คำคม KM


วรรคทองทฤษฎีการจัดการความรู้
วรรคทองทฤษฎีการจัดการความรู้ There is a great big river of data out there. Rather than building dams to try and bottle it all up into discrete little entities, we just give people canoes and compasses. มีสายธารแห่งความรู้อยู่โน่น อย่ามุ่งสร้างเขื่อนกักน้ำและตักน้ำใส่ขวดเป็นความรู้ชิ้นเล็กชิ้นน้อย จงหาเรือและเข็มทิศให้แก่ผู้คน ให้เขาแสวงหาและตักตวงความรู้เอาเอง (A. Dragoon, 1995) Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents but rather interactions between people. การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน (Mason & Mitroff, 1973) The future is moving so quickly that you can it anticipate it. We have put a tremendous emphasis on quick response instead of planning. We will continue to be surprised, but we won it be surprised that we are surprised. We will anticipate the surprised. อนาคตเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วจนคาดคะเนล่วงหน้าไม่ได้ จึงต้องเน้นการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่การวางแผน เราจะประหลาดใจต่อ สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ เราจะคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะพบความประหลาดใจ (S. Kerr) Shift from error avoidance to error detection and correction. จงเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ไปสู่การค้นหาความผิดพลาดและแก้ไข Use your good judgement in all situation. จงใช้วิจารณญาณของท่านในทุกสถานการณ์ Knowledge management caters to the critical issues of organizational adaption, survival and competence in face of increasingly discontinuous environmental change. Essentially, it embodies organizational process that seek synergistic combination of data and information-processing capacity of information technologies, and the creative and innovative capacity of human beings. การจัดการความรู้มีเป้าหมายหลักเพื่อการปรับตัว ความอยู่รอด และการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แบบไม่สามารถคาดเดาได้ เป็นกิจกรรมที่องค์ประกอบสำคัญคือ กระบวนการ (process) ในระดับองค์กรที่มุ่งสร้างพลังเสริม (synergy) ระหว่าง ความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม กับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการประมวลข้อมูลและข้อสนเทศ (Y. Maholtra) The focus of organizational knowledge management should shift from "prediction of future" to "anticipation of surprise". จุดเน้นของการจัดการความรู้ขององค์กรควรเปลี่ยนจาก "การทำนายอนาคต" สู่ "การคาดหวังความประหลาดใจ" (Y. Maholtra) Knowledge resides in the users and not in the collection. ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้ (Y. Maholtra) Knowledge is embodied in people gathered in communities and network. The road to knowledge is via people, conservations, connections and relationships. Knowledge surfaces through dialogue. All knowledge is socially mediated and access to knowledge is by connecting to people that know or know who to contact. ความรู้ฝังอยู่ในคนที่รวมตัวกันเป็นชุมชนหรือเครือข่าย ถนนเข้าสู่ความรู้ผ่านคน การสนทนา การติดต่อสื่อสาร และความสัมพันธ์ ความรู้จะปรากฏตัวออกมาผ่านการสนทนาแลกเปลี่ยน ความรู้ทั้งหมดถ่ายเทผ่านกระบวนการทางสังคม การเข้าสู่ความรู้ทำได้โดยการติดต่อสื่อสารทำได้โดยการติดต่อสื่อสารกับผู้รู้หรือผู้รู้ว่าควรสอบถามใคร (Denham Grey) If we only knew what we knew, we id be three times more profitable. ถ้าเรารู้ว่าเรารู้อะไรบ้าง เราจะมีกำไร 3 เท่าของที่เป็นอยู่ (Lew Platt, former CEO of HP) The illiterate of the twenty-first century will not be those who cannot read and write, but those who cannot learn, unlearn and relearn. ความหมายของคำว่า illiterate แห่งศตวรรษที่ 21 จะไม่ใช่ผู้ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่จะหมายถึงผู้ที่ไม่มีความสามารถในการเรียนรู้ ลบความรู้ ชุดเก่าที่ล้าสมัยออกจากสมอง และเรียนรู้ความรู้ชุดใหม่ (Alvin Toffler) KM is a journey, not a destination. การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง (Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai) Knowledge can be used without being consumed. ความรู้สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่หมดไป Thomas Steward (1999) อ้างใน Davidson C, Voss P. Knowledge Management : An introduction to creating competitive adventage from intellectual capital. Tandem Press 2002, p.35. The strangest thing about knowledge is that is unpredictable. ความแปลกประหลาดที่สุดของความรู้ คือ เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ Thomas Steward (1999) อ้างใน Davidson C, Voss P. Knowledge Management : An introduction to creating competitive adventage from intellectual capital. Tandem Press 2002, p.36. The unpredictability of knowledge means that, ultimately, it has a value that cannot be assessed until it is already possessed. ความไม่แน่นอน คาดเดาไม่ได้ของความรู้ เกิดจากความหมายของความรู้ขึ้นอยู่กับค่านิยมของผู้ครอบครองความรู้นั้น Thomas Steward (1999) อ้างใน Davidson C, Voss P. Knowledge Management : An introduction to creating competitive adventage from intellectual capital. Tandem Press 2002, p.36. Knowledge comes from people. People may have different capacity for knowledge creation, but equal opportunity to share data that lead to knowledge. ความรู้มาจากคน คนเราอาจมีความสามารถต่างกันในการสร้างความรู้ แต่ทุกคนมีโอกาสเท่ากันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์อันจะนำไปสู่ความรู้ (นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล : ผอ. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล - พรพ.) Response to the uncertainty and ill - defined condition indicates organizational capacity for knowledge management. ท่าทีต่อความไม่แน่นอนและความไม่ชัดเจน สะท้อนขีดความสามารถขององค์กรในการจัดการความรู้ (นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล : ผอ. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล - พรพ.) Quality is a voluntary process, authority prohibits learning and quality improvement. คุณภาพเป็นกระบวนการที่เกิดจากความสมัครใจ อำนาจมีผลยับยั้งการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพ (นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล : ผอ. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล - พรพ.) We only know what we know when we need to know it. จะรู้จริงก็ต่อเมื่อต้องการใช้ความรู้นั้น (DJ Snowden) A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle. ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉยๆ (Kahlil Gibran) Knowledge is contextual and triggered by need. ความรู้เป็นสิ่งที่ขึ้นกับบริบทและกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยความต้องการ Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private. ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล Knowledge is not what you know, but is what you do. ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ Knowledge management has an outside-in value, and process-focused. การจัดการความรู้อยู่บนคุณค่าของการมองจากมุมมองภายนอกและเน้นที่กระบวนการ There is no such thing as a knowledge-burger. ความรู้ไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูป Knowledge is mutable and can take on many faces in an organization. ความรู้เปลี่ยนโฉมได้ สามารถแสดงออกมาได้หลายภาพภายในองค์กร Knowledge is justfied true belief. ความรู้คือความเชื่อที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้วอย่างเข้มข้น Knowledge cannot be managed, only enabled. ความรู้เป็นสิ่งที่จัดการไม่ได้ ได้เพียงส่งเสริมเอื้ออำนวย Managers need to support knowledge creation rather than control it. ผู้บริหารต้อง ส่งเสริม การสร้างความรู้ ไม่ใช่ ควบคุม Knowledge is a construction of reality rather than something that is true in any abstract or universal way. ความรู้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นแบบจำลองของความเป็นจริง ความรู้ไม่ใช่สิ่งที่เป็นแท้จริง Knowledge is information that is actionable. ความรู้คือสารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ การดูจังหวะ และเลือกหยิบเอาเครื่องมือที่ถูกกับจังหวะนั้นไปใช้ เป็นสิ่งที่คุณอำนวยต้องเรียนรู้ (คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ โครงการสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข) KM สามารถทำให้คนที่ไม่เคยมีโอกาสขึ้นเวทีแสดงความสามารถ ได้เข้ามาร่วมแจมด้วย (พญ. นันทา อ่วมกุล - กรมอนามัย) KM ทำให้คนเห็นมิติของวัฒนธรรมใหม่ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงความสามารถ (ผศ.ดร. เลขา ปิยะอัจฉริยะ นักวิชาการอิสระภาคการศึกษาพื้นฐาน - สกศ.) กระบวนการ KM ทำให้คนมีความเอื้อเฟื้อ ความเป็นกันเอง มีความเป็นกัลยาณมิตรเกิดขึ้น (ดร.วัลลา ตันตโยทัย โรงพยาบาลเทพธารินทร์) การจัดการความรู้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม (ดร. ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ รองผอ. ร.ร. จิระศาสตร์วิทยา จ.พระนครศรีอยุธยา) Tacit Knowledge คือ ขุมทรัพย์ในตนนั่นเอง ซึ่งมีอยู่ในทุกคน ทุกคนมีคุณค่า (ผศ.ดร. เลขา ปิยะอัจฉริยะ นักวิชาการอิสระภาคการศึกษาพื้นฐาน - สกศ.) ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือตัวใด หาก approach เข้าไปแล้วทำให้เกิดการพัฒนางานดีขึ้น ก็จะสนับสนุนให้คนทำต่อไป (อ.พิชิต เรืองแสงวัฒนา รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ปัญหาของชาวนานั้น ไม่ใช่เรื่องเทคนิค หรือเทคโนโลยีการผลิตข้าว มีของดี หรือ best practice อยู่แล้ว แต่การเรียนรู้ของชาวนาไม่เกิด เพราะติดด้วยกระบวนทัศน์ ที่ถูกฝังหัวมานาน การเปลี่ยนกระบวนทัศน์นั้น เป็นเรื่องยาก แต่จากการทำงานพบว่ามี 2 ปัจจัยที่ทำให้คนค่อยๆเปลี่ยนได้ นั่นคือ 1) กระบวนการเรียนรู้ (ด้วยตัวเอง) 2) กระบวนการกลุ่ม (เรียนรู้เป็นกลุ่ม) (คุณเดชา ศิริภัทร มูลนิธิข้าวขวัญ) สิ่งที่ผู้บริหารต้องทำเสมอ คือ 1) สร้างศรัทธาในวิธีการที่ทำ นั่นก็หมายถึง หากเตรียมตัวดี ภาพดีๆ ก็จะเกิดมากขึ้น ศรัทธาก็จะตามมา 2) สร้างของยากให้เป็นของง่าย ทำให้เป็นเรื่องที่คนทำงานเห็นว่าเป็นเรื่องที่เขาทำได้ ไม่เกินความสามารถ และ 3) คอยดูให้รางวัลเสมอๆ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจทีมงานคนทำดี (ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร)
หมายเลขบันทึก: 61091เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท