เมื่อฉันต้องเป็นผู้ป่วย paraplegia T10


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ได้เรียนการใช้วีลแชร์และได้ทดลองสวมบทบาทเป็นผู้รับบริการ paraplegia ระดับ T10 ที่ต้องใช้รถเข็นเพื่อออกไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ โดยระหว่างที่ไป จะมีเพื่อนซึ่งรับบทบาทเป็นนักกิจกรรมบำบัดคอยติดตาม โดยผู้รับบริการต้องเข็นไปด้วยตนเองจนถึงจุดหมาย ซึ่งมีอุปสรรคคือ

1.ในช่วงแรก ผู้รับบริการมีความไม่มั่นว่าจะไปคนเดียวได้จนถึงร้าน ซึ่งนักกิจกรรรมบำบัดก็ได้สร้างความไว้ใจ และความเชื่อมั่นกับผู้รับบริการจะสามารถไปถึงร้านได้อย่างปลอดภัยโดยมีนักกิจกรรมบำบัดคอยดูแล


2.ระยะทางที่ไปค่อนข้างไกลและต้องเข็นไปตามถนน และต้องลงจากตึกซึ่งมีทางลาดและทางจักรยานที่จะทำให้ผู้รับบริการมีเส้นทางไปถึงร้านสะดวกซื้อได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย โดยนักกิจกรรมบำบัด สอนให้ ผู้รับบริการ ใช้รถเข็น ตรวจเช็คสภาพรถเข็น สอนเทคนิคการขึ้นลงทางลาด กับผู้รับบริการ


3.ผู้รับบริการเกิดความท้อแท้ระหว่างที่ไป นักกิจกรรมบำบัดให้positive reinforcement โดยการให้ความเชื่อมั่นว่าผู้รับบริการสามารถทำได้ด้วยตนเองร่วมกับ positive punishment โดยการบอกผู้รับบริการว่าถ้าไปถึงร้านจะได้ซื้อไอศครีมกิน



ซึ่งสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการได้สวมบทบาท คือ ได้เข้าใจถึงความรู้สึกของผู้ป่วยที่เมื่อต้องเดินทางโดยลำพังอาจเกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิต เพราะเส้นทางบางครั้งไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรถเข็น บางเส้นทางออกแบบมาไม่เหมาะสม ซึ่งบางครั้งก็เป็นตัวกีดขวางทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง กำลังของแขนที่อาจจะลดน้อยถอยลงเมื่อต้องเข็นรถเข็นไปในระยะทางที่ไกลมากๆ ความท้อแท้ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเห็นว่ามันไกลจากจุดหมาย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านั้นก็ได้อาศัยเพื่อนที่รับบทบาทเป็นนักกิจกรรมบำบัด คอยเป็นผู้สนับสนุน ช่วยเหลือ ทั้งในด้านเทคนิควิธีการ และการให้กำลังใจ เพื่อให้เราสามารถไปถึงยังจุดหมายที่กำหนดได้

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 613712เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2016 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2016 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท