อุทยานโลกไดโนเสาร์




ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบโดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ในปีพ.ศ. 2537 และได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ โดยคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณี ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2537 พบว่า ภูกุ้มข้าว ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย โดยพบกระดูกไดโนเสาร์เกือบทั้งตัว กองรวมอยู่กับกระดูกไดโนเสาร์กินพืชอีกชนิดหนึ่ง กระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมี รูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชไม่น้อยกว่า 7 ตัว นอกจากนี้ยังพบฟันของไดโนเสาร์ทั้งกินพืช และกินเนื้ออีกอย่างละ 2 ชนิด จากลักษณะของกระดูกพบว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง ( Phuwiangosaurus sirindhornae ) 1 ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก 1 ชนิด คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก

พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมคือศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานศึกษาวิจัย อนุรักษ์เก็บรวบรวมตัวอย่างอ้างอิงซากไดโนเสาร์และ สัตว์ร่วมสมัยและนำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่แก่นักท่องเที่ยวในรูปของพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวปีละกว่า 2 -3 00 , 000 คน มีความเป็นมาและรายละเอียดของการจัดการ ดังนี้ ปี 2521 คณะสำรวจธรณีวิทยา โดยนายวราวุธ สุธีธร พบซากกระดูกไดโนเสาร์ที่เก็บไว้โดย พระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ปี พ.ศ. 2537

ปี 2538 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูกไดโนเสาร์ จัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น โดยสร้างอาคารหลุมขุุดค้นเป็นการชั่วคราวเพื่อใช้ป้องกันซากกระดูก รวมทั้งใช้บังร่มเงาแก่นักวิชาการในการขุดแต่งกระดูก ปี 2539 กรมทรัพยากรธรณีสร้างอาคารวิจัยมีพื้นที่ใช้งาน 375 ตารางเมตร เพื่อเป็นสถานที่ทำการอนุรักษ์ ศึกษาวิจัยและเก็บรวมรวมซากดึกดำบรรพ์ที่สำรวจพบในประเทศไทย

ปี 2547 ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 (ฝ่ายสังคม) ครั้งที่ 36/2546 วันที่ 4 ธันวาคม 2546 มติให้กรมทรัพยากรธรณีใช้เงินงบกลางรายการค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาอาคารพิพิธภัณฑไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวระยะต้น เพื่อปรับปรุงและตกแต่งภายใน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 รับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ซึ่งได้มีการก่อสร้างตกแต่งภายในจนแล้วเสร็จในปี 2548 ปี 2549 ได้รับงบประมาณ เพื่อสร้างส่วนนิทรรศการ จนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อต้นปี 2550 ปี 2550 พิพิธภัณฑ์สิรินธร ได้เปิดทดลองให้บริการตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2550 และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2551 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด

ที่มา : http://www.sdm.dmr.go.th/website/history.php

หมายเลขบันทึก: 610713เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สถานการณ์ตอนนี้เป็นยังไงบ้างครับ
เป็นที่นิยมแค่ไหน ร้านรวงสินค้าเป็นยังไง
เศรษฐกิจชุมชนเป็นยังไงบ้าง


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท