ประวัติศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ ๒


เมื่อประวัติศาสตร์ไม่ใช่การท่องจำอีกต่อไป แต่ประวัติศาสตร์ คือ กระบวนการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเราสอนประวัติศาสตร์ เราไม่ได้สอนให้เด็กจำตำราที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เเต่เราสอนให้เด็กอยู่เหนือตำรา อยู่เหนือความรู้นั้น การสอนเเบบนี้ปัญญาจึงจะเกิดขึ้น

ประวัติศาสตร์ต้องสอนให้ "ต้องคิด" โดยการตั้งคำถามว่า "ทำไม เเละ อย่างไร" ไปในมิติความเเตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เพราะเเตกต่างจึงเติบโต

ในบทเรียนครั้งนี้ ขอเก็บข้อสรุปจากชั้นเรียนมาเขียนให้ทุกท่านได้อ่าน ในเรื่อง "ถิ่นกำเนิดไท"

สรุปถิ่นกำเนิดไท

  • ถิ่นกำเนิดไทไม่ทราบที่เเน่นอน เเต่ให้น้ำหนักไปที่ คนไท มาจากตอนใต้ของจีน หรืออาจอยู่ในบริเวณดิมนี้มาก่อนเเละอยู่มานานเเล้ว เช่น ความคล้ายคลึงของภาษา เเละการทำกลองมโหรทึก เป็นต้น
  • ไท เป็นเชื้อชาติ มีมานานเเล้ว / ส่วน ไทย เป็นประเทศใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วง ๒๔๘๒ นี้เอง
  • เเนวคิดไม่น่าเชื่อ ๓ เเนวคิด ได้แก่ คนไทมาจากอัลไต เสฉวน-น่านเจ้า เเละมลายู เพราะไม่สอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฎ
  • การเคลื่อนย้ายหรือขยับขยายด้านถิ่นฐาน มีอยู่ ๒ แนวคิด ได้แก่
    - เเนวคิดตะวันตก คือ การอพยพ การโยกย้ายถิ่น การเคลื่อนย้าย เพราะตะวันตกเชื่อว่า มนุษย์โลกกำเนิดอยู่ในลุ่มทะเลสาบเเคสเปี้ยน เเล้วอพยพมายังถิ่นฐานต่างๆ เเละส่วนใหญ่ทฤษฏีตะวันตกมักตอบคำถาม เกี่ยวกับเรื่องสงครามเเละโรคระบาด
    - เเนวคิดเเบบไทย คือ การสร้างบ้านแปลงเมือง โดยจะกระจายลูกๆไปสร้างบ้านเมืองใหม่ เเล้วเป็นร่างแหแผ่ออกไป
  • ข้อเสนอที่ว่า คนไท มาจากเทือกเขาอัลไต ไม่มีชาวต่างชาติคนใดเขียนไว้ ที่จริงข้อเขียนนั้นเป็นของขุนวิจิตร มาตรา
  • พื้นที่แห่งนี้ที่เราอยู่เเต่เดิมมีคนอยู่หลายกลุ่ม หลายชนชาติ เมื่ออยู่รวมๆกันย่อมมีการสื่อสารซึ่งกันเเละกัน เรียนรู้ภาษากันเเละกัน เรียนรู้วัฒนธรรม หรืออาจไม่ติดต่อกันหรือไม่สื่อสารกันเลยก็เป็นได้ เช่น ใช้ภาษามอญในการสื่อสารกัน ซึ่งคนกลุ่มนี้อาจเป็นมอญ หรือ ไม่เป็นมอญก็ได้ เพราะภาษาสามารถเรียนรู้กันได้
  • เหตุที่เรื่องถิ่นกำเนิดของไทย เป็นที่นิยมเพราะ เหตุผลทางการเมืองในช่วงสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในการสร้างลัทธิชาตินิยม เเละต่อต้านจีน
  • นักภาษาศาสตร์ให้ความสำคัญว่า ภาษาผู้ไท คือ ภาษาถิ่นกำเนิดของภาษาไทย
  • ทำไมเรื่องนี้จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ก็เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน ที่จะวิพากษ์ได้ เเต่เมื่อเราเชื่อในเเนวคิดเเบบตะวันตกเราก็ตีความด้วยเหตุผลเเละหลักฐาน หากเราเชื่อในเเนวคิดแบบไทยเราก็ตีความด้วยเหตุผลเเละหลักฐานนั้นเช่นเดียวกัน

ข้อสรุปดังกล่าวสะท้อนว่า ความรู้ทางประวัติศาสตร์บางเรื่องอาจจริง เเต่บางเรื่องอาจไม่มีมูลความจริงเลย ฉะนั้นเเล้วกระบวนการทางประวัติศาสตร์เเละทักษะทางการคิดจึงมีความจำเป็นมากที่จะเรียนประวัติศาสตร์ในแบบกระบวนทัศน์ใหม่ เพราะความรู้นั้นไม่เที่ยง เราเองต้องอยู่เหนือความรู้นั้น นั่นเอง

ข้อสรุปเชิงวิธีวิพากษ์

  • เอกลักษณ์ของชนชาติที่ฝากไว้ ทำให้เราตีความได้ว่า ชนกลุ่มนั้เป็นใคร เช่น หลักฐานของบ้านเชียงในยุคหินใหม่สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ในยุคนั้น กลุ่มนั้น มีวิทยาการที่ก้าวหน้าเเล้ว เป็นต้น
  • เวลาเราศึกษาคนจำนวนมาก เราจะศึกษาวัฒนธรรมมากกว่าเชื้อชาติ

-------------------------------------------------------------------------------------------------
บันทึกหลังการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย
โดย ร.ศ.ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ
๒ กันยายน ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 613265เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2016 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2016 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท