รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนการจัดการความรู้ ด้านการเรียนการสอน-การพัฒนาหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558




รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนการจัดการความรู้

ด้านการเรียนการสอน-การพัฒนาหลักสูตร

ประจำปีการศึกษา 2558




คณะเทคโนโลยีสังคม

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์


วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559






คำนำ


จากพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ .. 2526 มาตรา 11 ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยการรับข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลความรู้ด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะกับสถานการณ์ ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรในองค์กรให้เป็นบุคลากรที่มีความใฝ่รู้และมีการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติราชการของแต่ละบุคคล เป็นไปตามเกณฑ์และมีวิธีการบริหารที่ดี จึงเกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในองค์กรขึ้


คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ และถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้มีการเรียนรู้ในองค์กรจึงจัดทำโครงการการจัดการควา (KM Action Plan) ด้านการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2558 ขึ้น คณะกรรมการ KM หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนการจัดการความรู้ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานและผลักดันให้บุคลากรสายผู้สอนทุกคนได้นำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางานของตนให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด























รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนการจัดการความรู้

ด้านการเรียนการสอน:กระบวนการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง

ประจำปีการศึกษา 2558


บทนำ

กระบวนการจัดการความรู้ เป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาระบบราชการไทย ซึ่งในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ .. 2546 มาตรา 11 ได้กำหนดไว้ว่า ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและยั่งยืน โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องร่วมกัน การบริหารราชการให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรงเพื่อพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน งาน และองค์กรต่อไป

คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจหลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย

ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งใน การพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพ มุ่งสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมี การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้ โดยรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้บุคลากรทั้งภายในและภายนอกคณะ สามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะเทคโนโลยีสังคม ได้มุ่งสู่การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอน เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในการขอเปิด -ขอเปิดหลักสูตร


ขั้นตอนการดำเนินการ

คณะเทคโนโลยีสังคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเครื่องมือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร และเพื่อให้ตอบรับและสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา องค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ ดังนี้

1. กำหนดนโยบายการจัดการความรู้ไว้ 2 ประการ

1.1 ส่งเสริมการนำกระบวนการจัดการความรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อให้สายวิชาการสามารถนำมาใช้ได้จริง

1.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้แก่บุคลากรทุกฝ่าย เพื่อให้สามารถดำเนินการในหน่วยงานได้อย่างต่อเนื่อง



2. ประกาศแต่งตั้งทีมงานการจัดการความรู้ ตามคำสั่ง ที่ 009/2558 (ในภาคผนวก)


3. การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา ในองค์ประกอบที่ 5 ตัวชี้วัดที่ 5.1 โดยจัดทำร่างองค์ความรู้ และแผนการจัดการความรู้ เสนอต่อคณะกรรมการการจัดการความรู้ เพื่อพิจารณา ตรวจสอบ แก้ไข เพิ่มเติม


4. คัดเลือกองค์ความรู้ จากการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 มติที่ประชุมได้เลือกหัวปลาสำหรับการจัดการความรู้ ในปีการศึกษา 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของคณะมากที่สุดใน 2 ประเด็น คือ

4.1 การจัดการความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอน

4.2 การจัดการความรู้เกี่ยวกับการวิจัย


5. การทบทวนและปรับปรุงแผนการจัดการความรู้จากการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 คณะกรรมการการจัดการความรู้ ได้ทบทวนแผนการจัดการความรู้ ตามนโยบายของคณะ เรื่อง : การพัฒนาหลักสูตร–การขอเปิด-ขอเปิดหลักสูตร


6. จัดทำแผนการจัดการความรู้ ก่อนที่คณะจะจัดทำแผนการจัดการความรู้ คณะได้วิเคราะห์ตนเอง (SWOT) เกี่ยวกับประเด็นการจัดการความรู้ของคณะ และกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการดำเนินการต่างๆ ที่กระบวนการจัดการความรู้จะช่วยส่งเสริมและก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร ทำให้ได้องค์ความรู้ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินการทุกภารกิจในประเด็นยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดที่เลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล โดยยึดตามขั้นตอนกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้น และประชาสัมพันธ์แผนการจัดการความรู้ให้สาขาวิชาและบุคลากรทราบถึงหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติในกรณีขอเปิด ขอปิดหลักสูตร





















สรุปกิจกรรมการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้

ประจำปีการศึกษา 2558











แบบฟอร์ม KM แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) : กระบวนการจัดการความรู้ (KM Process)

ชื่อหน่วยงาน คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ : ผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองตลาดแรงงาน

องค์ความรู้ที่จำเป็น (K) : การพัฒนาหลักสูตร

ตัวชี้วัด (KPI) : ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน/สถานประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิต

เอกสารแนวทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการขอเปิดและขอปิดหลักสูตร

เป้าหมายของตัวชี้วัด : บัณฑิตนักปฏิบัติด้านสังคมศาสตร์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพและสามารถแข่งขันได้ในประชาคมอาเซียน (AEC)

รูปแบบเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการดำเนินงานตามภารกิจหลักของคณะฯ สู่การนำไปปฏิบัติได้จริง

ลำดับที่

กิจกรรมการจัดการความรู้/ วิธีการสู่ความสำเร็จ

ระยะเวลา

ตัวชี้วัด


เป้าหมาย

เครื่องมือ/อุปกรณ์

ผู้รับผิดชอบ

สถานะ

หมายเหตุ

1

การบ่งชี้ความรู้

1. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน โดยกรรมการจะต้องเป็นประธานหลักสูตรหรืออาจารย์ประจำหลักสูตร

2. ประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้เพื่อกำหนดหัวข้อการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นทักษะการปฏิบัติ




17 ธันวาคม 2558

1.มีคณะกรรมการจัดการความรู้




2. ร้อยละของจำนวนคณะกรรมการการจัดการความรู้ที่เข้าประชุม

ไม่น้อยกว่า

7 คน




ร้อยละ 85

คำสั่งแต่งตั้ง





เอกสารประกอบการประชุม

คณะกรรมการการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน

ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว


ลำดับที่

กิจกรรมการจัดการความรู้/ วิธีการสู่ความสำเร็จ

ระยะเวลา

ตัวชี้วัด


เป้าหมาย

เครื่องมือ/อุปกรณ์

ผู้รับผิดชอบ

สถานะ

หมายเหตุ

2

การสร้างและแสวงหาความรู้

1. การรวบรวมความรู้ที่ชัดแจ้งจากเอกสาร หนังสือ ตำรา และจากอินเตอร์เน็ต


2. สำรวจหลักสูตรหลักสูตรที่เน้นทักษะการปฏิบัติ








3. ประชุมคณะกรรมการเพื่อรวบรวมความรู้ที่ฝังลึกของคณะกรรมการที่มีประสบการณ์ในการจัดทำหลักสูตร



17,21 ธันวาคม 2558


เอกสารรวบรวมความรู้


หลักสูตรที่ต้องปรับปรุง








.1. จำนวนครั้งในการประชุมระดมสมอง


2.ร้อยละของจำนวนคณะกรรมการการจัดการความรู้ที่เข้าประชุม



ไม่น้อยกว่า

7 รายการ


อย่างน้อย

4 หลักสูตรที่ได้รับการพัฒนา







อย่างน้อย

2 ครั้ง


ร้อยละ 85


หนังสือ ตำรา คอมพิวเตอร์


ชื่อหลักสูตร

1. หลักสูตรบริหารธุรกิจ

(การบัญชี)

(การตลาด)

(การจัดการ)

(เทคโนโลยีสารสนเทศ)


เอกสารประกอบการประชุม

คณะกรรมการการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน

ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว


ลำดับที่

กิจกรรมการจัดการความรู้/ วิธีการสู่ความสำเร็จ

ระยะเวลา

ตัวชี้วัด


เป้าหมาย

เครื่องมือ/อุปกรณ์

ผู้รับผิดชอบ

สถานะ

หมายเหตุ

3


การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

1. คณะกรรมการนำความรู้ที่รวบรวมได้ มาเรียบเรียงจัดทำเป็นเอกสาร /ฐานข้อมูล จากข้อ 2


7, 14 มกราคม 2559

ความสำเร็จในการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ

ร้อยละ 100 ภายในเดือน มกราคม 2559

คอมพิวเตอร์

คณะกรรมการการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน

ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว


4


การประมวลและกลั่นกรองความรู้




21 มกราคม 2559

เอกสารองค์ความรู้ ที่มีการจัดทำเป็นรูปเล่ม และ Web Blog

องค์ความรู้ด้านการพัฒนาการหลักสูตร

1 องค์ความรู้

คอมพิวเตอร์

คณะกรรมการการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน

ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว


5

การเข้าถึงความรู้




28 มกราคม 2559

มีการแจกคู่มือการพัฒนาหลักสูตร ให้กับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่ข้อมูลบน Web Blog


ร้อยละ 80 ของอาจารย์ประจำหลักสูตร

คู่มือการพัฒนาหลักสูตร

Web Blog

คอมพิวเตอร์

อาจารย์ในแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว






ลำดับที่

กิจกรรมการจัดการความรู้/ วิธีการสู่ความสำเร็จ

ระยะเวลา

ตัวชี้วัด


เป้าหมาย

เครื่องมือ/อุปกรณ์

ผู้รับผิดชอบ

สถานะ

หมายเหตุ

6


การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้




10

กุมภาพันธ์ 2559

การประชุมแลกเปลี่ยนความรู้

ร้อยละ 80 ของอาจารย์ประจำหลักสูตร

คู่มือการพัฒนาหลักสูตร


-คณะกรรม การการจัด การความรู้ด้านการเรียนการสอน

-อาจารย์ในแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

อยู่ระหว่างดำเนินการ


7

การเรียนรู้




10

กุมภาพันธ์2559

ความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาหลักสูตร เพื่อพัฒนาหลักสูตร ปีการศึกษา 2559

การพัฒนาหลักสูตร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 4 หลักสูตร

คู่มือการพัฒนาหลักสูตร

ฝ่ายวิชาการ

และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

อยู่ระหว่างดำเนินการ










ปัจจัยแห่งความสำเร็จ


1. บุคลากรส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องในแผนการจัดการความรู้ให้ความร่วมมือในการดำเนินการอย่างจริงจัง

2. ผู้บริหารให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

3. คณะกรรมการจัดการความรู้มีความรู้ความเข้าใจและมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย


ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน


บุคลากรสายวิชาการมีภาระงานมาก ทำให้การกำหนดวันและเวลาที่จะเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่อนข้างลำบาก ซึ่งคณะฯควรมีแนวคิดจะสร้างเทคโนโลยี/เครื่องมือที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนให้ใช้เวลาน้อยที่สุด




























ภาคผนวก

- คำสั่งคณะกรรมการจัดทำ KM

- ประมวลภาพกิจกรรม

- องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้






























































































































ภาพกิจกรรมการจัดการความรู้ : ด้านการเรียนการสอน-การพัฒนาหลักสูตร (1)









ภาพกิจกรรมการจัดการความรู้ : ด้านการเรียนการสอน-การพัฒนาหลักสูตร (2)

































ภาพกิจกรรมการจัดการความรู้ : ด้านการเรียนการสอน-การพัฒนาหลักสูตร (2)







องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ส่วนที่ 1 การขออนุมัติเปิดหลักสูตรใหม่ และหลักสูตรปรับปรุง

ส่วนที่ 2 การขออนุมัติปิดหลักสูตร หรือปิดโครงการเปิดสอน













ส่วนที่ 1

การขออนุมัติเปิดหลักสูตรใหม่ และหลักสูตรปรับปรุง

--------------------


หลักการเบื้องต้น


การขออนุมัติเปิดหลักสูตรใหม่ และหลักสูตรปรับปรุง เพื่อเสนอให้สภาวิชาการ สภามหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติหรือเห็นชอบ คณะต้องปฏิบัติ ดังนี้

1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงาน ความต้องการเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชา ตรวจสอบ ชื่อปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ตรวจสอบข้อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา และวิเคราะห์หลักสูตร

2. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ให้คณะที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ต่ออธิการบดี โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติการเสนอเปิดหลักสูตร และการปรับปรุงหลักสูตร

3. การเสนอขอเปิดหลักสูตรใหม่ หลักสูตรนั้นจะต้องได้รับการ บรรจุไว้ในแผนพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ หากเป็นหลักสูตรที่ไม่มีอยู่ในแผนฯ คณะต้องขออนุมัติปรับเข้าแผนฯ ก่อน โดยเสนอเรื่องไปที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน

4. หลักสูตรต้องมีโครงสร้างและมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

5. หลักสูตรต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยก่อนการเปิดสอนอย่างน้อย 6 เดือน

6. หลักสูตรที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยแล้วให้คณะผู้รับผิดชอบหลักสูตรจัดทำหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ มคอ.2 มคอ.3 มคอ.4 และแบบรายงานข้อมูลการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร โดยให้แยกเป็นรูปเล่มต่างหาก นำส่งสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ภายใน 3 สัปดาห์นับจากวันที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ











ขั้นตอนการจัดทำรายละเอียดหลักสูตร


การวิเคราะห์หลักสูตร ควรพิจารณาในประเด็น ดังนี้

1. เหตุผลและความจำเป็นในการเปิดหลักสูตรใหม่ ความต้องการของตลาดแรงงาน เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีที่มีผลต่อหลักสูตรในปัจจุบัน และอนาคต

2. หลักสูตรต้องการผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติเด่นอย่างไร

3. โครงสร้างหลักสูตรและรายวิชามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร หรือไม่

4. การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตร

5. ความพร้อมในด้านต่าง ๆ สำหรับการเปิดหลักสูตรใหม่ เช่น จำนวนอาจารย์ ด้านอุปกรณ์ วัสดุ ครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ การติดต่อ ความร่วมมือมีเพียงพอและเหมาะสมหรือไม่

6. ข้อเปรียบเทียบหลักสูตรนี้กับหลักสูตรสาขาวิชาเดียวกันที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในประเทศ หรือต่างประเทศ

7. ประเด็นอื่น ๆ

ขั้นตอนที่ 1 เสนอบรรจุหลักสูตรในแผนการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัย

การเสนอขออนุมัติหลักสูตรใหม่ ที่จะดำเนินการเปิดสอนต้องได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ หรือขอปรับโครงการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรที่มีบรรจุในแผนฯ แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ให้คณะเสนอเรื่องไปที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อเสนอขออนุมัติตามขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การร่างหลักสูตรใหม่ หรือ หลักสูตรปรับปรุง

1. คณะเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามประกาศมหาวิทยาลัยที่กำหนด เสนอต่ออธิการบดี เพื่อพิจารณาลงนามคำสั่งแต่งตั้ง

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร มีหน้าที่ศึกษาและดำเนินการยกร่างหลักสูตร ให้มีโครงสร้างและเนื้อหารายวิชาสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของมหาวิทยาลัย สกอ . หรือ สอศ . และตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาการ มาตรฐานขององค์กรวิชาชีพควบคุม (ถ้ามี) โดยให้มีหัวข้อรายละเอียดของหลักสูตรตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

3. กรณีการร่างหลักสูตรปรับปรุงหัวข้อและรายละเอียดจะเป็นเช่นเดียวกับการร่างหลักสูตรใหม่ แต่ที่แตกต่างคือหลักสูตรปรับปรุงจะต้องเพิ่มเติมหัวข้อ เหตุผลที่ขอปรับปรุง คือ ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างหลักสูตรเดิมกับหลักสูตรปรับปรุง (สมอ.08)

4. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ต้องกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการเสนอขอความเห็นชอบตามขั้นตอน และการปรับแก้ไขร่างหลักสูตรตามข้อเสนอแนะของกรรมการชุดต่าง ๆ ต่อไป

5. กรณีร่างหลักสูตรใหม่ ให้จัดทำโครงการเปิดสอน เสนอมหาวิทยาลัย พร้อมกับร่างหลักสูตรด้วย ยกเว้นหลักสูตรปรับปรุง ไม่ต้องทำโครงการเปิดสอน เนื่องจากเป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทุกๆ 5 ปี ซึ่งมีการเรียนการสอนแล้ว



ขั้นตอนที่ 3 การวิพากษ์ร่างหลักสูตรใหม่ หรือ หลักสูตรปรับปรุง

1. คณะเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร ที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ สถานประกอบการผู้ใช้บัณฑิต หรือผู้ที่สนใจ จากภายนอกที่มีความรู้ในหลักสูตรและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกรรมการวิพากษ์หลักสูตรต้องไม่ซ้ำกับกรรมการพัฒนาหลักสูตร โดยเสนอต่ออธิการบดี เพื่อพิจารณาลงนามคำสั่งแต่งตั้ง

2. คณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร ดำเนินการวิพากษ์หลักสูตร ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะตลอดจนความต้องการบัณฑิตที่เหมาะสมกับการพัฒนาท้องถิ่น และประเทศชาติ

3. ให้ผู้เสนอร่างหลักสูตรจัดทำรายงานสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการวิพากษ์หลักสูตร หากมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเอกสารให้เรียบร้อยก่อนส่งสำนัก/งานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนเพื่อตรวจสอบตามขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบรูปแบบโดยสำนัก/งานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

กรณีคณะในศูนย์กลางมหาวิทยาลัย ให้เสนอสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องตามแบบฟอร์มการจัดทำหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เกณฑ์มาตรฐานของ สกอ . หรือ สอศ . เมื่อตรวจสอบแล้วจะส่งให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการปรับแก้ไข (ถ้ามี)

การส่งเอกสารเพื่อตรวจสอบ จะต้องส่งเอกสาร ดังนี้

1. เอกสารและไฟล์ร่างหลักสูตรต้นฉบับ จำนวน 1 ชุด

2. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร และคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร จำนวน 1 ชุด

3. สรุปรายงานผลการวิพากษ์หลักสูตร จำนวน 1 ชุด

4. ข้อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) จำนวน 1 ชุด

หากมีข้อเสนอแนะให้ผู้เสนอร่างหลักสูตรแก้ไขเอกสารให้เรียบร้อยก่อนเสนอคณะกรรมการระดับคณะ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 5 การเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการระดับคณะ

ให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเสนอเอกสารรายละเอียดร่างหลักสูตรที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้วต่อที่ประชุมคณะกรรมการระดับคณะ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอมหาวิทยาลัย ดังนี้

1. เสนอคณะกรรมการประจำคณะ

2. เสนอคณะกรรมการประจำคณะผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ภายหลังการพิจารณา หากมีข้อเสนอแนะให้ผู้รับผิดชอบแก้ไขเอกสารให้เรียบร้อยก่อนเสนอมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป


ขั้นตอนที่ 6 การเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการระดับมหาวิทยาลัย

หลักสูตรที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ คณะกรรมการประจำคณะผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผ่านการตรวจสอบจากสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนแล้ว ทั้งหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ให้ดำเนินการ ดังนี้

1. สภาวิชาการมหาวิทยาลัย

สภาวิชาการพิจารณาหลักสูตรเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง เลขานุการสภาวิชาการ จัดวาระการประชุมเพื่อพิจารณาหลักสูตร และมีหนังสือเชิญให้ผู้รับผิดชอบเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการฯ ในวัน และเวลาที่มีการประชุม หากคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตร และมีข้อคิดเห็นและหรือข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติม ให้ผู้รับผิดชอบแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อเสนอแนะ

เลขานุการสภาวิชาการ สรุปมติที่ประชุมที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบโดยคณะกรรมการสภาวิชาการฯ แจ้งให้ผู้รับผิดชอบนำเสนอขออนุมัติต่อสภามหาวิทยาลัยต่อไป

2. สภามหาวิทยาลัย

ให้ผู้รับผิดชอบนำเสนอหลักสูตร เพื่อขออนุมัติหรือเห็นชอบต่อสภามหาวิทยาลัย เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหรือเห็นชอบหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว เลขานุการสภามหาวิทยาลัย แจ้งมติให้ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ให้คณะผู้รับผิดชอบจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ ไปยังสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ภายใน 3 สัปดาห์ นับจากวันที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอต่อ สกอ .หรือ สอศ . พิจารณารับทราบการให้ความเห็นชอบต่อไป

    เอกสารหลักสูตร จำนวน 5 เล่ม

    รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.4) ทุกรายวิชาที่มีในหลักสูตร

    แบบรายงานข้อมูลการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบ โดยอธิการบดีลงนามรับรองความถูกต้องของข้อมูล จำนวน 1 ชุด

    สำเนามติสภามหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ

    แผ่นซีดีบันทึกไฟล์ข้อมูลตามข้อ 1 ถึง 4 จำนวน 1 แผ่น

ขั้นตอนที่ 7 การเสนอหลักสูตรต่อ สกอ . หรือ สอศ . กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กำหนดให้มหาวิทยาลัยเสนอหลักสูตรที่สภามหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติหรือเห็นชอบแล้วภายใน 30 วัน นับจากวันที่สภามหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติหรือเห็นชอบ

ดังนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จทันตามที่ สกอ . หรือ สอศ . กำหนด ขอให้คณะผู้รับผิดชอบหลักสูตร เร่งเสนอเอกสารภายใน 3 สัปดาห์ นับจากวันที่สภามหาวิทยาลัยมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบ


ขั้นตอนที่ 8 การเสนอหลักสูตรต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)

หลักสูตรที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหรือเห็นชอบให้เปิดสอน และ สกอ .หรือ สอศ .รับทราบแล้ว

เสนอสำนักงาน กพ . พิจารณาประเมินค่าหลักสูตร และ สกอ . หรือ สอศ . แจ้งผลการพิจารณาของสำนักงาน กพ .ให้มหาวิทยาลัยทราบต่อไป



ขั้นตอนที่ 9 การเสนอหลักสูตรต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (...)

หลักสูตรที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหรือเห็นชอบให้เปิดสอน และ สกอ .หรือ สอศ .รับทราบแล้ว

มหาวิทยาลัย โดยสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จะเสนอสำนักงาน ก ... พิจารณาประเมินคุณวุฒิหลักสูตรทางการศึกษา และสำนักงาน ก ... แจ้งผลการพิจารณาให้มหาวิทยาลัยทราบต่อไป



ข้อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง


ในการจัดทำข้อกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอหลักสูตร ให้คณะตรวจสอบระเบียบ หรือประกาศ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรสาขาวิชาให้ครบถ้วน หากปรากฏว่ายังไม่มีข้อกฎหมายใดที่รองรับหลักสูตรสาขาวิชาให้ดำเนินการจัดทำร่างข้อกฎหมายนั้น เสนอพร้อมกับการขออนุมัติหลักสูตร เช่น

กรณีที่ไม่มีชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาฯ ในพระราชกฤษฎีกาฯ ของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ให้ดำเนินการดังนี้

      จัดทำบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาฯ

      จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (ฉบับที่...) .. .....



แผนผังขั้นตอนการอนุมัติหลักสูตร

เอกสารประกอบวาระที่ 3.1.1 โครงสร้างการบริหารหลักสูตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ระดับปริญญา

กรณี หลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญา ให้ดำเนินการบริหารหลักสูตรเช่นเดียวกับหลักสูตรระดับปริญญา
































ส่วนที่ 2

การขออนุมัติปิดหลักสูตร หรือปิดโครงการเปิดสอน

--------------

หลักการเบื้องต้น

ให้คณะพิจารณาหลักสูตรที่อยู่ในเงื่อนไขต้องปิดหลักสูตร หรือปิดโครงการเปิดสอนหลักสูตร ตามประกาศมหาวิทยาลัย ดังนี้

1. ไม่มีการเรียนการสอนติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปีการศึกษา

2. ไม่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัย หรือความต้องการของประเทศ

3. ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของ สกอ . หรือ สอศ .

4. จำนวนนักศึกษาที่รับไว้ต่ำกว่าแผนการรับนักศึกษาร้อยละ 50 อย่างต่อเนื่อง 2 ปีการศึกษา

5. ไม่สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นได้ และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศได้ยาก

6. ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพหลักสูตร หรือผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสาขาวิชา ระดับคณะต่ำกว่าระดับดี ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 ปีการศึกษา


ขั้นตอนการดำเนินการ


1. คณะที่ต้องการปิดหลักสูตร เสนอเหตุผลในการขอปิดหลักสูตร หรือปิดโครงการเปิดสอนหลักสูตรตามแบบฟอร์มการเสนอขอปิดหลักสูตร /ปิดโครงการเปิดสอน ต่อคณะกรรมการประจำคณะ คณะกรรมการประจำคณะผู้รับผิดชอบหลักสูตร และส่งข้อมูลให้สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

2. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลการเสนอขอปิดหลักสูตร /โครงการเปิดสอน เสนอคณะกรรมการพิจารณาปิดหลักสูตร หรือโครงการเปิดสอน

3. คณะกรรมการพิจารณาปิดหลักสูตรฯ ให้ความเห็นชอบในการปิดหลักสูตร แจ้งคณะผู้รับผิดชอบหลักสูตร และรายงานผลต่อมหาวิทยาลัย

4. มหาวิทยาลัยเสนอขอปิดหลักสูตร/โครงการเปิดสอน ต่อสภาวิชาการ สภามหาวิทยาลัย เพื่อทักท้วงหรือให้ความเห็นชอบ

5. เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว ให้คณะจัดทำแบบเสนอขอปิดหลักสูตร /ปิดโครงการเปิดสอนหลักสูตร ส่งให้สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อแจ้งให้ สกอ ./สอศ. รับทราบการให้ความเห็นชอบปิดหลักสูตร/โครงการเปิดสอน

6. สกอ./สอศ. แจ้งผลการรับทราบการให้ความเห็นชอบปิดหลักสูตร/โครงการเปิดสอน ต่อมหาวิทยาลัย

7. มหาวิทยาลัยสำเนาแจ้งทุกหน่วยงานเพื่อทราบ


แผนผังขั้นตอนการเสนอขอปิดหลักสูตร หรือปิดโครงการเปิดสอนหลักสูตร








































หมายเลขบันทึก: 612183เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2016 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2016 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท