากความง่าย ปานกลาง และยาก

Value เป็นการหาคุณค่าของกิจกรรมนั้นๆที่เราทำ ว่ากิจกรรมนั้น ทำให้เกิดคุณค่ามาก น้อยเพียงใด ทำให้เกิดคุณค่าอย่างไรบ้าง


4.Performance เป็นการแสดงออกของผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ เมื่อได้ผ่านสามข้อด้านบนมาแล้ว


ซึ่ง เราสามารถสรุปได้ว่า กรอบความคิดนี้ จะแสดงถึงการเห็นประโยชน์ของตัวผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ มากที่สุด ซึ่งกิจกรรมที่ทำ อาจจะเป็นกิจกรรมที่

เห็นได้ง่ายๆทุกวัน ทำได้ง่ายๆทุกวัน


มาถึงในส่วนที่เป็นหัวข้อสำคัญ คือ กิจกรรมบำบัดกับคนที่เรารัก โดยให้สอดคล้องกับกรอบความคิดทั้งสองแบบ โดยปะกอบไปด้วยสามสิ่ง คือ

1.กิจกรรมอะไรที่เราอยากจะทำ

2.ทำกิจกรรมนั้น ทำไม

3. ทำกิจกรรมนั้น อย่างไร

สำหรับดิฉัน เลือกที่จะทำกิจกรรมนี้กับคุณแม่ และก็คงจะเป็นการนอนในที่ที่มีบรรยากาศดีๆ คุยกัน เล่าถึงเรื่องราวในอดีต เราไปไหนมาบ้าง

เราทำอะไรกันมาบ้าง เราได้ผ่านเรื่องราวอะไรด้วยกันมาบ้าง เพราะดิฉันกับคุณแม่ สนิทกันมากๆ มีอะไรคุยได้ทุกเรื่อง จนบางที ดิฉันก็เผลอลืมไปบ้าง

ว่าดิฉันเคยทำะไรตอนเด็กๆ เราเคยคุยเรื่องอะไรกันมาบ้าง และเมื่อได้นอนคุย เกิดประเด็นขึ้นมา คุณแม่ของฉันก็จะเล่าเรื่องในอดีต ที่ท่านมีความสุข

ท่านก็จะนึกถึงคุณตา คุณยายของดิฉัน แล้วก็เล่าไม่ยอมหยุด คุณแม่เล่าด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ดูมีความสุขมากๆกับการเล่าเรื่องราวในสมัย

เมื่อตอนดิฉันยังเด็ก ในช่วงแรก ดิฉันไม่เข้าใจว่า แค่เราคิดกิจกรรม กิจกรรมหนึ่งขึนมา แล้วใช้มันกับคนอื่น จะทำให้คนคนนั้นเกิดความสุขได้อย่างไร

แต่เมื่อดิฉันได้ลองทำแล้ว ดิฉันจึงรู้ได้ว่า แค่การที่เราคิด กิจกรรมหนึ่งขึ้นมา มันก็สร้างความสุขให้คนอื่นได้เหมือนกันนะ แล้วเมื่อดิฉันเห็นคุณแม่ยิ้ม

เห็นคุณแม่นอนเล่าเรื่องแบบมีความสุข ดิฉันก็รู้สึกว่า ตัวฉันเองก็มีคุณค่านะ ฉันสร้างความสุข ฉันสร้างรอยยิ้มให้มาม๊าได้แล้วนะ แค่การเล่าเรื่องราวแค่นี้

สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้จริงๆหรอ และดิฉันก็อยากจะสร้างความสุขให้กับคนอื่นๆ อยากสร้างความสุขให้แก่ผู้ป่วย อยากสร้างความสุขให้แก่

ผู้รับบริการ อยากเห็นรอยยิ้ม รอยยิ้มที่เกิดจากกิจกรรมที่เราสร้าง และดิฉันก็คิดว่า นี่แหละคือกิจกรรมบำบัด กับคนที่ฉันรัก

หมายเลขบันทึก: 616046เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2016 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2016 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท