ไวยากรณ์ กับ ระบบคำ หรือ ไวยากรณ์ผ่านระบบคำ? (Grammar vs lexis or grammar through lexis?)


ในบทความนี้ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการสอนระบบคำ (Lexical Approach) ฉันมุ่งเน้นไปที่การสอนไวยากรณ์ในชั้นเรียน รวมทั้งการสอนของฉันเอง และตั้งใจที่จะเสนอการตกลงในการทำไวยากรณ์ให้เป็นระบบคำ (lexicalised) ฉันจะพิจารณาถึงปัญหาในการสอนไวยากรณ์แบบเก่า ก่อนที่จะนำเสนอว่าสิ่งที่เราต้องการก็คือปัจจัยทางไวยากรณ์ (grammar input) และการที่ระบบคำมีความจำเป็นต่อผู้เรียน

ระบบคำ = คำศัพท์+ไวยากรณ์ (Lexis = vocabulary + grammar)

การเปลี่ยนในการสอนภาษาอังกฤษที่เมื่อก่อนเน้นไวยากรณ์จนกลายมาเป็นระบบคำมีนัยยะถึงงการเปลี่ยนแปลงเจตคติของนักภาษาศาสตร์ ในอดีต นักภาษาศาตร์จะสนใจแต่ในเรื่องไวยากรณ์ของภาษาเท่านั้น แต่เมื่อมีคลังข้อมูลทางภาษาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น (corpus) สิ่งนี้ก็นำระบบคำ (lexis) มาเป็นตัวเปลี่ยนแปลง คำว่าระบบคำ (lexis) ซึ่งใช้กันในหมู่นักภาษาศาสตร์ในยุคโบราณ ตอนนี้ก็หมายถึงคำสามัญธรรมดา (common words) และบ่อยครั้งจะใช้ในตำราเรียน (textbooks)

ทำไมถึงได้ใช้คำศัพท์เทคนิค (lexis) ที่มาจากแวดวงนักภาษาศาสตร์ มาใช้แทนคำศัพท์ (vocabulary) เสียหละ? เอาให้ง่ายที่สุดคำศัพท์ มักจะหมายถึงคำศัพท์เป็นคำๆไป (โดยมากเราจะเห็นมีการจัดกลุ่มเอาไว้) แต่ระบบคำ (lexis) จะมีสังกัป (concept) ที่กว้างกว่า และประกอบด้วยคำหรือกลุ่มคำ ที่ต้องใช้ร่วมกันเสมอ หรือภาษาพจนานุกรมเขาให้ความหมายไว้ว่า “คำปรากฏร่วม” (collocation), คำที่ปรากฏอยู่คู่กัน (chunk) เช่น in my opinion (chunks), คำที่เป็นสูตรในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ทักทาย หรือจากลา (formulaic expressions) นอกจากนี้ยังหมายถึงกระสวน (pattern)ที่ใช้ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง โดยมากแล้วจะเกี่ยวข้องกับไวยากรณ์ เช่น ถ้าฉันเป็นเธอ....... (If I were you……), ฉันไม่ได้เจอคุณมานานแสนนานแล้ว (I haven’t seen you for ages) ฯลฯ

การตระหนักรู้เรื่องโครงสร้างไวยากรณ์เฉพาะเรื่อง เหมือนกับเป็นระบบคำ (lexical items) มีความหมายว่าการแนะนำโครงสร้างไวยากรณ์เฉพาะเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น โดยที่ไม่ต้องทำการวิเคราะห์ประโยคใดๆเลย จริงๆแล้ว ตั้งแต่แนวคิดเรื่องหน้าที่ (function) กับ ความคิด (notion) ที่เป็นหลักของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารได้รับความนิยมมานานแล้ว ดังนั้นโครงสร้างบางโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับไวยากรณ์ควรจะสอนเป็นระบบคำ (lexis) หรือเชิงหนน้าที่ (function)ได้ เช่น I’d like to (ฉันอยากจะ.....) ก็ต้องสอนในลักษณะความต้องการอยากมาก (desire) โดยนัยยะเดียวกัน ไวยากรณ์ระบบเก่า (traditional grammar) ก็ควรจะสอนเป็นระบบคำเช่นเดียวกัน


สอนไวยากรณ์ให้น้อย หรือให้มากดี

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณคุ้นเคยกับนักเรียนที่รู้เรื่องไวยากรณ์เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถพูดได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ตอนพูด หรือไม่ก็เสียงของนักเรียนไม่เป็นธรรมชาติ แต่ถูกหลักไวยากรณ์ Michael Lewis ซึ่งเป็นบิดาของการสอนด้วยวิธีระบบคำ (Lexical Approach) ครั้งหนึ่งเคยเสนอว่าไม่มีความสัมพันธ์ในทางตรงระหว่างความรู้ด้านไวยากรณ์และการพูด ในทางตรงกันข้ามคำที่เป็นสูตรในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ทักทาย หรือจากลา (formulaic expressions) มีนัยยะสำคัญทางสถิติในการพูดภาษาธรรมชาติ (natural language production)

นอกจากนี้กำทางไวยากรณ์บางจำพวกไม่สามารถจะฝึกได้ด้วยการเรียนรู้ Dave Willis เคยกล่าวไว้ว่า กลุ่มกริยาวลี (the grammar of orientation, the verb phrase) เช่น การใช้ Present Perfect ที่ยากๆ และการใช้กริยาช่วยบางตัว มีความยากยิ่งต่อการสอน วิธีการเดียวในการจับความหมายก็คือให้เด็กๆได้พบเจอ (exposure) และ ใช้ (use) อย่างต่อเนื่อง

สุดท้ายนี้ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญไวยากรณ์ที่มีชื่อในทางวิชาการมากที่สุด ยังไม่มีใครที่ให้ภาพรวมทางไวยากรณ์ได้สักคน ดังนั้นชื่อขึ้นต้นของหนังสือไวยากรณ์ทุกเล่มต้องเขียนว่า การแนะนำ (introduction) อยู่ด้วยเสมอ

หากนักไวยากรณ์ยังไม่สามารถที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับไวยากรณ์ได้ทุกอย่างแล้ว แล้วเราหละจะสามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับไวยากรณ์ได้อย่างไร จริงๆแล้ว หากเรามุ่งเน้นเฉพาะไวยากรณ์ที่เฉพาะเจาะจงเป็นอันๆไป กาลเวลาที่เฉพาะอัน พร้อมกับกริยาช่วยที่มีประโยชน์อย่างนั้นมากกว่า สรุปว่าพวกเราต้องให้นักเรียนประสบพบเจอกับภาษาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ และดึงความสนใจไปที่ประเด็นไวยากรณ์ที่มีความหลากหลายที่พวกเขาประสบอยู่ ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังจะสอนข้อความ (expression) ของ fall asleep กับ be asleep คุณเสนอประโยค สองประโยคให้แก่นักเรียน Don’t make any noise- she’s fallen asleep กับ Don’t make any noise- she’s asleep. แล้วถามนักเรียนว่า’s ในแต่ละข้อคืออะไร ระหว่าง is กับ has

หนึ่งในบรรดาบิดาของการสอนเพื่อการสื่อสาร ที่ชื่อว่า Henry Widdowson สนับสนุนให้ใช้การใช้ระบบคำ (lexical items) เป็นจุดเริ่มต้น และต่อมาครูควรจะทำให้ระบบคำนั้นเป็นการสื่อสารด้วย เช่น เมื่อเรากำลังสำรวจตัวบท (text) กับนักเรียน เราอาจจะเจอ They’ve been married for seven years. ครูอาจถามนักเรียนว่า พวกเขาแต่งงานมาแล้วกี่ปี ? นักเรียนจะสร้างประโยคได้หรือไม่ว่า หากมีคู่ที่เพิ่งจะแต่งงานได้ไม่นานมานี้?

ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เราเห็นว่าครูมีเครื่องมืออยู่ และใช้ทุกๆโอกาสในการดึงความสนใจของนักเรียนมาสู่ไวยากรณ์ เราเรียกสิ่งนี้ว่า grammar spot การทำ grammar spot จะช่วยดึงการตระหนักรู้ (awarness) ของนักเรียนทีละน้อย และสร้างความเข้าใจในระบบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วย


ไวยากรณ์หลังจากระบบคำ (grammar after lexis)

บทเรียนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาโดยมากแล้วจะสอน คำปรากฏร่วม (chunk) เช่น Good morning, How are you?, Where do you live?, อย่างไรก็ตาม ยิ่งผู้เรียนยิ่งแก่ ความจำก็จะน้อยลง พวกเขาเปิดรับแต่การคิดวิเคราะห์ (analytic thinking) และมีแนวโน้มที่จะแยกภาษาออกเป็นส่วนๆ สื่อการสอน (teaching material) ที่แยกระหว่างไวยากรณ์กับคำศัพท์ก็ไม่ได้ช่วยอะไรทั้งสิ้น

แล้วเราจะมีวิธีอะไรที่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างระบบไวยากรณ์ (grammar system) ในขณะเดียวกันจะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้กฎที่ไม่ปรากฏตัวนั้นด้วย (unlearnable rules)? ขอพูดอีกครั้งหนึ่ง กุญแจที่จะเริ่มภาษา โดยการให้เห็นตัวอย่างต่างๆที่ใช้จริงๆ (in use) และนำเสนอเป็นคำปรากฏร่วม (chunk) โดยไม่ต้องเสียเวลาในการวิเคราะห์โครงสร้างให้มากในตอนต้นของการเรียน

ตัวอย่างเช่น กริยาช่วย might (อาจจะ) ซึ่งมีวิธีการใช้จำนวนมาก อาจเป็นการนิรนัย (deduction), ขออนุญาต (permission), รวมทั้งเป็นอดีตของ may อีกด้วย คำเหล่านี้ทั้งหมดต้องปรากฏกริยา take ขึ้นก่อน และจำเป็นต้องใช้เวลามาก ดังนั้นมันดีกว่าไหม ที่เสนอเป็นคำปรากฏร่วมไปเลย (chunk) เช่น It might take a while โดยที่ไม่ต้องวิเคราะห์คำว่า might อย่างเป็นทางการ

คำปรากฏร่วมที่ต้องจำได้แบบนี้ (memorized chunks) ก็นำไปสู่การรู้ในภาษาแม่ (grammar acquisition) นอกจากนี้ยังสามารถที่จะผลิตตัวอย่างจากตัวอย่างที่ให้ไป โดยที่ไม่ต้องอธิบายโครงสร้างที่เป็นทางการเลย หลังจากที่จำ It might take awhile แล้ว ผู้เรียนก็สามารถสร้างตัวอย่างต่างๆได้ เช่น It might take a long time, It might take a couple of weeks, It might take even longer ได้

ไวยากรณ์ผ่านระบบคำ (Grammar through lexis)

ครั้งหนึ่งฉันได้รับเชิญให้ไปเป็นครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษา นักเรียนระดับห้า ซึ่งได้เคยเรียนการถามโดยใช้ Past Simple มาแล้ว ก็ถามฉันว่า “Did you go to BuckinghamPalace?” (คุณไปพระราชวัง Buckinghamหรือไม่) “Did you see the Queen?” (คุณเห็นพระราชินีหรือไม่) “Did you visit the Tower of London?” (คุณไปเที่ยวที่ Tower of London หรือไม่) ในขณะที่ค่อยข้างประทับใจกับความรู้เรื่องทิวทัศน์ในลอนดอน และสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ แต่ก็ให้สงสัยว่าวันหนึ่งพวกเขาจะได้เรียนสิ่งที่เคยเรียนมาแล้วหละ? จริงๆแล้วในตัวอย่างที่ผ่านมาทั้งหมด เราจำเป็นต้องใช้ Present Perfect มากกว่า Past Simple เช่นอาจต้องเปลี่ยนคำถามแรกเป็น Have you been to……..? แน่นอนว่าการใช้ Present Perfect จะเป็นธรรมชาติมากกว่า Past Simple แต่ถ้าใช้ Past Simple ประโยคต้องเป็น Did you have a nice weekend? คุณมีวันหยุดที่วิเศษหรือไม่ What did you do? คุณไปทำอะไร หรือ Did you stay at home all day? คุณอยู่ที่บ้านตลอดวันใช่ไหม เป็นต้น

การค่อยๆสอนจากไวยากรณ์ที่ง่ายไปหายากนั้นจะต้องเป็นไปแบบเส้นตรง กล่าวคือจะข้ามขั้นตอนไม่ได้ (linear sequence) การกระทำเยี่ยงนี้ก็คือการทำให้หลักสูตรเชิงโครงสร้างแข็งแรงขึ้น (structural syllabi)

ฉันจำการสอนในระดับขั้นกลางได้ (intermediate course) ที่ใช้หนังสือ New Headway Intermediate ซึ่งตอนนั้นได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างมาก และการใช้ Present Perfect ในตอนต้นยังไม่มี ต้องรอไปจนถึงอีกครึ่งเล่มของหนังสือ ฉันรู้สึกผิดๆจริงๆได้บอกกับนักเรียนว่า “พวกเธอยังไม่พร้อมสำหรับการเรียนกาลเวลานี้” เพราะว่าพวกเขายังไม่ได้เรียนถึงกาลเวลาอื่นๆ หรือโครงสร้างอื่นๆที

โชคร้ายเป็นอย่างยิ่งที่หนังสือหลายๆเล่มตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เจอกับโครงสร้างที่ต้องสอนอย่างเป็นทางการได้ การลบไวยากรณ์ที่ยากๆออกไป ด้วยการเกรงว่าหากนักเรียนเจอจะทำให้สับสนได้ นี่เป็นเรื่องที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันทำให้นักเรียนไม่เจอกับการใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งพวกเขาต้องการในการที่จะสร้างความเข้าใจในไวยากรณ์ส่วนนั้นได้

การเรียนรู้ภาษานั้นเป็นกระบวนการที่เป็นวงกลม (cyclical process) และการที่จะให้เชี่ยวชาญนั้นเป็นเรื่องที่ใช้เวลา ถ้าเรากลับไปที่ตัวอย่างที่ใช้ would อีกครั้ง กริยาช่วย would มีวิธีการใช้ที่หลากหลายมากๆ นอกเหนือจากการแสดงความต้องการแล้ว ยังหมายถึงอดีตในอนาคต (Future in the Past), การสมมติ หรือการจินตนาการ และนิสัยในอดีต นี่กล่าวย่อๆ

ดังนั้นนักเรียนในระดับต้นของเรา (elementary level student) ที่ต้องใช้ would like (ต้องการ) ก็แสดงว่าพวกเขายังไม่เรียนรู้เรื่อง would ดีพอ แต่อย่างน้อย พวกเขาก็รู้แล้วว่าแสดงความต้องการได้อย่างหนึ่งหละ โดยนัยยะเดียวกัน โครงสร้างไวยากรณ์ที่ยุ่งยากก็สามารถที่จะพูดถึงสถานการณ์บางอย่าง หรือหน้าที่บางอย่าง นี่คือตัวอย่าง

Present perfect

แทนที่จะสอนในระดับกลาง แต่เราควรสอนในระดับต้น โดยการถามถึงการเดินทาง (travel) เช่น Have you been to London, Turkey, South America? คุณเคยไปที่ลอนดอน...........หรือไม่?

ต่อมาอาจเสนอเรื่องหัวข้อหนังก็ได้ เช่น Have you seen Matrix 2? เคยดู Matrix 2 หรือยัง?

Past Perfect

บางครั้งเราอาจเสนอให้อยู่ในรูปของคำร่วม เช่น worse that I’d expected ต่อมาก็ขยายออกเป็น than I’d imagined, than I’d thought, than I’d anticipated

แน่นอนว่าตัวอย่างเหล่านี้ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของ Present หรือ Past Perfect ดีนัก แต่ก็ช่วยให้เข้าใจของสังกัป (concept) ที่จะเรียนในขั้นต่อไป ดังนั้นก่อนที่นักเรียนจะได้วิเคราะห์โครงสร้างเหล่านี้ นักเรียนต้องรวบรวมตัวอย่างที่เพียงพอที่ใช้ในความเป็นจริง (in use) กล่าวในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ ก่อนการอธิบายโครงสร้างอย่างเป็นทางการซึ่งดูซ้ำซาก นักเรียนก็ได้นำโครงสร้างเหล่านี้มาไว้ในตัว (internalize) โดยอาศัยระบบคำเสียแล้ว

จะมีพื้นที่สำหรับการสอนไวยากรณ์หรือไม่? คำตอบต้องบอกว่าใช่ แต่การปฏิบัติไวยากรณ์ควรต้องเริ่มต้นที่ระบบคำ การนำเสนอให้นักเรียนประสบพบเจอกับตัวอย่างที่มีบริบท และเป็นธรรมชาติที่ใช้จริง (natural and contextualized examples) เป็นจำนวนมากๆจะนำเสนอระบบคำไปพร้อมกับไวยากรณ์ของภาษา

สรุป ไวยากรณ์ควรจะมีบทบาทในการสอนภาษาอังกฤษ แต่ต้องไม่ใช่เป็นเวลาส่วนใหญ่ในห้องเรียน จริงๆแล้วไวยากรณ์ควรเสนอให้กับนักเรียนจำนวนน้อยๆแต่บ่อยๆ นักเรียนต้องเก็บตัวอย่างในโครงสร้างที่เฉพาะจำนวนมาก แล้วค่อยมาวิเคราะห์ การสังเคราะห์ต้องมาก่อนการวิเคราะห์

สุดท้ายนี้ นักเรียนทางภาษาต้องจำไว้ในใจว่าการรู้ภาษาเหมือนเป็นภาษาแม่นั้น (grammar acquisition) เป็นกระบวนการที่ค่อยๆสั่งสม (incremental process) ซึ่งต้องการการเน้นแล้วเน้นอีกในภาษาที่เพิ่งเรียน

แปลและเรียบเรียงจาก

Leo Selivan. Grammar vs lexis or grammar through lexis? http://www.teachingenglish.org.uk/article/grammar-vs-lexis-or-grammar-through-lexis?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=bc-teachingenglish

หมายเลขบันทึก: 611647เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2016 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2016 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีข้าวโพดสด ๆ มาฝากอาจารย์์ด้วยจ้ะ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท