เรื่องเล่า มมส.


มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย


สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย "ตราโรจนากร" หมายถึง สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง

สีประจำมหาวิทยาลัย คือ "สีเหลือง-เทา" หมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นราชพกฤษ์ หรือ ต้นคูณ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

ลิฟต์อาคาร RN อาคารราชนักครินทร์ เป็นที่นิยมใช้กันมาก ถึงขนาดลงทุนเสียเวลาคอยนาน และต้องต่อแถวกันยาวววววว(ออกนอกประตูห้องโถง)เพื่อที่จะรอขึ้นลิฟต์ไปเรียนในช่วงเวลา 8.00 น.(จันทร์-ศุกร์)


ตลาดน้อย คือแหล่งรวมนิสิตในตอนเย็น เพราะจะไปกินข้าวกันที่ตลาดน้อย (ไปตลาดน้อยไม่เคยไม่เจอคนรู้จัก)

และที่นี้ จะมีสารพัดส้มตำที่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้ยเคยชื่อ แต่ที่ขึ้นชื่อที่สุดจะเป็น ตำป่า มาอยู่ ม. สารคาม ถ้าไม่สักมากินสักจาน เชยมากๆ

ต่อเนื่องจากข้อข้างบน มีบางคนพยายามเปลี่ยนชื่อ ตำป่า เป็น ตำอุทยานแห่งชาติ เพราะเครื่องที่ใส่เยอะซะเหลือเกิน....

ที่ข้างๆตลาดน้อยมีลานวัฒนธรรมที่เรียกว่า "เล้าไก่หรือซุ้มไก่" ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตแจ๊ส จากศิลปากร, CU Band, หมอลำก็จัดที่นี่ทั้งนั้น

ขอเตือนเฟรชชี่ทุกคน กรุณาซื้อชุดนิสิตที่เป็น โอโม่ เท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้น เสื้อสีขาวของคุณจะกลายเป็นสีน้ำตาลในระยะเวลา ไม่ถึง 2 เดือน

หอพักใน มมส. ตั้งชื่อตามอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม

หอกันทรวิชัย ซึ่งปัจจุบันเป็นหอหญิง เมื่อก่อนเป็นหอชาย ทุกวันนี้มีหลักฐานคือ โถส้วมผู้ชายในห้องน้ำรวม

คอนเสิร์ตที่ได้รับความนิยมมากจากนิสิตมมส. จะเป็นวงหมอลำ

ที่ มมส.มีวัดป่าที่ตั้งอยู่ภายในเขตมหาวิทยาลัย คือ "วัดป่ากู่แก้ว"

สมัยก่อนคณะเภสัชฯ ใช้ตึกเดียวกับคณะวิทยาการสารสนเทศป็นที่เรียน

คณะเภสัชฯ มมส.เป็นเภสัชฯ 6 ปี แห่งที่ 2 ต่อจาก มน.

ถาปัดกะศิลปากรรมใช้ตึกเดียวกัน แต่ตอนนีถาปัดมีตึกใหม่แล้ว

มมส. มี ม.เก่า กับ ม.ใหม่ (ห่างกันประมาณ 8กม.)

เป็นที่เดียวที่มีคำว่า "มหา" สองคำในชื่อ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

ขนาดมี ม.เก่า กับ ม.ใหม่ ก็ยังโดนถนนตัดฝ่านทั้งสองที่เลย (ถนนคนละเส้นกันนะ)

ใช้คำว่า นิสิต เพราะเคยเป็น มศว(มหาสารคาม) มาก่อน


อ้างอิง

http://www.dek-d.com/board/view/1231839/

รูปภาพ

http://board.postjung.com/547555.html

หมายเลขบันทึก: 610543เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 02:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 02:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพิ่มเติมภาพก็น่าจะดีครับ เพราะเสนอข้อมูลไว้เยอะ น่าสนใจ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท