เพลงกันตรึม


พิธีกรรมโจลมะม็วด เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษของชาวเขมรแถบอีสานตอนล่าง โดยมีความเชื่อว่า วิญญาณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีปีศาจ และดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมีอยู่จริง ในอดีตทุกชุมชนหมู่บ้านชาวเขมรสุรินทร์ ต่างร่วมกันจัดงาน “พิธีกรรมโจลมะม็วด” ระหว่างหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ไปถึงก่อนฤดูการผลิตใหญ่ “ทำนา” เพื่อเป็นศิริมงคล กระทั่งเป็นประเพณีประจำปีของชุมชนสืบต่อๆกันมาถึงปัจจุบันพิธีกรรมโจลมะม็วด โดยหลักๆแล้วชาวเขมรสุรินทร์ มักจะนำพิธีกรรมดังกล่าวมาใช้ เพื่อการรักษา การเจ็บไข้ได้ป่วย และเนื่องจากในพิธีกรรมนี้ มีการใช้ศาสตร์ดนตรี กันตรึม วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงประกอบ เพื่ออัญเชิญจิตวิญญาณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาประทับที่ร่างทรงของแม่มด ปัจจุบันจึงนิยมเรียกความหมายพิธีการโจลมะม็วดนี้ว่า “การรักษาด้วยเสียงดนตรี”

ความเชื่อในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด แม้จะมีการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน หากแต่ความนิยมและศรัทธาเริ่มเสื่อมคลายลงไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาย้อนหลังราว ๓๐ ปีที่ผ่านไป โดยกระแสความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์ เข้ามาแทนความเชื่อเรื่อง “โจลมะม็วด”พิธีกรรมโจลมะม็วด จึงกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยโบราณ ไสยศาสตร์ ฯ ไม่เป็นที่นิยมเลื่อมใสศรัทธาในหมู่คนรุ่นใหม่ หากแต่ความเชื่อศรัธทาในหมู่ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมร ที่มีอายุตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไป ยังคงเชื่อศรัทธา จากผลการรักษาอันปรากฏที่หายจากการเจ็บป่วย ด้วยวิธีการปัญโจลมะม็วด แม้จะไม่แม่นยำ ๑๐๐ % แต่ก็สามารถแก้ปัญหาอาการเจ็บไข้บางชนิดที่การแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถเยียวยารักษาได้เช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 610544เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 02:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 02:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นธรรมดานะครับ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย

พิธีกรรม ประเพณีเช่นนี้ก็ไม่เว้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท