การจัดการความรู้ ( KM ) ของกรมการปกครอง


KM กรมการปกครอง
                   กฎหมายพื้นฐานในเรื่องการจัดการความรู้ในประเทศไทยคือพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.. 2546    มาตรา 11 กำหนดไว้ว่า ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้    ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ    โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถ ประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสม    ต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของ    ข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน

                   จากการที่รัฐบาลได้ให้ความไว้วางใจและมอบหมายให้กรมการปกครองเป็นหน่วยงานหลักในการนำนโยบายสำคัญหลายประการไปปฏิบัติให้บังเกิดผลในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความยากจน ตาม 1 ใน 9 ประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2548 – 2551 ซึ่งกรมการปกครองได้   คัดเลือกประเด็นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนมาจัดทำเป็นแผน blueprint for change ปื 2548 และได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ ( Knowledge Management Action Plan ) สนับสนุนในประเด็นยุทธศาสตร์การ แก้ไขปัญหาความยากจน

                   ขอบเขต KM ที่กรมการปกครองได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้คือ            การจัดการความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย ( Desired State )        ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือ มุ่งเน้นให้อำเภอเป็นศูนย์การองค์ความรู้ เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิง บูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง กิจกรรมกระบวนการจัดความรู้ ( KM Process ) และกิจกรรมกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลง ( Change Management Process ) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่นๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ต่อไป

            การแต่งตั้ง CKO และ KM ทีม

 เพื่อให้การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ อธิบดีกรมการ                   ปกครองได้แต่งตั้ง CKO และ KM ทีม ดังนี้

          1 นายก้องเกียรติ  อัครประเสริฐกุล  รองอธิบดีกรมการปกครอง  ฝ่ายบริหารราชการทั่วไป  เป็นผู้บริหารด้านการจัดการองค์ความรู้ในกรมการปกครอง ( Chief Knowledge Officer : CKO ) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้การจัดการความรู้สัมฤทธิ์ผล

          2 แต่งตั้งคณะกรรมการด้านการจัดการองค์ความรู้ ( KM Team )  ซึ่งมีรองอธิบดีกรมการ  ปกครองฝ่ายบริหารราชการทั่วไป  เป็นประธานกรรมการ  ว่าที่ ร..ฐิตวัฒน  เชาวลิต   อธิการวิทยาลัยการปกครอง  เป็นรองประธานกรรมการ  มีคณะกรรมการประกอบด้วย  ผู้อำนวยการสำนัก  กองต่าง ๆ / และรองอธิการวิทยาลัยการปกครอง  คณะกรรมการ KM นี้ทำหน้าที่ดำเนินงานบริหารจัดการ KM ของกรมการปกครอง

          3 แต่งตั้งคณะทำงานจัดการองค์ความรู้ของกรมการปกครอง  ( KM  Working  Group )  โดยมีอธิการวิทยาลัยการปกครอง  เป็นหัวหน้าคณะทำงานและคณะทำงาน  คือ  รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง  และผู้แทนจาก สำนัก/กอง ต่าง ๆ  ของกรมการปกครอง 

การขับเคลื่อน  KM  ของกรมการปกครอง

จากการที่ กรมการปกครองได้จัดทำแผนการจัดการความรู้  ( KM  Action  Plan )   ซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสารคำรับรองการปฎิบัติราชการประจำปีงบประมาณ..  2549 ซึ่งได้ส่งให้สำนักงาน ก...เมื่อวันที่  30  มกราคม  2549   แล้ว  เมื่อพิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระในแผนดังกล่าว   จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ  ส่วน คือ

                         1  แผนการจัดการความรู้ในส่วนของ  กระบวนการจัดการความรู้  ( KM Process )

                         2  แผนการจัดการความรู้ในส่วนของ  กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง  ( Change

Management Process )  ซึ่งทั้ง  2  ส่วนจะมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความ ยากจน  ตามขอบเขต  และเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้บรรลุผล   ขณะเดียวกัน แผนการจัดการความรู้ในแต่ละส่วน   ก็จะมีโครงการและกิจกรรมของแต่ละสำนัก/กอง  รองรับเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม   ซึ่งขณะนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า  15 โครงการ/กิจกรรม

 .                      เรื่องการจัดการความรู้  ( KM ) เป็นเรื่องที่อาจต้องการความรู้ความเข้าใจทางวิชาการอยู่บ้างเพราะดูจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับการทำตามขั้นตอน  KM  ของสำนักงาน  ..แต่ในความเป็นจริงแล้วการจัดการความรู้มีอยู่ในสังคมไทย   มีอยู่ในกรมการปกครอง   กระทรวงมหาดไทย   มาเป็นเวลาช้านาน   ตัวอย่างเช่นภูมิปัญญาชาวบ้านต่างๆ  ศิลปะ   วรรณกรรม   งานฝีมือ  การทำอาหารไทย   ซึ่งมีการสร้าง   เก็บ   และถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาที่มีในครอบครัว ชุมชน   จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง   หรือประสบการณ์ของนักปกครองรุ่นอาวุโสที่มี   คุณค่าอย่างยิ่งหลายสิ่งหลายประการที่สั่งสม  และถ่ายทอดจนถึงนักปกครองรุ่นปัจจุบัน   ซึ่งทำให้ฝ่ายปกครอง เป็นภาคส่วนที่สำคัญในภาคส่วนต่าง ๆ  ในการปฏิบัติภารกิจของชาติบ้านเมืองให้สัมฤทธิผล

                   การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของกรมการปกครองเพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน  เป็นงานที่มีความสำคัญอีกงานหนึ่ง  ที่ต้องการพลังการมีส่วนร่วมของทุก ๆท่านทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค   และจะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการที่จะก่อเกิดการรวบรวมสะสมองค์ความรู้   การใช้ประโยชน์ และต่อยอดองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาความยากจน     ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการทำงานของกรมการปกครองเพื่อพี่น้องประชาชน และต่อการทำงานแก้ปัญหาความยากจนในภาพรวมของประเทศต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 61240เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท