การควบคุมบริบทและการบริหารบริบท
การทดสอบเพื่อพิสูจน์เทคโนโลยีเก่ากับเทคโนโลยีใหม่ ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า แต่ละวิธีปฏิบัติแบบเดิม กับแบบใหม่ มีบริบทกระทบอะไรที่แตกต่างกันหรือไม่ หากบริบทแวดล้อมควบคุมได้นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะการทดสอบแบบวิทยาศาสตร์นั้นเราควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ แต่เมื่อเราจะนำเทคโนโลยีแบบใหม่ๆที่ถูก ออกแบบใหม่บนพื้นฐาน ใหม่ บริบทแวดล้อมย่อมไม่เหมือนกัน…..
หากบริบทแวดล้อมควบคุมได้นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะการทดสอบแบบวิทยาศาสตร์นั้นเราควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ ผลจึงเป็นไปในแนวเดียวกัน สรุปได้เป็นเหตุเป็นผลได้ง่ายคือชัดเจน
แต่เมื่อเราจะนำเทคโนโลยีแบบใหม่ๆที่ถูกออกแบบใหม่บนพื้นฐานอีกแบบหนึ่ง ดังนั้นบริบทแวดล้อม หรือสิ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบ ที่ทำให้เกิดค่าความผิดพลาดจากผลที่ได้ จึงย่อมไม่เหมือนกัน จึงไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกันได้นั่นเอง
อิงกลุ่มอิงเกณฑ์ การตัดค่าที่ออกนอกลู่นอกทางออก ตัดตัวแปรที่ควบคุมได้ยากออก การเลือกรับค่าที่อยู่ในช่วงที่ถูกตั้งไว้ หรือ Selectivity
การตัดค่าที่ out ออกจากเกณฑ์ไปมาก ก่อนนำข้อมูลมาใช้ เป็นประเด็นในเรื่องนี้ครับ ในเมื่อระบบเทคโนโลยี แบบดิจิตอล การส่งข้อมูลหลายบิต รวมหลายบิตเป็นสล้อตข้อมูลนั้น มีระบบป้องกัน(Check Error ทีละ Package)การนำค่าที่ เกิดจากการวัดและประมวลที่ผิดพลาด หรือ ออกนอกช่วงที่ตั้งไว้ ช่วงเตือนalarm point ทั้งด้านสูงด้านต่ำ คือไม่นำมาคิดคำนวณ หรือการอิงเกณฑ์ตามทฤษฎีวิชาสถิติ แทนการอิงกลุ่ม เพราะหากอิงกลุ่ม ค่าที่เกิดจากความผิดพลาดนั้นจะถูกมา ประมวลผลร่วม ทำให้ผลที่ได้ เบี่ยงเบนออกจากเกณฑ์ไปมาก
(การใช้วิธีอิงกลุ่ม ใช้กรณีหาก เราทบทวนเกณฑ์ หรือ ค่ามาตรฐาน ใดๆที่เราคาดการณ์ และกำหนดไว้นั้น เห็นว่าไม่เหมาะสม หรือ เหมาะสมในกลุ่มๆนี้ แต่ไม่เหมาะกับอีกกลุ่มเป้าหมาย เหมือนครูออกข้อสอบฟิสิกข์แล้วตกทั้งชั้น จึงต้องไม่ละเลยที่จะ ทบทวนปัญหาของระบบการเรียนการสอนย้อนดูสาเหตุอีกทาง และอาจพบว่า ต้องปรับเกณฑ์ให้ลดลง โดยอิงกลุ่ม เพราะเหตุที่ พื้นฐานส่วนใหญ่ ขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องฉรง เรื่องโมเมนต์ เพราะอาจเน้นความจำมากกว่าเข้าใจในวิชาก่อนที่เป็นพื้นฐานที่เรียนผ่านมาแล้ว กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จึงทำคะแนนวิชาฟิสิกข์ได้ไม่ดีเกือบจะทั้งหมด)
การอิงเกณฑ์จึงเหมาะที่จะควบคุม ผลจากเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นครับ
ระบบการคมนาคมขนส่งสัญญาณที่ประกอบด้วยข้อมูล(โทรคมนาคม)แบบดิจิตอล
ระบบวิศวกรรมโทรคมนาคมและระบบวิศวกรรมดาวเทียม ก็เช่นกัน ระบบการตรวจสอบเพกเก็จที่ผิด และระบบได้ส่งสัญญาณขอให้ทางอุปกรณ์ส่ง ทำการเพกเกจใหม่โดยอัตโนมัติ ต่อมาเมื่อได้รับใหม่แล้วก็จะตรวจสอบความถูกต้อง โดยเปรียบเทียบกันสองแพกเกจ ว่าตรงกันถึงจะยอมรับ(Select)ว่าถูก และนำค่าที่ถูกไปประมวลผลต่อๆไป เสมือน ตอนที่เราเข้าระบบงานคอมพิวเตอร์ แล้วเรากรอกรหัสผ่านผิด การตั้งใหม่ ระบบจะให้เราต้องกรอกรหัสผ่านใหม่ อีกสองครั้ง เพื่อระบบจะได้ทำการเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่า ข้อมูลรหัสที่ส่งมาใหม่นั้น ถูกตรงตามความต้องการของผู้ขอรหัสใหม่นั้น จริงๆ การคอนเฟิร์มยืนยันความถูกต้องของข้อมูลสองครั้ง นั้นทำให้เกิด ความแม่นยำ (Accuracy) และ เกิดความน่าเชื่อถือ (Re-liabilities)ของข้อมูล และ เป็นระบบที่ก่อให้เกิด การประกันคุณภาพของข้อมูล (Quantities Assurance)ที่ดีขึ้นได้นั่นเอง
(หรือ การตอบรับโดยใช้รูปแบบประโยคที่กำหนดชัด หรือ two-way communication ในด้าน Phasological ของนักบิน ATC พนักงานวิทยุ และจนท.ผู้ใช้วิทยุสื่อสาร และพนักงานวิทยุสมัครเล่น)
Selectivity บริบทของการทดสอบเปรียบเทียบ
......
ระบบกล้องส่อง Theodolite
ตัวแปร error : การอ่านผิด
การแก้ไข error : ใช้การตัดค่าที่เบี่ยงเบนมากเกิน และตัด ค่าอื่นๆที่ถูกรายงานว่า ขณะตรวจวัดนั้นวัดพลาดทันที ณ เวลานั้น
ข้อกำกัด : ระยะการมองเห็น
.....
ระบบ GPS Tracking
ตัวแปร error : No error
การแก้ไข error : มีระบบเลือกรับ เฉพาะค่าที่ถูก Selectivity ตัดทิ้งและขอให้ส่งซ้ำใหม่
ข้อกำกัด : Attended โดยเม็ดฝนในท้องฟ้า , ปรากฎการณ์ Sun Outage
......
จะเห็นว่า ตัวแปรทีทำให้ error คนละบริบท
กล่าวคือในการวัดค่ามุมต่างๆด้วยกล้อง ความละเอียดจะไม่สูง และความผิพลาดจากการตัดข้อมูล ที่ อาจจะไม่ทันสังเกตุว่าวัดผิด ได้ค่อนข้างมีโอกาสเกิดได้มาก
ส่วนด้าน GPS นั้นความละเอียดจะสูง และหากสัญญาณถูกทำให้ลดความแรงลง เพราะคลื่นไปสะท้อนกับขนาดของเม็ดฝนและหักเหไป สัญญาณนั้นก็จะถูกตัดทิ้งไป และส่งใหม่ หากไม่ถูกก็จะไม่นำไปประมวลผล ทำให้ค่าที่ได้น่าเชื่อถือมากกว่า
เปรียบกับ เครื่องรับโทรทัศน์สมัยเดิมที่ส่งแบบอนาล็อค หากสัญญาณถูกรบกวนก็ยังดูภาพ ฟังเสียงได้ อาจจะมีการพร่ามัว เหมือนมีหิมะตกบนจอภาพ หรือทางช่างเรียก snow หรือเสียงพอฟังได้ซู่ๆ่าๆหน่อย แต่พอฟังออก แต่ในทางดิจิตอล หากข้อมูลภาพกับเสียงละเอียดชัดจริง แต่การเลือกเฉพาะสัญญาณที่คุณภาพดี selectivity ในระบบดิจิตอลนั้นจะทำให้ภาพหายไปได้ ไม่เวิร์กสำหรับข้อมูลภาพ แต่ดีสำหรับข้อมูลเชิง Data ซึ่งนอกจากจะได้ข้อมูลที่บิตมากกว่า ละเอียดมากกว่า เพราะบีบอัดข้อมูลได้มาก ละเอียดในการนำค่าในการไปคำนวณ และความเสี่ยงของโอกาสการนำสัญญาณที่ผิดพลาดไปประมวลร่วม ทำให้ผลลัพธ์เบี่บงเบนไปก็ไม่เสี่ยงอีกด้วย ซึ่งเรื่องการเลือกรับ แต่ข้อมูลคุณภาพนี้เอง เป็นหลักที่จะต้องพิจารณา นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ เพราะ ความน่าเชื่อถือจะสูงกว่ามาก เพราะหลีกเลี่ยง ข้อมูลที่ผิด เลี่ยงความเสี่ยง ถือเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ต้องตัดออก
ในด้านการบิน จะถูกกำหนดเรื่อง คุณภาพของข้อมูล ต่างๆที่ใช้ประกาศเป็นข้อมูลสาธารณะ ในด้านข้อมูลที่จำเป็นในด้านต่างๆของสนามบิน (Airport Information) และในเอกสารแถลงข่าวการบิน หรือ AIP (Aeronautical Information Publication) โดยข้อมูลข่าวสารที่จะออกประกาศนั้น ให้เป็นไปในเอกสารขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO (International Civil of Aviation Organization) ที่ได้ Sharing Best Practice ไว้ในภาคผนวก หรือ ANNEX 15 เรื่อง Data Quality ที่ข้อมูลที่ได้มา จะต้องมีคุณภาพและลักษณะคุณสมบัติ ต่างๆได้แก่
ข้อมูลจะต้อง มีความเที่ยงตรง(Integrity) ถูกต้อง
ทันสมัยเป็นปัจจุบันตรงหน้างานสนามจริง(Timeliness)
มีที่มาเชื่อถือได้(Validities)
มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง มีระบบควบคุมคุณภาพ(Document Control & Quality Control)
ทุกหน่วยเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึง ค้นหาข้อมูลได้ง่าย(Accessibility)
.....เช่น กรณี Aeronautical Information Management การบริการข้อมูลการบินจะต้องถูกออกแบบให้นักบินและนักบินผู้ช่วยสามารถเข้าถึงข้อมูล
เพื่อเตรียมการณ์ จัดการ รวบรวม ประมวล (Resource Management) ก่อนที่จะถึงเวลาที่นักบินจะต้องใช้ และเมื่อถึงเลาที่ต้องใช้ ก็พร้อมดำเนินการ
แนะนำ(Advise)Information ให้แก่นักบินในขณะปฏิบัติการบินได้ทันการณ์ทั้งในภาวะปกติและกรณีฉุกเฉินนั้น ทั้งนักบินและนักบินผู้ช่วยตลอดจน
วิศวกรการบิน ที่กำหนดให้ปฏิบัติหน้าที่ในทุกเที่ยวบินระหว่างประเทศ ประจำอากาศยาน (Flight Engineer) จะสามารถนำข้อมูลที่มีคุณภาพนั้น
มาใช้ประโยชน์ คือปฏิบัติการต่างๆได้ถูกต้องตามสถาณการณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดด้วยข้อมูลต่างๆที่มีคุณภาพที่สุดด้วยเช่นกันครับ
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/602025
..................
ว่าที่ร้อยตรีโสตถิทัศน์ เอี่ยมลำเนา
ข้าราชการบำนาญ กรมท่าอากาศยาน
พนักงาน กองตรวจสอบความปลอดภัยสนามบิน
ฝ่ายมาตรฐานสนามบิน สำนักงานการบินพลเรือน
เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2559
(วันพระพุทธเจ้าเปิด3โลกตั้งแต่ 24.00 น./25/09/59 - 24.00 น./26/09/59)
ไม่มีความเห็น