LT Day 2


วันนี้เรียนเรื่อง Educational Theory หรือว่าด้วยทฤษฎีทางการศึกษา เรียนง่ายๆ ใช้เวลาเรียน 3 ชม.กับ 4 ทฤษฎีหลักๆ คือ

-Behaviourism

-Cognitivism

-Constructivism

-Social learning

ถ้าจะให้พิจารณาตามในรายละเอียดจะพบว่ากระบวนการพัฒนาของทฤษฎีการเรียนรู้คล้ายกับขั้นตอนในกระบวนการพัฒนาของจิตหรือ Mind development ในแง่ของการพัฒนาจากภายในตน ไปสู่การเรียนรู้และยอมรับความรู้จากผู้อื่นและสังคมนั่นเอง

- Behaviourism นั่นว่าด้วยการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม ซึ่งจะกล่าวง่ายๆคือ การเรียนรู้ผ่านกระบวนการ reward and punishment หรือการทดลองของ Pavlov เป็นขั้นตอนหรือทฤษฎีนี้เน้นที่การเติบโตภายในตนในระดับล่างๆ คือ รู้ถูก/ผิด ผ่านกระบวนการทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ และได้ขยายรวมไปถึงการหายไปของพฤติกรรม(Extinction) ที่ไม่ได้รับการตอบสนองด้วย สิ่งที่ได้รับการทิ้งท้ายไว้ใน ชั่วโมงก็คือ มนุษย์ มีการเรียนรู้มากกว่านั้น อย่ามองแค่ผิด/ถูก การทำ reflection ของกิจกรรมแต่ละอย่างจะช่วยกระตุ้น Higher mental processes ด้วย ทำให้เกิดการเรียนรู้เปลี่ยนไปจาก surface เป็น deep learners เช่น กิจกรรมหลายอย่างในห้องเรียนที่ไม่เหมาะสม ไม่เคารพ หรือจากทำให้เกิดอันตราย ถ้านักเรียนที่ทำพฤติกรรมดังล่าว ถูกทำโทษ พฤติกรรมดังกล่าวก็อาจจะดีขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้ากิจกรรมดังกล่าว ได้รับการบกเว้นไม่ถูกทำโทษ เด็กก็จะยังประพฤติเช่นเดิม แต่ถ้าหากไม่ทำโทษแต่มีการทำ reflection ให้เห็นพฤติกรรมดังกล่าวไปเป็นที่ยอมรับหรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น และถ้าเด็กผู้นั้นประะพฤติอีกแบบหนึ่งแล้วจะได้รับการยอมรับหรือทำให้เพื่อนปลอดภัย ซึ่งเป็นการใช้ Higher mental processes เข้ามาอธิบายก็อาจจะไม่ใช้แค่เพียง reward and punishment เป็นต้น

- Cognitivism เป็นการกล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่การเรียนรู้ผิด/ถูก ทฤษฎีนี้เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการจดจำ โดยเชื่อมโยงไปถึงกระบวนที่ใช้ในการเรียนรู้ (Encoding) จดจำ (Memorizing) และนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ (Retrieving) ในการอธิบายพฤติกรรม รวมถึงกระบวนเชื่อมโยงองค์ระกอบต่างๆเพื่อช่วยจดจำ (Aiding learning) แม้ว่าการเรียนรู้จะดูซับซ้อนขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับบุคคล ยังคงเป็น individual/imperial self development ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการสร้างความรู้ ที่ผ่านการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ เป็นต้น ผู้เขียนมองว่า ทฤษฎีที่ว่าด้วย Cognitivism ยังคงมองโลกแบบว่าโลกนี้มีความจริงเพียงหนึ่งเดียว ยังไม่ยอมรับความจริงอื่นๆ มักจะติดสินผิดถูกเพียงเพราะความรู้ไม่ตรงกัน

- Constructionism เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ เชื่อว่า นอกเหนือไปจากการจดจำอย่างเป็นระบบ และการดึงเอาความรู้มาใช้แล้ว ยังต้องประกอบด้วยประสบการณ์ที่ได้จากการนำความรู้นั้นไปใช้ด้วย ทั้งนี้เชื่อว่าความรู้ดังกล่าวมีความแตกต่างในรายละเอียดไปไปแต่ละบริบท มองเห็นและยอมรับว่า ความรู้/การรับรู้แตกต่างกัน เพราะประสบการณ์ (experience) และบริบท (real context) ทฤษฎีนี้ยอมรับความหลากหลายมากขึ้น เชื่อว่าในโลกนี้ความจริงมีมากกว่า 1 ทฤษฎีนี้จะเน้นที่การยอมรับความแตกต่าง เน้นที่การทำความเข้าใจซึ่งการได้มาซึ่งความรู้ที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการสร้างความรู้เรื่องต่างๆในกลุ่มวิชาชีพและคนทั่วไปของเรื่อง ADHD หรือเด็กสมาธิสั้น ถ้าเป็นแพทย์เห็นเด็กซนกลุ่มหนึ่งก็อาจจะคิดว่าเป็นสมาธิสั้น ในขณะที่คุณครูด้วยประสบการณ์ก็จะให้นิยามเด็กกลุ่มนี้ว่าเด็กซน หรือเด็กเหลือขอ จะเห็นได้ว่าทั้งสองกลุ่มนี้สร้างความรู้เรื่องเด็กกลุ่มหนึ่งมาต่างกัน เพราะประสบการณ์ต่างกันนั่นเอง ทำให้เข้าใจความแตกต่างมากขึ้น ยอมรับผู้อื่นเพิ่มขึ้น เกิด Self socialised mind และ Self authoring mind (Knowledge construction สามารถมาได้จากหลายทาง แต่ใน constructionism ให้ความสำคัญกับประสบการณ์และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ของแต่ละคนมากขึ้นกว่าที่ความรู้จะมาจากแหล่งๆเดียวกัน)

- Social learning theory ทฤษฎีนี้เป็นขั้นกว่าของ (social) constructionism การยอมรับและการมีส่วนร่วมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การเรียนรู้ในทฤษฎีนี้เน้นเรื่องการยอมรับความแตกต่าง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น ในกรณีเด็กสมาธิสั้น เมื่อทั้งในกลุ่มครู ผู้ปกครอง และแพทย์ยอมรับกระบวนการสร้างความรู้และได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จะเกิดการสร้างความรู้ใหม่เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ก็มีได้หลายรูปแบบ ทั้งการรวมตัวเป็น Communities of Practice, Scaffolding, Zone Proximal Development ซึ่งต่างก็เป็นการอธิบายกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ เกิด Self transforming mind ในตัวเองยอมรับความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลง


-

หมายเลขบันทึก: 615072เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2016 03:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2016 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับ ผมก็เห็นภาพการพัฒนาการเรียนรู้แบบนี้แหละครับ เพียงแต่ยังทำออกมาเป็นรูปไม่ได้ ต้องขอบคุณ อ กะปุ๋มมากๆครับ

จะเห็นว่าช่วงบนๆวงของเราจะเล็กลง ไม่ได้แปลว่าความรู้มันเล็กลงนะครับ แต่หมายถึงเรายอมรับความรู้อื่นๆเพิ่มขึ้นด้วย จากการที่เราเห็นความแตกต่างของความรู้และลดอัตตาของเราเอง ปรับความรู้ที่ได้รับ/แลกเปลี่ยนมาใช้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท