สรุปการอบรมระยะสั้นหลักสูตร Presentation Skill


"คุณสามารถนำเสนอได้หรือไม่”นำเสนออย่างไร
การอบรมระยะสั้นหลักสูตร Presentation Skillโดย ผศ.ดร.สุรพล  นันทการกิจกุล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙          คุณสามารถนำเสนอได้หรือไม่ เป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับนักศึกษาเพราะในการเรียนรู้จะทราบว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้หรือไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากการสอบส่วนหนึ่ง และอีกส่วนคือการนำเสนอความรู้ทั้งที่เกิดจากการอ่าน การค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งต่างๆซึ่งอาจจะเป็นงานวิจัยหรือไม่ก็ได้ สำหรับการนำเสนอหากต้องการใดให้เกิดความเชี่ยวชาญ ชำนาญได้นั้นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งเรื่องเนื้อหาที่จะนำมาเสนอ การใช้ภาษารูปแบบของการเขียนนำเสนอ และสุดท้ายคือการฝึกฝนหาชั่วโมงบินในการนำเสนอประเภทของการนำเสนอ สามารถจำแนกได้ ๓ รูปแบบคือ๑)     การนำเสนอปากเปล่า ๒)    การนำเสนอโดยโปสเตอร์ ๓)     นำเสนอผ่านการเขียนลงเอกสารวิชาการที่มีผลต่อสาธารณะ การนำเสนอแบบปากเปล่า๑.      ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอ๑)  ขนาดความจุของห้องและลักษณะของห้องว่าเป็นแบบเปิดโล่งหรือเหมาะสม ในกรณีนี้อาจจะใช้การสอบถามจากผู้จัด หรือไปถึงก่อนเวลาเพื่อเตรียมพร้อม๒)    วุฒิภาวะ การศึกษา จำนวน และความตั้งใจของผู้พูด๓)     วุฒิภาวะ การศึกษา จำนวน ความพร้อมและระยะห่างของผู้ฟัง๔)     อุปกรณ์ต่างๆทั้ง คอมพิวเตอร์ เครื่องฉาย ไมโครโฟน จอภาพ๕)     เทคนิคเรื่องวิธีการ ภาษาพูด  ความต่อเนื่อง แนวคิด และการติดตามข่าวปัจจุบัน๖)     บรรยากาศ ความเป็นกันเอง สภาพอากาศ เสียง แสง กลิ่น๗)    เวลา ระยะเวลา ช่วงเวลาเช้า บ่าย ดึก โอกาส และความสะดวก๒.     ลักษณะการนำเสนอที่ดี๑)     ใช้เวลาที่มีจำกัดอย่างคุ้มค่า๒)    อาจใช้ภาษาถิ่นตามโอกาส๓)     อย่าเปลี่ยนเรื่องหรือพูดไม่ได้ใจความ๔)     กวาดสายตาไปรอบๆ อย่างมองจุดเดียว หรือมองพื้น เพดาน๕)     ลำดับเป็นขั้นตอน และอย่างหลงประเด็น๖)     แทรกให้ขำและคำคม๗)    ต้องบอก ปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางวิจัย ผล สรุป ข้อเสนอแนะ๘)     ต้องให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น๙)     วางแผนและเตรียมพร้อม๑๐) เปิดใจกว้าง สร้างมิตรภาพ๓.     วิธีลดความประหม่า๑)     ยิ้ม๒)    ทักทายคนรู้จัก๓)     สูดหายใจลึกๆ๔)     นึกไว้ว่าผู้ฟังเป็นเด็ก๕)     เลือกคำพูดสนุกให้ผู้ฟังหัวเราะ๔.     ทักษะของการนำเสนอ๑)     บุคลิกภาพ·       หน้าตาสดชื่น ยิ้มแย้ม สะอาด·       แต่งกายถูกกาลเทศะ เหมาะกับผู้ฟังและสถานที่·       ปรากฏตัวด้วยความเชื่อมั่น กระตือรือร้น·       กริยาท่าทางมั่นคงเป็นธรรมชาติ·       ควบคุมกิริยามรรยาท มีสติ ระงับความกลัวหรือความประหม่า·       แสดงความเป็นมิตร ทักทายผู้ฟัง เป็นกันเอง·       มองโลกในแง่ดี มีศีล สมาธิ ปัญญา๒)    เสียง จังหวะ และลีลา·       น้ำเสียงดัง ฟังชัด ชัดเจน ไพเราะ·       พูดมีจังหวะและวรรคตอนให้ถูกต้อง·       มีท่วงทำนองสูง ต่ำ·       ออกเสียงตัว ล ร และคำควบกล้ำถูกต้อง·       พูดเน้นหรือพูดซ้ำบางประโยคที่สำคัญ๓)     ภาษที่ใช้·       ภาษาสากล สุภาพ เหมาะกับระดับของผู้ฟัง ภาษาท้องถิ่น·       ใช้ภาษาสละสลวย กะทัดรัด คมคายและประทับใจ·       แทรกอารมณ์ขันในบางโอกาส ใช้มุขตลกหรือเสียงเพลง·       พูดให้กระจ่าง ไม่คลุมเครือ ไม่เยิ่นเย้อ·       ใช้ภาษกายแสดงให้เห็นภาพ๔)     อากัปกริยาต่างๆ·       ยืนตรงเป็นสง่า สุภาพ มีสติ·       แสดงออกทั้งในด้านน้ำเสียง สีหน้า แววตา·       ท่าทางด้วยอาการปกติ และเป็นมิตร·       สบสายตาผู้ฟัง และกวาดสายตาไปรอบๆ·       ใช้ภาษากายและออกท่าทางเพื่อให้เกิดภาพพจน์๕)     ความคิด เนื้อหา สาระ·       สร้างจุดสนใจในเนื้อเรื่องและที่มาของปัญหา·       เนื้อหาเหมาะกับระดับของผู้ฟัง·       รวบรวมความคิดอย่างมีเหตุผลก่อนนำเสนอ·       เน้นเรื่องสำคัญและขยายความหรือยกตัวอย่างประกอบ 
หมายเลขบันทึก: 61242เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท