การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง


พวกเราโดยส่วนใหญ่คิดว่ามันเป็นภาระของคนอื่น เช่น ครู, ผู้บริหาร, หรือนายจ้าง ที่จะวัดว่าพวกเรามีการเรียนรู้ขนาดไหน แต่เมื่อเราทำการวัด พวกเราสูญเสียบางอย่างที่มีความสำคัญมาก นั่นคือ ทักษะการบรรยายเรื่องการศึกษาของพวกเราเอง เราอาจจำได้ว่าเราผ่านวิชาอะไรบ้าง และตกวิชาอะไรบ้าง หรือเราแก้เมื่อไร และที่ที่เราเรียนรู้ข้อมูลเฉพาะอย่าง แต่โดยใหญ่แล้วพวกเราไม่เคยระลึกได้ว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ค่อยแผ่ขยายและเป็นเวลายาวนาน และวิทยาศาสตร์ทางการรู้ (cognitive science) ได้ยืนยันแล้วว่าองค์รวม (the whole) จำเป็นกว่าการรวมสิ่งต่างๆเข้ามาด้วยกัน (the sum of its parts)

นายจ้างโดยมากมักจะบ่นว่าผู้ที่จบการศึกษาทุกวันนี้ดูเหมือนจะไม่มีเรียนอะไรจากมหาวิทยาลัย แต่พวกเรารู้ว่าพวกเรามิได้ขาดซึ่งความพยายาม และนักศึกษาโดยมากจะพบกับปัญหาอย่างเดียวกัน ถ้าอย่างนั้นสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรหากจะขยายความให้ชัดก็ต้องถามไหมว่า การที่นักเรียนเรียนรู้ 4 ปีในมหาวิทยาลัย เพียงเพื่อจบการศึกษา และมีความรู้ที่กระจัดกระจายเป็นเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ปัญหาประการหนึ่งก็คือธรรมชาติของความทรงจำของมนุษย์มีข้อจำกัด และระบบการประเมิน (assessment) ก็ไม่สะท้อนการทำงานของสมองนัก

ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง แต่มีความสำคัญมาก ก็คือ นักเรียนไม่ได้ถูกกระตุ้นให้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง แต่พวกเขาทำอย่างนี้มากกว่า ซึ่งก็คือ พวกเขาจำเป็นต้องจำเป็นหน่วยๆ แต่ละหน่วยก็เป็นรูปธรรม และสมบูรณ์ในตนเอง ต่อมาก็รอเกรดจากครูหรือผู้มีอำนาจ เกรดมีความหมายถึงการเรียนรู้เฉพาะวิชา นอกจากนี้เกรดยังแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า (progress) ไม่ใช่ศักยภาพ (potential)

พวกเราที่มีภูมิหลังพื้นฐานเฉพาะ และมีนิสัยทางการเรียนเฉพาะ จำเป็นด้วยหรือที่จะให้ครูและผู้บริหารระดับสูงมากำหนดความก้าวหน้าของเรา? จะเป็นการง่ายกว่าไหม ที่พวกเราที่เป็นปัจเจกบุคคลที่จะมากำหนดความก้าวหน้าและความอ่อนแอเพื่อที่จะมีการพัฒนาให้ยิ่งขึ้นไป? เมื่อเราประเมินความก้าวหน้าของตน การเรียนรู้จะมีกระบวนการที่ไหลรื่น ในขณะที่บทเรียนต่างๆมีความต่อเนื่องกัน สร้างทับซ้อนซึ่งกันและกัน แม้เป็นเวลาหลายปี เราสามารถเห็นที่ที่เราเคยอยู่ และที่ที่เราจะไป ทำไมจึงต้องใช้เวลาที่มากกว่าในการได้สิ่งหนึ่ง บวกรวมกับอีกสิ่งหนึ่งไม่ได้ ไม่ใช่ว่าเราจะได้คำคำเดียวในความก้าวหน้าของเรา แต่เราจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนนา และเมื่อเราอยู่ที่ตรงนั้น ไม่ใช่แรงจูงใจในการยกระดับเท่านั้น และยังมีผลกับสมองของเราด้วย

ทำไมการประเมินตนเองจึงดีกับสมอง

ลองจินตนาการแบบนี้สักครู่หนึ่ง เมื่อเราเข้าไปในระบบการศึกษาแบบราชการ ทุกๆคนจะต้องสร้างสมุดบันทึกผลการเรียนรู้ของตนเอง (a personal learning portfolio) ซึ่งต้องทำไปตลอดมหาวิทยาลัย ในสมุดบันทึกผลการเรียนรู้จะมีตัวอย่างของภาระงานที่ทำต้อง, การประเมินเกรด, และบันทึกต่างๆ (notes) นอกจากนี้ยังมีบันทึก ที่คุณต้องอธิบายความคิด และภาพสะท้อน (reflection) ในสิ่งที่ทำ หรือเรียนรู้ไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ หรือเรียนรู้ ลองจินตนาการดูว่าคุณกลับไป และอ่านบันทึกเหล่านี้ ไม่ว่า 1 ปี หรือ 10 ปีก็ตาม เพื่อการสะท้อนบันทึกการเรียนรู้ของคุณที่เป็นองค์รวม (whole) การทำแบบนี้จะส่งผลอย่างไรต่อวิธีการในเข้าถึงการเรียนรู้ที่เป็นสากล (in general)?

มีนักวิจัยต่างๆ เช่น Harvard Business School พบว่า ภาพสะท้อนหลังจากที่ได้เรียนบทเรียนนั้นตรงๆ จะเพิ่มความสามารถในการกระทำของปัจเจกบุคคล (individuals’ performance)ในครั้งต่อไป หากเขากลับมาที่บทเรียนนั้นอีก

นักวิจัยเหล่านี้แบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็นกลุ่มๆ และขอให้พวกเขาแก้ปัญหาที่ชื่อผู้ก่อกวนสมอง (brain teasers) หลังจากเสร็จรอบแรกแล้ว จะมีกลุ่มเพียง 1 กลุ่มได้รับคำสั่งในการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาได้ทำลงไป ต่อมาก็ให้เขียนยุทธวิธีต่างๆที่เคยใช้ ตามรายงาน เมื่อผู้ทดลองได้เสร็จรอบที่ 2 เรียบร้อยแล้ว พวกเขาสามารถทำได้ 18 % มากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยได้รับการคิด

ในการศึกษาเกี่ยวกับการทำงาน (a field study) ความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มจะมีมากขึ้น (striking) ผู้วิจัยได้แบ่งคนงานออกเป็นโปรแกรมการฝึกงาน (a job training program) ออกเป็นกลุ่มๆ และโปรแกรมนี้ใช้เวลา 10 วัน คนงานบางคนจะต้องสะท้อนภาพถึงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ 15 นาทีในแต่ละวัน เมื่อพวกคนงานได้รับแบบประเมินในช่วงสุดท้ายของการอบรม กลุ่มที่มีการสะท้อนจะทำได้ 23 % มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้มีการสะท้อนภาพ

ตามที่นักวิจัยได้กล่าว ภาพสะท้อน (reflection)จะนำไปสู่ความรู้สึกของความมีประสิทธิภาพ (feeling of self-efficacy) ที่เข็มแข็งมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ดีขึ้น

“เมื่อเราหยุด, สะท้อนภาพ, และคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ พวกเราจะรู้สึกถึงความมีประสิทธิภาพที่เข็มแข็งมากขึ้น” Francesca Gino ได้กล่าวไว้ “พวกเรามีแรงจูงใจมาก และพวกเราปฏิบัติได้ดีกว่าเมื่อก่อน”

การวิจัยเมื่อเร็วๆนี้พบว่า กลไกการทำงานของสมอง (brain mechanisms) จะถูกปลุกให้ตื่น เมื่อผู้คนปล่อยใจของเขาได้พัก และสะท้อนถึงภาพต่างๆที่พวกเขาเพิ่งได้เรียนรู้ ต่อมากก็ยกระดับการเรียนรู้ของตนเอง

Margaret Schlichtling และ Alison Preston กำหนดให้มีภาระงานการเรียนรู้ 2 ชิ้น ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมต้องจำรูปที่เป็นคู่และสามารถเชื่อมโยงซึ่งกันและกันได้ ระหว่างภาระงาน ผู้เข้าร่วมจะพักผ่อน และคิดเกี่ยวกับทางเลือกของพวกเขา แต่การสแกนสมองพบว่าผู้คนต่างๆที่ได้ใช้เวลาในการคิดหรือสะท้อนภาพถึงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จะทำภาระงานได้ดีกว่า

Preston กล่าวว่า “พวกเราได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่สมองจัดการกับข้อมูล ในช่วงการพักผ่อนสามารถทำให้การเรียนรู้ในอนาคตพัฒนามากขึ้น” “พวกเราคิดว่าการทบทวนความทรงจำระหว่างการพักทำให้ความทรงจำดีขึ้น ไม่เพียงแต่เนื้อหาที่เป็นแบบฉบับเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความทรงจำด้วย”

Preston กล่าวอีกว่า “ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นแบบแยกส่วนหรอก” “เมื่อคุณกำลังเรียนรู้บางอย่างที่ใหม่ คุณจะต้องเอาประสบการณ์ หรือความรู้เดิมทั้งหมดมาตีความข้อมูลใหม่ หลังจากทำเสร็จ คุณจะได้นำข้อมูลอันใหม่มาเป็นความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว”

ดังนั้นจากที่คุณอ่านมา ภาพสะท้อน หรือการสะท้อน (reflection) ไม่ใช่ยุทธวิธีการสอนอันใหม่ที่จะฆ่านักเรียนของคุณให้ตายลงไป ภาพสะท้อนพัฒนาการปฏิบัติ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมการสะท้อนจึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในกระบวนการเรียนรู้ ภาพสะท้อนช่วยเราในการจัดลำดับ, สร้างความหมาย, และสามารถทรงจำได้ดียิ่งขึ้น ข้างล่างคือวิธีการประเมินตนเอง 5 โดยผ่านการสะท้อน นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเหลือการเรียนรู้ได้

ประโยชน์ 5 ประการ สำหรับการประเมินตนเอง

1. ตีความ (interpreting)

การตีความเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ แต่เรามักจะไม่เคยใช้เวลาไปกับการตีความเลย การเรียนรู้สังกัปใหม่ (a new concept) ใช้เวลานานไหม? บริบทต่างๆและความรู้พื้นฐานได้ช่วยเหลือเราหรือไม่? เธอเรียนรู้สำเร็จ หรือต้องการเรียนต่อ? การตีความการเรียนรู้ของเราเองช่วยในการทำให้คุณตระหนักรู้แบบแผน และนิสัย (pattern and habit) ซึ่งคุณสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความทรงจำที่ดีที่สุดได้

2. การจัดแจง (organizing)

พวกเราโดยส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้เวลาในการจัดแจงสังกัปเดี่ยว(individual concept) จนกลายเป็นแบบแผนของความสัมพันธ์เชิงเหตุผลเท่าใดนัก (general pattern of cause-and- effect) หรือแม้แต่ทำให้สังกัปนั้นแตกเป็นจุดย่อยๆ ปกติแล้ว เป็นเรื่องของครูในการทำสิ่งดังกล่าว ก็คล้ายๆกับที่เขาออกแบบบทสอน แต่ไม่มีหลักประกันว่าจะทำได้ดีหรือเปล่า ประโยชน์ของการประเมินตนเองคือการให้โอกาสที่จะจัดแจงทุกอย่างอย่างที่ต้องการ ผลที่ได้ก็คือมีการเชื่อมโยงระหว่างสังกัป และสุดท้ายจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น

3. การเชื่อมโยง (Connecting)

เมื่อคุณประเมินการเรียนรู้ของคุณ คุณจะสร้างการเชื่อมโยงระหว่างทุกสิ่งที่คุณไม่เคยคิดถึง คุณจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้, นิสัยทางการเรียนรู้, วิธีการสอน, เนื้อหาวิชา ฯลฯ และนอกเหนือจากนั้น การเชื่อมโยงยังเป็นการจัดการปัจจัยต่างๆเพื่อที่จะให้นิสัยทางการเรียนรู้ (learning preference) ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น

4. การแนะแนว (Guiding)

เมื่อคุณสะท้อนภาพสิ่งที่ได้เรียนรู้, สิ่งที่ยังไม่เรียนรู้, และสิ่งที่คุณต้องการจะรู้ คุณจะมีความคิดที่ดีขึ้นในเรื่องการแนะแนวการเรียนรู้ของคุณเอง

5. ความทรงจำ (Retaining)

บ่อยครั้งแค่ไหนที่เราทบทวนประวัติศาสตร์ เมื่อเราต้องเรียน? ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะเราไม่เคยทบทวน หรือใช้ข้อมูลเล็กๆ ตั้งแต่เราเรียนวิชานี้ ยิ่งเราคิดบางอย่างกับสิ่งที่เรียนมากขึ้นเท่าใด (ไม่ว่าจะเป็นการเขียน, การพูด, หรือแม้แต่ภาพสะท้อน) เราก็ยิ่งจะจำมันได้มากขึ้นเท่านั้น ยกระดับการเรียนรู้ของตนเอง

สิ่งที่ขาดไม่ได้ 10 อย่างในการประเมินตนเอง

ในระดับพื้นฐานที่สุด การประเมินตนเองมีนัยยะเดียวกับการตระหนักรู้ คุณอาจเรียกมันว่า mindfulness หรือ metacognition, self-reflection หรือ introspection ไม่ว่าจะเป็นคำใด แต่ก็มีความหมายเดียวกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณมีเวลาให้กับการประเมิน และเมื่อคุณมีนิสัยในการประเมินนี้แล้ว มันจะมีความง่ายในการมองว่าเราควบคุมการประเมินนี้ได้

1. จดสิ่งที่คุณรู้และคุณไม่รู้

คุณสามารถกำหนดเวลาที่เหมาะสมกับจดสิ่งที่รู้และไม่รู้ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ว่าจะหลังจากการเรียน, การบรรยาย, หรือแม้แต่ช่วงการสอบก็ตาม ประเด็นก็คือคุณต้องจดทุกครั้ง เพราะว่าพวกเราส่วนใหญ่จะไม่จด พวกเราหลายคนพยายามจะดูดซึมข้อมูล เพื่อให้จำได้ และสิ่งนี้ง่ายแต่ไม่พอเพียง!

2. วัดการจดบันทึกต่อต้านสิ่งที่จำได้

มีสหสัมพันธ์ระหว่างบันทึกที่คุณจด กับจำนวนข้อมูลที่คุณจำได้ ในช่วงสอบได้บ้างหรือไม่? หากไม่มีสหสัมพันธ์ คุณอาจคิดถึงเรื่องนิสัยการจดบันทึกอีกรอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่คุณจ่อมจมไปกับคำบรรยาย โดยการทุกอย่างลงมาก็ตาม บางครั้งคุณอาจใช้การอัดเทปคำบรรยาย และจดบันทึกทีหลัง

3. สอบตนเองบ่อยๆ และด้วยวิธีการต่างๆ

คุณไม่รู้อย่างแท้จริงว่าสิ่งที่คุณมีคืออะไรจนกว่าจะมีการสอบตนเอง ดังนั้นจงสอบในแต่ละวันด้วยตนเอง และหลายๆวิธี ถ้าเธอใช้บัตรคำ (flashcards) เมื่อวาน ลองเปลี่ยนมาเป็นการบรรยายเล็กๆ (mini-lecture)ในวันนี้ ยิ่งหลากหลายมากขึ้นเท่าไร สมองก็จะจำได้ดีขึ้นเท่านั้น

4. วัดความทรงจำซ้ำแล้วซ้ำอีก

หากจุดหมายของคุณคือการทรงจำข้อมูลนั้นให้นานเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณจะต้องทบทวนมันบ่อยๆซ้ำแล้วซ้ำอีก สิ่งนี้บันทึกผลการเรียนรู้ (learning portfolio) สามารถช่วยได้

5. บันทึกระดับสิ่งที่สนใจ

บทเรียนที่คุณต้องเรียนด้วยความยากเย็น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่คุณสนใจเสมอไป และสิ่งที่คนสนใจก็ไม่ใช่สิ่งที่คุณต่อสู้ด้วยความเย็นเสมอไป เมื่อคุณได้รับเกรดที่ไม่ต้องการ จงบ่งชี้ว่าเหตุผลคืออะไร และวางขั้นตอนในการแก้ไขด้วยตัวเอง

6. วัดความสามารถเรื่องข้อมูลกับคนอื่นๆ

นี่เป็นการวัดที่แท้จริงในความรู้สึกของฉัน หากคุณไม่สามารถอธิบายสังกัป (concept)ใดๆให้คนอื่นฟังได้แล้วหละก็ คุณก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย

7. เชื่อมโยงบทเรียนใหม่ๆกับความรู้เดิม

นี่เป็นสิ่งซึ่งคุณสามารถทำได้ ไม่ว่าความรู้ภูมิหลัง (background) หรือบริบทใดๆ ที่ผู้สอนให้มาก็ตาม คุณเป็นคนที่รู้พื้นที่รอยต่อการพัฒนา (proximal zone of development)ของคุณว่าอยู่ในระดับไหน ดังนั้นคุณก็เป็นคนเดียวที่สร้างบทเรียนใหม่ๆให้เข้ากับความรู้เดิม ซึ่งทำให้คุณจำทั้งบทเรียนใหม่และความรู้เดิมได้

8. วัดความทรงจำนอกเหนือบริบท

ทำไมการตอบคำถามแบบเชาว์ปัญญา (trivia question) จึงยาก? นั่นเพราะว่าคำถามอยู่นอกเหนือบริบท นั่นเป็นสิ่งที่ผู้ชนะดูน่าประทับใจ ซึ่งหมายถึง ความสามารถเรื่องความทรงจำรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงที่อยู่นอกเหนือบริบท คำว่านอกเหนือบริบทหมายถึง ไม่มีตัวแนะที่เกี่ยวข้อง (associative clues) หรือบริบทดั้งเดิมที่ให้เดาได้เลย

9. จงทำให้ความก้าวหน้าเป็นของส่วนตัวมากขึ้น

ความก้าวหน้าไม่ใช่คะแนนหรือเกรด จริงๆแล้วเป็นเรื่องการเรียนรู้ การจัดทำบันทึกผลการเรียน (personal portfolio) ส่วนบุคคลจะทำให้ระบบความเชื่อมต่อในเรื่องที่เรียนผ่านมาทั้งหมดง่ายขึ้น

10. วัดนิสัยในการเรียนรู้กับผลที่ได้รับ

ไร้ประโยชน์อย่างยิ่งที่จะใช้นิสัยการเรียนรู้แบบเดิมๆในการเรียนรู้ และแน่นอนก็เป็นสิ่งที่คุณเองก็ต้องรู้ว่านิสัยนั้นดีหรือไม่ อย่างไร ผลการสอบ หรือเกรดบ่งบอกทางไว้แล้ว เมื่อเราตั้งใจว่าจะเรียนให้หนักขึ้นในครั้งต่อไป ขอเปลี่ยนเป็น พวกเราจะเรียนด้วยความแตกต่างจากที่เคยเรียนมาแล้วอย่างไรจะดีกว่า ความก้าวหน้าจะอยู่ในการควบคุมของเรา!

แปลและเรียบเรียงจาก

Saga Brigge. How to Assess Your Own Learning.

http://www.opencolleges.edu.au/informed/features/how-to-assess-your-own-learning/

หมายเลขบันทึก: 612385เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2016 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2016 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ประเมินด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะผ่านอยู่ดี....น่ะครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท