Money Market Fund กับแนวคิดที่ว่า Cash Flow ต้องมาก่อน


Money Market Fund กับแนวคิดที่ว่า Cash Flow ต้องมาก่อน

ดร. วสุ ลอ (ปร.ด.)

Dr.Wasu Low (Ph.D.)

ผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ (อิสระ) 079740

บันทึกฉบับนี่ผมเขียนในฐานนะผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ (อิสระ) ที่อยากนำเสนอสาระต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากการเขียนในฐานนะ สมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท.) สำหรับผู้ที่มีงานทำ ก็ย่อมมีรายได้และรายได้ที่ได้มานั้นก็ต้องใช้จ่ายออกไป ถ้าจ่ายออกไปมากว่าที่หามาได้ ก็ต้องหยิบยืมจากเพื่อนฝูง ญาติ พ่อ แม่ หรือไปก็ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต ซึ่งหากไม่สามารถบริหารจัดการให้ดีก็จะก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลขึ้น เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านผมได้มีโอกาสเข้า website ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือ Thailand Development Research Institute (TDRI) และได้เข้าไปดูมัลติมีเดียหัวข้อ “เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร: 5 ปีหนี้ครัวเรือนพุ่ง 11 ล้านล้านบาท” และแน่นอนครับว่าปัญหาดังกล่าวก็คืนปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนนั้นเอง(ท่านผู้อ่านท่านใดสามารถติดตามได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=He4kk9mnbuY ครับ)

แนวคิดที่ของผมที่ว่า Cash Flow ต้องมาก่อน มีจุดเริ่มต้นจากคำพูดที่ว่า “กระแสเงินสด (ปัจจุบัน-อนาคต) ที่เกิดขึ้นจาการถือครองสินทรัพย์ตลอดระยะเวลาการถือครอง” ดังนั้นสำหรับผมแล้วจึงให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดก่อนเรื่องของสินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible assets) โดยให้น้ำหนักไปที่กระแสของเงินสดที่ไหลเข้าออก ซึ่งผลต่างของกระแสเงินที่ไหลเข้ากับไหลออกจะเป็นส่วนที่เราสามารถเก็บไว้เป็นเงินในยามฉุกเฉินและเงินออมได้ แต่มันยังต้องอยู่ในรูปแบบของกระแส เหมือนน้ำที่ถูกเก็บไว้ในบ่อแห่งหนึ่งแล้วไหลไปพักอีกบ่อหนึ่ง มันก็เกิดคำถามที่ว่าเก็บพักไว้ในบ่อใหญ่ๆ นิ่งๆ ไม่ได้หรอ ได้ครับแต่ผลสังเกตว่าลักษณะของน้ำนิ่งๆอีกไม่นานมันก็อาจจะเน่าได้ เพราะพอมีได้ซักก้อนหนึ่งก็เริ่มอยากจะใช้ อยากจะซื้อนั้นซื้อนี้ หรือไม่ก็เก็บออมน้อยลง ผมจึงชอบให้มันไหลเป็นกระแส

สำหรับผมการทำเงินให้มีลักษณะเป็นแบบกระแสนั้น ผมทำผ่านทางการซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ (FIF) ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติและกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific fund) โดยมีเงินลงทุนในลักษณะนี้มีเงินลงทุนขึ้นต่ำ 10,000 บาท โดยจะทำการซื้อต่อเนื่องกันทุกเดือนติดต่อกัน (ผมจะกำหนดเพดานสูงสุดสำหรับการสร้างกระแสเงินสดผ่านวิธีการนี้ เพื่อจะได้นำเงินไปลงทุนในส่วนอื่นที่ได้ผลตอบแทนมากว่า) การลงทุนในรูปแบบนี้เป็นการฝึกวินัยทางการเงินและยังเป็นการสร้างจิตรวิทยาการลงทุนอีกด้วย

ผมขอนำประสบการณ์และข้อมูลจากการลงทุนในทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ (FIF) ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติและกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific fund) จาก บลจ. แห่งหนึ่งมาเสนอในรูปแบบของตารางที่แสดงรายละเอียดของช่วงเวลาของการลงทุนและอัตราผลตอบแทนในแต่ละรอบของการลงทุน (ย้อนหลัง 10 เดือน)

ครั้งที่

เดือนที่ซื้อ

เดือนที่ได้รับเงิน

อัตราร้อยละที่คาดว่าจะจ่ายจริงต่อปี (%)

1.

ตุลาคม 2558

เมษายน 2559

1.75

2.

พฤศจิกายน 2558

พฤษภาคม 2559

1.75

3.

ธันวาคม 2558

มิถุนายน 2559

1.70

4.

มกราคม 2559

กรกฎาคม 2559

1.60

5.

กุมภาพันธ์ 2559

สิงหาคม 2559

1.65

6.

มีนาคม 2559

กันยายน 2559

1.60

7.

เมษายน 2559

ตุลาคม 2559

1.60

8.

พฤษภาคม 2559

พฤศจิกายน 2559

1.55

9.

มิถุนายน 2559

ธันวาคม 2559

1.55

10.

กรกฎาคม 2559

มกราคม 2560

1.55

ผมหวังว่าเนื้อหาเพียงสั่นๆฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านและอย่าลืมนะครับว่า “การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืน มากกว่า หรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่ กำหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่ได้มีคำสั่งไว้การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต”…การลดลงของผลตอบแทนของตราสารหนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรการดอกเบี้ยติดลบที่ธนาคารต่างๆประกาศออกมา เช่น ธนาคารกลางสวิสประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ -0.75 % ธนาคารกลางสวีเดนประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ -0.50 % ธนาคารกลางเดนมาร์กประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ -0.65 % ธนาคารกลางยุโรปประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ -0.30 % ธนาคารกลางญี่ปุ่นกำหนดอัตราดองเบี้ยทางการ -0.1 % อย่างไรก็ตามก็ผลตอบแทนยังคงสูงกว่า เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ (ในทัศนะของผมมองการฝากประจำว่าเหมือนการเก็บน้ำบ่อใหญ่ไม่ใช้ลักษณะของการไหลของกระแส แม้ว่าบางธนาคารให้ผลตอบแทนคิดเป็น % ต่อปีมากกว่า ทั้งนี้จึงขึ้นกับความต้องการของท่านผู้อ่าน)

สวัสดี

คำสำคัญ (Tags): #Money Market Fund#cash flow
หมายเลขบันทึก: 612796เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท