​ชีวิตที่พอเพียง : 2740. คุยกับหุ่นยนตร์ที่มีมรรยาท



บทความเรื่อง How to talk to our technology is parenting’s next great dilemma ในนิตยสาร Time ฉบับวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สะกิดว่า ต่อไปคนเราจะใช้เวลาคุยกับเครื่องใช้หรือเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ


เขาเอ่ยถึงเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจำหน่ายโดยบริษัท Amazon ชื่อ Echo ซึ่งเป็นลำโพงอัจฉริยะ นอกจากเป็นเครื่องเสียงที่ให้เสียงไพเราะกระหึ่มรอบทิศทางแล้ว ยังรับคำสั่งให้จัดการควบคุมสภาพแวดล้อม ในห้องได้ด้วย โดยเจ้าของพูดออกคำสั่ง ราคาเพียง ๑๘๐ เหรียญสหรัฐ


ผู้เขียนบทความเป็นคอลัมนิสต์ด้านเทคโนโลยี เขาบอกว่าในอนาคตเทคโนโลยี AI – Artificial Intelligence จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเราในรูปของหุ่นยนตร์ ทำหน้าที่ด้าน การแปล การเป็นครู และผู้ดูแลสุขภาพ


แต่ที่เขาตกใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว คือเขามีลูกชายอายุ ๑๘ เดือน ชื่อ Jack ทุกครั้งที่เขาบอกให้ Echo ทำสิ่งที่ต้องการ (เช่นให้ต้มน้ำร้อน ให้ปรับอุณหภูมิห้องเป็น ๗๒ องศาฟาเรนไฮต์ หรือให้สั่งซื้อผ้าอ้อมเพิ่ม ก็ทำได้) Jack จะหันไปมอง Echo บนหลังตู้เย็นที่จะมีแสงไฟสีน้ำเงินวาบขึ้น เป็นสัญญาณว่ารับคำสั่ง แล้ววันหนึ่ง Jack ก็พูดออกคำสั่งต่อ Echo ด้วยสุ้มเสียงห้วนสั้นแบบพ่อ ทำให้พ่อตกใจว่าภาษาที่ใช้กับเครื่อง จะสร้างนิสัยพูดแบบมะนาวไม่มีน้ำแก่ลูก


ประเด็นสำคัญของเรื่อง คือ เครื่องต้องได้รับการฝึกให้คุยกับคนได้โดยใช้ภาษาที่มีมรรยาท และ สุนทรียะเข้ากับแต่ละบุคคลและบรรยากาศ บริษัทที่พัฒนาซอฟท์แวร์ AI ดังกล่าวกำลังพัฒนาขีดความสามารถ นี้อย่างขมักเขม้น เช่น Siri ของ Apple, Google Now ของ Google, และ Cortana ของ Microsoft


นั่นหมายความว่า หากมีการสื่อสารทางไกลผ่านสายหรือคลื่น ในอนาคตเราอาจบอกไม่ได้ว่ากำลังพูดกับคนจริงๆ หรือกำลังพูดกับคนเสมือน (หุ่นยนตร์) เพาระสำเนียงและถ้อยคำที่ใช้โต้ตอบสอดคล้องกับความสัมพันธ์และบรรยากาศ


ตัวอย่างจริงที่ ไมโครซอฟท์ หุ่นยนตร์ Cortana avatar โค้งอย่างงดงามเมื่อพบคนญี่ปุ่น เป็นผลจากการฝึกให้ระบบ AI เข้าใจบริบทเชิงวัฒนธรรมของคนหลากหลายวัฒนธรรม


voice assistant App ชื่อ Hound ซึ่งใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลายระบบ ได้รับการฝึกให้พูดคำว่า please, thank you, you’re welcome, excuse me, sorry และได้รับการฝึกให้ตอบคำทักทายตามระดับความสนิทสนม ที่เหมาะสม เช่นเราทักว่า hello อาจได้รับคำตอบว่า good morning หากเราทักว่า hey จะได้รับคำตอบว่า hi เป็นต้น


นี่คือ AI ที่มี social algorithm เพื่อจัดการความรู้สึกของคนที่ไป “คุย” ด้วย

วิจารณ์ พานิช

๓ ส.ค. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 613227เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2016 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2016 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

May I use this post to add more umps to my blog :

Man and Machine Interactions... https://www.gotoknow.org/posts/612574

Thank you.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท