ระเบิด, ข้อเท็จจริง, และมายาคติในจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย


สัจธรรมไม่ควรจะเป็นเวรกรรม หลังจากเกิดการระเบิดในประเทศไทยวันที่ 10-12 สิงหาคม ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดว่าเจ้าหน้าที่ของไทยจะเพิกเฉยหรือไม่ได้คิดถึงกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมาเลย์-มุสลิม ที่เป็นเหมือนกลุ่มที่มีศักยภาพในการจัดวางระเบิดเป็นช่วงๆในกลุ่มภาคใต้ตอนบนในวันที่ 10-12 สิงหาคม นี่เป็นสิ่งที่พวกเขากระทำกันเป็นประจำ

น่าแปลกใจมากขึ้นไปอีกที่เห็นผู้เชี่ยวชาญต่างก็อ้างถึงมายาคติ (myths) ที่เกี่ยวกับข้อขัดแย้งในภาคใต้ของไทยเหมือนๆกัน โดยที่ไม่ได้พิจารณาถึงข้อเท็จริงต่างๆเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของไทย

ข้อเท็จจริง: ผู้ปฏิบัติการในภาคใต้ได้โฆษณาการระเบิดอย่างเนื่องในเวลาลงประชามติ ใน 10 วันแรกของเดือนสิงหาคม จะมีการโจมตีด้วยระเบิดประมาณ 50 ครั้งในจังหวัดชายแดนของประเทศไทย การทำเรื่องให้ชัดเจนมากขึ้นไปอีกก็คือความรุนแรงเหล่านี้เกี่ยวข้องกับวันลงประชามติ 7 สิงหาคมนี้ นอกจากนี้ผู้ก่อการยังได้บ่นภาพวาดบนกำแพงที่ต่อต้านรัฐธรรมนูญถึง 18 แห่ง

สิ่งนี้อาจเห็นได้จากความคิดเห็นเชิงสาธารณะ (public opinion) ในภาคใต้ต่อรัฐธรรมนูญ และเสียงผู้โหวตในปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาสที่ไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ

ในขณะที่ผู้ปฏิบัติการทางภาคใต้วุ่นวายอยู่กับการระเบิด 5 ครั้งต่อวันโดยเฉลี่ย แต่ไม่มีกลุ่มต่อต้านรัฐใดๆเลยที่จะยอมรับความรุนแรงในช่วงนี้ สิ่งนี้ควรตีความได้ว่าหากผู้ก่อการที่เป็นคนสำคัญๆ คาดหมายว่าหากมีการระเบิดขึ้นในวันที่ 10-12 สิงหาคมในภาคใต้ตอนบนจะเกี่ยวข้องกับการที่ทหารถือหางรัฐธรรมนูญ

มายาคติ: ผู้ปฏิบัติการภาคใต้จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว

ตรงข้ามจากการกล่าวอ้าง ผู้ปฏิบัติการทางภาคใต้มีประวัติยุ่งเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวโดยตรง มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยวอยู่มาก เช่นระเบิดที่โรงแรม Lee Garden ที่หาดใหญ่ ฆ่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปหลายคน และทำให้ผู้คนบาดเจ็บไปมากกว่า 400 คน การระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่, การระเบิดที่ศูนย์กลางการซื้อขายที่เกาะสมุย, และระเบิดหลายครั้งที่ศูนย์กลางความบันเทิง (entertainment venues) ที่นักท่องเที่ยวชาวมาเลย์มาชุมนุมกัน ไม่ว่าจะเป็นสุไหงโกลก, สะเดา, และเบตง

มายาคติ: ผู้ปฏิบัติการทางภาคใต้ไม่เคยปฏิบัติการนอกเหนือจากจังหวัดชายแดนใต้

เนื่องมาจากการะเบิดที่เกาะสมุยเมื่อปีที่แล้ว การระเบิด 2 ครั้งที่เกิดขึ้นในปี 2013 ก็เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้แบ่งแยกดินแดน อันดับแรกก็คือการระเบิดที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่กรุงเทพฯในเดือนพฤษภาคม และการระเบิดด้วยรถยนต์ที่สถานีตำรวจภูเก็ตตอนปลายปี ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงที่ความรุนแรงแบบหลักๆจะอยู่ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็ใช่จะว่ากลุ่มผู้แบ่งแยกดินแดนไม่มีความสามารถในการระเบิดภายนอกจังหวัดชายแดนไม่ได้

จังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกระเบิดจำนวน 63 ครั้งในระหว่าง 1-13 สิงหาคม การเน้นแต่ระเบิดจำนวน 13 ครั้งนอกจังหวัดชายแดนใต้ แต่ไม่พิจารณาถึงเหตุการณ์ 50 ครั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็คือความลำเอียงของเจ้าหน้าที่ไทย

ประเด็นที่สำคัญตรงนี้ก็คือไม่มีหลักฐานอันใดที่จะเชื่อมโยงกลุ่มใดๆในเหตุการณ์นี้ได้ เจ้าหน้าที่ได้แต่ลงทุนโฆษณาชวนเชื่อที่จะทำให้พลเมือง และชุมชนนาๆชาติเชื่อว่ากลุ่มผู้แบ่งแยกดินแดนไม่สามารถจะทำอะไรกับกลุ่มนักท่องเที่ยวได้

บทบาทของนักวิเคราะห์ และนักวิจัยควรจะตั้งคำถามต่อเส้นทางที่เป็นทางการ และไม่กล่าวอ้างสิ่งใดๆที่เลื่อนลอยเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติการภาคใต้เสียที

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Anders Engvall. Bombs, facts, and myths in Southern Thailand


จำนวนเหตุการณ์การระเบิดตั้งแต่วันที่ 1-10 ปี 2016

หมายเลขบันทึก: 612387เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2016 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2016 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"จุดบอด"...ของ การเมืองและ..สังคมแบบไทยๆ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท