เรียนรู้เรื่องพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน



ชื่อหัวข้อบันทึกนี้ผิดนะครับเป็นชื่อตามที่ใช้โดยวงการศึกษา ซึ่งผิด“ก่อนวัยเรียน” ไม่มี“หลังวัยเรียน” ก็ไม่มีคือตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ คนเราต้องเรียน มนุษย์ทุกวัยต้องเรียนคำว่า “เรียน’ ตามที่วงการศึกษาใช้หมายถึงเรียนในระบบที่กระทรวงศึกษาธิการจัดให้ยิ่งนับวันการเรียนนอกระบบ จะยิ่งมีสัดส่วนใหญ่ขึ้นสำคัญขึ้นโดยที่เวลานี้การเรียนนอกระบบ คือเรียนโดยกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ได้จัดให้มีคุณประโยชน์มากกว่าการเรียนในระบบ

พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าการเรียนในระบบไม่สำคัญนะครับการเรียนในระบบของกระทรวง ศึกษาธิการมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กไทย และต่อการพัฒนาประเทศสิ่งที่ผมต้องการ สื่อสารคือ หากระบบการศึกษาไทยยังย่ำเท้าอยู่อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะเป็นโทษต่ออนาคตของบ้านเมือง มากกว่าเป็นคุณคือจะทำให้ประเทศไทยเต็มไปด้วยพลเมืองด้อยคุณภาพ

ในความหมายของผม ผมกำลังศึกษาเรื่องการกระตุ้นเพัฒนาการของเด็กเล็กเพื่อวางรากฐาน คุณภาพของประชากรไทยทั้งหมดซึ่งต้องคิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดการประชุม International Seminar on “Construction Guidelines for Standards and Competency Framework ofEarly ChildhoodEducationระหว่างวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ถึง ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙ ไม่ทราบว่ามีเหตุผลอะไร ทางผู้จัดมาเชิญให้ผมไปพูด keynote เปิดการประชุม ในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ซึ่งถื่อว่าเป็นการวางพื้นฐานสำหรับการประชุมตลอดเวลา ๒ สัปดาห์ด้วยตระหนักว่า ผมไม่รู้จริง ผมจึงปฏิเสธ และแนะนำท่านอื่นที่รู้ดีกว่าผมแต่ได้รับคำตอบว่าต้องการให้ผมไปพูด

ที่จริงผมพอพูดได้ และพอค้นไปพูดได้ แต่คิดว่าคงพูดได้ไม่ดี เพราะพื้นความรู้ไม่ดี และไม่มี ประสบการณ์ตรงด้านการปฏิบัติ แต่เมื่อผู้จัดการประชุมยืนยันมาผมก็รับเพราะคิดว่าเป็นโอกาส ให้ผมได้ศึกษาเรื่องนี้ลงลึก และเห็นว่าทางมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและภาคีกำลังคิดเรื่องสำคัญต่อบ้านเมือง

ผมค้นกูเกิ้ลด้วยคำค้นว่า “early childhood development”ได้ผลการค้นมากมายผมเข้าไปที่ เว็บไซต์นี้ ของธนาคารโลก ซึ่งสะท้อนว่า “ธนาคารเพื่อการพัฒนา แห่งนี้เห็นว่าการลงทุนเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก เป็นการลงทุน ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง โดยที่ผลลัพธ์ไม่ใช่แค่ที่กำไรเป็นเงินแต่ได้กำไรเป็นคุณภาพคน โดยที่จุดอ่อนอยู่ที่ ประเทศยากจนวีดิทัศน์นี้ จึงเป็นเรื่องของประเทศยากจนในอัฟริกาเขาบอกว่าเพื่อสร้างความเท่าเทียมกัน ในสังคม ไม่มีการลงทุนอะไรดีกว่าการลงทุนในการพัฒนาเด็กเล็กนักวิชาการเขาเรียกเรื่องนี้สั้นๆ ว่า ECD

ผมเข้าไปในวิกิพีเดียเรื่อง ECE เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กตั้งแต่เกิดจนอายุ ๘ ปีเขาบอกว่า infant /toddler education เกี่ยวกับการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ ๒ ปี สำคัญมากเพราะเป็นช่วงที่เด็กเกิดการเรียนรู้ว่า ตนเองกับคนอื่นเป็นคนละคนเป็นตัวบอกความสำคัญของพ่อแม่ ในฐานะครูคนแรกของเด็ก

เขาบอกว่า ในช่วงสองปีแรกนี้ พัฒนาการของ attachment process มีความสำคัญมาก เขาใช้คำว่า authoritative figure ผมอ่านแล้ว คิดว่าคล้ายๆ เป็นไอดอล สำหรับใช้เป็นตัวอย่างความประพฤติเวลามี ความเครียด เขาบอกว่า childhood attachment มีส่วนสร้างบุคลิกของเด็ก ตามแนวทางของบุคคล ที่เด็กรู้สึกอยากเอาอย่าง

เรื่องนี้ผมรู้สึกด้วยตัวเอง ว่าสมัยเด็กอายุประมาณสี่ห้าขวบผมรู้สึกปลอดภัยเวลาอยู่ใกล้พ่อยังรู้สึกได้เวลาพ่อล้างหน้าหรืออาบน้ำ ถูขี้ไคลให้รู้สึกมีความสุขความชื่นใจกว่าคนอื่นๆ ทำให้พ่อคล้ายๆ เป็นภาพฝันในการสร้างตัวของผมและในช่วงที่อยู่ในวัยรุ่นผมเคยรู้สึกว่าตัวเองคงไม่มีโอกาสได้เป็นอภิชาตบุตรเพราะพ่อของผมมีความฉลาดเฉลียว และประสบความสำเร็จในการสร้างฐานะสูงเหลือเกิน attachment กับพ่อ คงจะช่วยให้ชีวิต ของผมดีอย่างนี้ ความซื่อสัตย์ เห็นอกเห็นใจคนอื่น ไม่เอาเปรียบคนอื่น ก็ได้มาจากพ่อ

วิจารณ์ พานิช

๑ มิ.ย. ๕๙

<p “=””>
</p>

หมายเลขบันทึก: 610370เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2016 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2016 08:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบคารวะ ครู ครับ

เดี๋ยวนี้ เขาเลี้ยงเด็กกันทาง Line แล้วครับ

พ่อแม่ ออกทำมาหารับประทาน

ปล่อยให้คุณยาย คุณตา เลี้ยงครับ

ผู้เลี้ยงดูเป็นครูคนแรก

พ่อแม่หลายคนไม่มีโอกาสเลี้ยงด้วยทั้งความจำเป็นและความรู้เท่าไม่ถึงการ

ให้ตายาย ญาติห่างๆ หรือจ้างเพื่อนบ้านเลี้ยง

หนักหน่อยก็ใช้แรงงานต่างชาติเลี้ยง

พอ๒ขวบก็ส่งศูนย์เด็กเล็ก

ส่วนนี้เป็นcritical pointครับอาจารย์

ทำโรงเรียนพ่อแม่ก็ไม่เข้าเรียน ยังไม่มีมาตรการบังคับครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท