การอ่าน และผู้เรียนที่เป็นเยาวชน (Reading and Young Learners)


วิธีการในการสำรวจการอ่านกับผู้เรียนที่เป็นเยาวชน

1. ยุทธวิธีการในการสอนให้รู้หนังสือเบื้องต้น

1.1 การตระหนักรู้ในเรื่องหน่วยพื้นฐานของเสียง (Phonemic awareness: grapho-phonnics)

ผู้เรียนจะต้องได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างสัญลักษณ์ (ตัวหนังสือ) ในภาษาอังกฤษ กับเสียงของมัน ในการทำเช่นนี้ก็เพื่อให้พวกเขาสามารถผสาน (blend)เสียง หรือแยก (sort)เสียงสำหรับคำที่ง่ายๆได้ ทักษะทั้งสองประการนี้จะช่วยในเรื่องถอดรหัส (decoding) และการสะกดคำ (spelling) ได้

สิ่งที่สำคัญในการที่มนุษย์จะได้สร้างสัญลักษณ์ ก็เพื่อส่งผ่านข้อมูลนั้นแก่คนอื่น มนุษย์ที่สิ่งนี้ได้ในหลายๆรูปแบบ เช่น ภาษาฮีโรกราฟิก (hieroglyphics) ของชาวอียิปต์โบราณ และภาษาภาพวาด (Chinese pictographs) ของชาวจีนอีกด้วย ภาษาเหล่านี้ไม่เพียงจะแตกต่างกันเท่านั้น แต่ก็มีโครงสร้าง (directionality) ที่สลับซับซ้อนอีกด้วย เด็กๆจำเป็นต้องรู้เรื่องนี้ให้มาก เพราะภาษาพวกนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มิใช่เกิดจากการตรัสรู้เองธรรมชาติของการอ่าน

เยาวชนทั่วโลกโดยประมาณ มีถึง 123 ล้านคนที่ไม่รู้หนังสือ ในจำนวนนี้เป็นเยาวชนหญิงถึง 60.7% เด็กๆจำนวน 67.4 ล้านคนต้องออกจากโรงเรียน สิ่งนี้หมายความว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (basic education) ของเด็กๆไม่เพียงพอ หรือไม่มีอยู่ สิ่งนี้หมายความว่าปัญหานี้เป็นรากของความไม่รู้หนังสือ (UNESCO)

ลองจินตนาว่าชีวิตคุณจะเป็นเช่นไร หากไม่รู้หนังสือ จากการสำรวจพบว่ามีประมาณ 80% ของประชากรโลกที่สามารถอ่านหนังสือออก (Grabe & Stoller, 2002)

การอ่านเป็นทักษะขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียน แต่มิใช่เพื่อการเรียนเท่านั้น แต่เพื่อชีวิตอีกด้วย (Traves 1994) คำว่าการอ่านน่าจะหมายความถึง ความสามารถในการหาความหมายจากตัวหนังสือ และสามารถตีความข้อมูลได้อย่างถูกต้อง (Grabe & Stoller, 2002, p. 9)


ทำไมพวกเราจึงต้องพัฒนาทักษะการอ่าน

การเรียนรู้ภาษาที่ 1 นำไปสู่การพัฒนาภาษาที่ 2 ได้ การอ่านโดยตัวของมันเองเกิดขึ้นจากภาษาพูด (oral language) และปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ทักษะการอ่านในภาษาที่2 ก็คือความสามารถในการทำความเข้าใจ และใช้ทั้งทักษะการพูดหรือการฟัง เพราะว่าคุณจะต้อง

1. ได้ยินคำก่อนที่จะกล่าวคำ

2. กล่าวคำก่อนที่จะอ่าน

3. อ่านคำก่อนที่จะเขียน

สิ่งนี้บอกเราว่าผู้เรียนที่เป็นเยาวชนจะต้องมีพื้นฐานในเรื่องของการได้ยิน (auditory) และการพูด (oracy) ก่อนที่พวกเขาจะเป็นคนอ่านที่มีความสามารถ และเป็นผู้เขียนภาษาใดก็ได้ในโลกนี้ การเรียนรู้ที่จะอ่าน และเขียนหมายถึงผู้เรียนที่เป็นเยาวชนสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งที่พวกเขาได้ยิน หรือพูด กับสิ่งที่พวกเขาอ่าน หรือเขียนได้

1.2 ความหมาย (Semantics)

ในการความสามารถในการถอดรหัส (decode) หรือการอ่านออกเสียงดังๆ จะมิใช่จะไร้ประโยชน์เสียแต่อย่างใด สัญลักษณ์นี้ส่งผ่านซึ่งความหมาย และเด็กๆสมควรที่จะได้เรียนถึงวิธีการเข้ารหัส (encode) ในตัวอักษร (symbols) หรือรูปวาด (visuals) เพื่อที่จะค้นหาสารต่างๆที่แบ่งปันกัน

1.3 โครงสร้าง (syntactics)

การที่ภาษาต่างๆมีระบบการใช้ตัวอักษรแตกต่างกัน ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะมีการเรียงลำดับคำที่แตกต่างๆกัน เราจำเป็นที่จะต้องเรียนไวยากรณ์ หรือโครงสร้างทางภาษาด้วยวิธีของ Krashen ซึ่งไม่ใช่การเรียนอย่างเป็นทางการ การรับรู้ภาษา (acquisition) เกิดขึ้นมาด้วยการรับภาษาอย่างหลากหลาย แต่ต้องมีบริบทอยู่ในนั้นด้วย การผ่าตัดภาษาจะไม่ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์ แต่กระบวนการอภิภาษา (metalanguage) สำหรับอายุ 10 ขึ้นไปน่าจะมีประโยชน์ เช่นการรู้ว่าคำใดเป็นคำนาม กริยา คุณศัพท์ คำนำหน้านาม (articles) สรรพนาม และการเรียงลำดับคำ ความแตกต่างระหว่างภาษาที่ 1 กับภาษาอังกฤษย่อมมีอยู่ หากให้เด็กๆได้ “สังเกต” ความแตกต่างตรงนี้น่าจะเป็นคุณมากกว่าโทษ

2. การพัฒนาการรู้หนังสือ

คุณไม่จำเป็นต้องไปค้นหาในห้องสมุดใหญ่ หรือวรรณกรรมออนไลน์หรอก เทคนิคต่างๆและเมื่อผู้เรียนได้เรียนแล้วจะมีความสุข จะปรากฏอยู่ข้างล่างนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการกระตุ้นความรู้ขั้นพื้นฐาน (background knowledge) เมื่อจำเป็น น่าจะเป็นปัจจัยหลักๆในการการอ่านเพื่อความเข้าใจ

ความรู้ขั้นพื้นฐาน คือ เลนส์ (lens) ที่จะช่วยทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่อ่าน และยังช่วยให้ครูได้แสดงคำศัพท์ต่างๆก่อนที่จะอ่าน (Anderson, 1999, p. 11)

Cameron (2001) ได้ให้ความคิดที่มีประโยชน์เพื่อที่จะสร้างบรรยากาศของการรู้หนังสือ (literate environment) ในห้องเรียน และกิจกรรมนี้เป็นที่หนึ่งที่ผู้เรียนของเราจะเห็นคำศัพท์ต่างๆที่เป็นตัวเขียน รายการเหล่านี้ก็มี

1. ติดฉลาก หมายถึงการติดฉลาดถาด, โต๊ะ ฯลฯ ของนักเรียน รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์และวัตถุต่างๆรอบๆห้องเรียนและโรงเรียน

2. ติดโปสเตอร์ หมายถึง ติดโปสเตอร์ที่มีสีสัน และอยู่ในระดับที่ตาเห็นได้ เช่น บทกวีที่จำเป็นต้องเรียนรู้ หรือโฆษณาบางสิ่งบางอย่าง เช่น จงอ่าน หรือทำความสะอาดฟัน เป็นต้น

3. สาร หมายถึงการบ้าน หรือ อย่าลืมเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาโรงเรียน

4. การอ่านออกเสียงดังๆ โดยครู หรือเด็กที่กว่าก็ได้

มีกิจกรรมอยู่จำนวนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนสนุกสนานเพลิดเพลินได้ (Arnold 2009) แต่ก็เน้นในเรื่องการอ่านออกเขียนได้ กิจกรรมเหล่านี้ก็มี

1. การเน้นเรื่องการอ่านอย่างคล่องแคล่ว

2. การทำ dictation (การเขียนศัพท์ตามคำบอก)

3. ผู้เรียนสร้างเรื่องราวที่เป็นเรื่องของตนเอง (หรือการ์ตูนก็ได้) และแบ่งปันให้ทุกๆคนได้อ่าน

4. การขอให้นักเรียนนำสื่อวัสดุที่ตนเองอ่านแล้วชอบ ไม่ว่าจะเป็นผลการแข่งขันฟุตบอล, สูตรอาหาร หรือเนื้อเพลง จงใช้เรื่องราวเหล่านี้ในการอภิปรายและการอ่าน

5. ทำให้เรื่องราวที่อ่านมีจุดมุ่งหมาย เช่น หากจะเรียนรู้เรื่องคลังคำที่เป็นอาหาร ก็อาจให้หาว่าอาหารแต่ละชนิดมีที่มาจากอะไร หรือ ให้แยกกันระหว่างคำนามนับได้และนับไม่ได้เป็นต้น

6.การอ่านอย่างกว้างขวาง (extensive reading) ก็คือการให้อ่านเรื่องง่ายๆ แต่อยู่อีกภาษาหนึ่ง ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อเหล่านี้ โดยไม่ต้องมีครูให้คำแนะนำ (Krashen, 1988) สิ่งนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการอ่าน และทำให้การอ่านมีความสนุกมากขึ้น

บทสรุป

การอ่านเป็นทักษะที่ทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น (rewarding process) และน่าจะทำให้ผู้เรียนและคุณครูสนุกสนาน ข้อเตือนใจสุดท้ายของพวกเราก็คือ วิธีการสอนการอ่าน ที่มีเจตนาเพื่อให้ความบันเทิงในกระบวนการเรียนรู้ และเจตนานั้นก็สะท้อนในหมู่นักเรียนนั่นเอง จงมีความสุขกับการอ่านนะ

แปลและเรียบเรียงจาก

Wendy Arnold and Fiona Malcolm Reading and Young Learners. http://www.teachingenglish.org.uk/article/reading-young-learners?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=bc-teachingenglish


หมายเลขบันทึก: 610413เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2016 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2016 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท