โครงการโรงเรียนขาดแคลนในเขตพื้นที่การศึกษา 4 จังหวัดภาคใต้:โรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนาและโรงเรียนบ้านเกาะยาว จังหวัดสตูล (3)


โครงการโรงเรียนขาดแคลนในเขตพื้นที่การศึกษา 4 จังหวัดภาคใต้:โรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนาและโรงเรียนบ้านเกาะยาว จังหวัดสตูล

ตอนนี้ทำงานที่ศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน 2559 ผู้เขียนเดินทางไปช่วยโครงการโรงเรียนขาดแคลนในเขตพื้นที่การศึกษา 4 จังหวัดภาคใต้ โดยเดินทางไปนิเทศโรงเรียนและรับทราบปัญหาของโรงเรียนที่โรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนาและโรงเรียนบ้านเกาะยาว จังหวัดสตูล ทั้ง 2 โรงเรียนเป็นโรงเรียนอยู่ในพื้นที่เกาะที่ต้องนั่งเรือไป ครั้งนี้มีอาจารย์ นวลทิพย์ มหามงคล อาจารย์ดร.อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว น้องจุฑารัตน์ สุขทองเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการและท่านอาจารย์พเยาว์ อินทสุวรรณ ประธานโครงการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนในพระราชดำริและโรงเรียนขาดแคลนในเขตพื้นที่การศึกษา 4 จังหวัดภาคใต้ มีบันทึกก่อนหน้านี้อยู่ที่นี่ ตอนนั่งรถมาจากมหาวิทยาลัยทักษิณ มีฝนตกตลอดทาง



แถมอากาศมืดคลึ้ม เมื่อมาถึงท่าเรือปรากฏว่าโชคดีมาก ไม่มีฝนเลย มีคุณครูในพื้นที่จากโรงเรียนมารับเสื้อโครงการฯที่ท่าเรือด้วย คุณครูแต่ละที่อยู่ไกลกันเพราะเป็นพื้นที่เกาะ


ตอนอยู่ที่ท่าเรือก่อนลงเรือพบปลาตีนและปูที่ฝั่งด้วย แสดงว่าธรรมชาติยังสมบูรณ์ดี มีปูและปลาตีนจำนวนมาก ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าปลาตีนมีลายจุดด้วยนะครับ เป็นจุดสีฟ้าเล็กๆ อาจารย์ดร.อภิรัน์ดา บอกว่าเหมือนลายตุ๊กแก เลย 555




ครูศิลปะฯ มารอเรือข้ามฟากเหมือนกัน

มีเรือชาวประมงขนาดเล็ก กำลังเตรียมเรือหาปลา หรือกำลังซ่อมอุปกรณ์หาปลาอยู่ไม่ทราบเนื่องจากภาพไกลมาก ผู้เขียนใช้กล้องซูมไป




ตอนออกเกาะทะเลสงบดีมาก ไม่มีคลื่นเลย เรียกว่า คลื่นสงบ คนสงบ เรือที่ไปเป็นเรือขนาดเล็ก แต่ใหญ่กว่าเรือที่ไปโรงเรียนตันหยงอุมาฯมาก เมื่อมาถึงเกาะก็ต่อด้วยรถซาเล้ง ครั้งนี้ได้ภาพรถซาเล้งมาด้วย รถนี้นั่งได้หลายคนมาก ดูแล้วตอนขับน่าจะยากตอนเลี้ยวเนื่องจากต้องมีวงเลี้ยวด้วย



โรงเรียนอยู่บนเกาะ มองเห็นธงชาติแต่ไกล โรงเรียนมีตึกหลายหลัง หลังแรกเป็นตึกของห้องสมุดข้างๆกันเป็นตึกของชั้นอนุบาล ชั้นอนุบาลนักเรียนน่ารักดี เสียงเจื้อยแจ้วเลย...


ห้องสมุดถือว่ามีความพร้อมมาก มีอุปกรณ์ทุกอย่างครบเลย ได้ครูธุรการคนใหม่มาด้วย อาคารมัธยมศึกษาจะอยู่ข้างบน มีอาคารเดียวสองชั้น บรรยากาศน่าเรียนมาก



ชอบใจพระราชดำรัสฯนี้ครับ



ผู้เขียนตามไปดูคุณครูฮาเร๊ะ โตะดินสอนเรื่องการเขียนจดหมายแก่นักเรียน แต่คุณครูสอนโดยการบรรยาย ผู้เขียนให้ครูสอนให้จบก่อนแล้วลองเริ่มกิจกรรมการสอน


ในระหว่างที่คุณครูฮาเร๊ะ โตะดิน สอนผู้เขียนใช้โครงสร้างประโยคของหนังสือนักเรียนที่นักเรียนเรียน เขียนใส่กระดาษแบ่งเป็นสองชุด ชุดหนึ่งมีประมาณ 10 ประโยค ผู้เขียนแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 ทีม ให้นักเรียนยกเพื่อนไปนำประโยคนั้นมาแข่งกัน โดยให้ช่วยกันเรียงประโยคที่เรียนว่า ประโยคไหนควรขึ้นก่อนเป็นคำขึ้นจดหมาย ประโยคไหนเป็นคำทักทาย ประโยคไหนเป็นส่วนกลางจดหมาย ประโยคไหนเป็นส่วนลงท้ายจดหมาย เป็นต้น





การให้นักเรียนทำงานเป็นทีม (Team work) นักเรียนจะได้ช่วยกันทำงานมีการระดมความคิดสามารถทำงานเป็นกลุ่ม(Group work)ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะชีวิต(life skills) ที่นักเรียนจะได้พบในสังคม




หลังจากนั้นท่านอาจารย์พเยาว์ อินทสุวรรณ ก็ประชุมคุณครูแจ้งเรื่องการประชุมและให้สะท้อนผลการนิเทศ ผู้เขียนให้คุณครูพูดก่อนแล้วค่อยเติมประเด็นที่ขาดหายไป ปีนี้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเพิ่มขึ้นเกือบทุกวิชา ยกเว้นกลุ่มสาระสังคม ท่านอาจารย์พเยาว์ มอบของจากมหาวิทยาลัยให้แก่โรงเรียนด้วย ทีมของมหาวิทยาลัยรับทราบปัญหาของโรงเรียน


ตอนกลางวันกินข้าวกลางวันที่โรงเรียนในภาพเป็นอาหารของคุณครู คุณครูผู้ชายกินเก่งมาก ในภาพถ้าเป็นผู้เขียนกินได้สองมื้อเลย 555 แต่ชอบใจน้ำพริกและผักอร่อยมาก มีผักกูดให้กินด้วย เข้าใจว่ากรรมการโรงเรียนเอามาฝาก


ตอนหลังเที่ยงเดินทางไปต่อที่โรงเรียนเกาะยาว แต่คนขับเรือเข้าใจผิดคิดว่าขึ้นฝั่ง แต่อาจารย์พเยาว์จำได้เลยต้องเปลี่ยนเส้นทาง ตอนแรกคลื่นลมสงบดี แต่ว่าช่วงที่ผ่านร่องน้ำ คลื่นแรงมาก



เรือเอียงไปเอียงมาเหมือนเล่นไวกิ้งในสวนสนุก แต่อาจารย์ทุกๆท่านนั่งกันเงียบมาก ได้ความรู้ว่า ตอนที่อาจารย์นั่งกันเงียบๆอาจารย์ดร.อภิรัตน์ดา บอกว่านั่งสวดมนต์อยู่ 555 ตอนเรือเอียงไปเอียงมาไม่เป็นไร แต่พอมาถึงฝั่ง โอ้โหมึนมาก



มีเกาะยาวบังคลื่นลมสงบดีมาก ตอนขึ้นฝั่งชาวบ้านถามว่าไม่โดนคลื่นหรือ ไม่อยากบอกว่าโดนเต็มๆเนื่องจากเป้นร่องน้ำลึก แถมมีคลื่นเรือใหญ่ด้วย ต้องชมคนขับเรือพาผ่านคลื่นมาได้อย่างไรไม่ทราบ



หน้าโรงเรียนเกาะยาวมีแพะมาคอยรับ เอ้ยไม่ใช่ โรงเรียนมีรั้วสูง ทำให้แพะเข้าโรงเรียนไม่ได้ ถือเป้นข้อดี ที่นี่มีต้นโพธิ์ทะเลที่สมเด็จฯพระเทพฯท่านทรงปลูกไว้ด้วย


ท่านผู้อำนวยการเพิ่งย้ายมา ที่แปลกคือท่านเป็นตำรวจตะเวณชายแดนเก่า ผู้เขียนแยกไปดูคุณครูสอนภาษาไทยแทนครูที่ไม่อยู่ ครูภาษาไทยไปประชุม แต่ครูภาษาอังกฤษชื่อคุณครู นิสา แหละหีมสอนภาษาไทยเรื่องคำควบกล้ำแท้และไม่แท้



ผู้เขียนพบว่า นักเรียนเขียนยังไม่ได้ บางคนซึ่่งผู้เขียนได้ลองให้นักเรียนเล่นเกมแยกประเภทว่าคำไหนเป็นคำควบกล้ำแท้และควบกล้ำไม่แท้ โดยวิ่งไปตามฝั่งที่ออกเสียงถ้าควบกล้ำแท้ไปทางขาว ควบกล้ำไม่แท้ไปทางซ้าย



ผู้เขียนได้ให้ฝึกเขียนด้วย มีนักเรียนชื่อนูรน ตัวเล็กเขียนได้คนเดียวแต่ว่า นักเรียนอีกสองคนคือนอรียะและอนุรุทเขียนไม่ค่อยถูกต้อง นักเรียนมีแค่ 3 คน น่าจะเขียนได้ ทั้งหมด ท่านอาจารย์พเยาว์ดูการเรียนการสอนของครูมลายู พบว่าคุณครูสอนได้ดี




ภาพรวมกิจกรรมครับ

ตอนสุดท้ายท่านอาจารย์พเยาว์ อินทสุวรรณ มอบหนังสือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์แก่โรงเรียน รับทราบปัญหาของโรงเรียนแจ้งว่าเดือนตุลาคมมีอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อทำสื่อการเรียนการสอนและจะอบรมครูภาษาอังกฤษ ครูวิทยาศาสตร์ และติว ONET ในวันที่ 16-17 เดือนธันวาคม 2559 หลังจากนั้นพวกเราก็เดินทางกลับ แปลกใจมาก ตอนเดินทางกลับคลื่นลมสงบ ดีจังเลย ไปครั้งนี้ถึงที่พักเย็นเกือบ 2 ทุ่มเนื่องจากการเดินทาง ขอบคุณมากครับที่เข้ามาอ่าน



ความเห็น (8)

เห็นบรรยากาศและกิจกรรมที่น่าสนใจมากค่ะ...เป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ

ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

คลื่นลมแรงมากเลยครับ

แต่ผ่านไปได้ด้วยดี

กลับมาฝั่งแล้วครับพี่ใหญ่

เหตุการณ์ระเบิด ยังมีอยู่ไหม คะ ขอให้สุขภาพดีดีๆๆๆ นะเจ้าคะ.

ที่ผมอยู่ไม่มีครับคุณยาย

ผมอยู่สงขลา

ไม่น่ากลัวครับ

ขวัญเอ๊ยขวัญมา !!!! คุณครูต้องดีใจที่ทีมอาจารย์ไปเยี่ยมนะคะ

ชอบลายปลาตีนค่ะ สวยเหมือนตุ๊กแกที่บ้านไม้ชายทุ่งเลย ๕ ๕ ๕ ^_,^

ขอบคุณคุณหมอธิ ขวัญไม่ได้หาย แต่คิดว่าถ้าเรือล่มจริงๆ

ผมจะช่วยอาจารย์ท่านอื่นได้ไหม

เพราะคลื่นแรงมากๆๆ

จริงด้วยครับ ปลาตีนลายเหมือนต๊กแก

มีเรือชาวประมงขนาดเล็ก กำลังเตรียมเรือหาปลา หรือกำลังซ่อมอุปกรณ์หาปลาอยู่ไม่ทราบเนื่องจากภาพไกลมาก ผู้เขียนใช้กล้องซูมไป....

.....

เป็นกระบวนการสังเกตชีวิต และถอดรหัส ตีความรหัสชีวิตที่ดีงาม นี่คือคุณสมบัติอันสำคัญของการเป็นนักเรียนรู้ นักออกแบบการเรียนรู้

ชื่นชม ครับ

เป็นนักเรียนรู้แบบฝึกหัดครับ

ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท