วนอุทยานเขากระโดง จ.บุรีรัมย์



วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์

" ซึ่งเป็นจังหวัดที่ฉันอาศัยอยู่ เวลาว่างๆฉันชอบไปไหว้พระ เพื่อขอพรให้ประสบความสำเร็จในการเรียน เพราะพระสุภัทรบพิตรมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบุรีรัมย์ศรัทธาและมักจะไปขอพรอยู่บ่อยๆ และฉันชอบยืนชมวิว ถ่ายรูปเล่น ส่วนบริเวณรอบๆเขากระโดงเต็มไปด้วยป่า ซึ่งร่มรื่นมาก เหมาะแก่การนั่งพักผ่อนหย่อนใจ และมีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย จึงอยากจะแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ให้หลายๆท่านได้รู้จักและมาเที่ยวที่บุรีรัมย์กันเยอะๆนะคะ " …


ประวัติและความเป็นมาของวนอุทยานเขากระโดง

วนอุนทยานภูเขาไฟกระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาประวัติศาสตร์ ธรณีวิทยาและชีววิทยา เพราะเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟที่ยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน มีโบราณสถานกู่เขากระโดง เป็นที่ประดิษฐานรองพระพุทธบาทจำลอง และมี”พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ อยู่บนยอดเขา และยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าเต็งรัง เนื้อที่ประมาณ 6 พันไร่ รวมทั้งพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่หาชมได้ยาก เช่น ผลของต้นโยนีปีศาจ ที่มักพบในบริเวณเขตภูเขาไฟ การขึ้นไปยังเขากระโดงสามารถทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันได หรือ ขับรถขึ้นไปถึงยอดเขา ระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ

วนอุทยานเขากระโดง ชื่อเดิมชาวบ้านเรียกเขากระโดงว่า “พนมกระดอง” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ภูเขากระดอง (เต่า)” เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมา จึงเรียกเพี้ยนเป็น “กระโดง”

จุดเด่นวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง


  • พระสุภัทรบพิตร เป็นพระพุทธรูปคู่เมือง ภายในเศียรบรรจุพระธาตุ ประดิษฐานอยู่บนเขากระโดง เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐฉาบปูนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 12 เมตร ฐานยาว 14 เมตร หันหน้าไปทางทิศเหนือ สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2512 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นายสุรวุฒิ บุญญานุสาสน์ ในขณะนั้น ร่วมกับพ่อค้าประชาชนและผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในความคิดและโครงการต่างๆ ของหลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดเขากระโดง ได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้นบริเวณยอดเขากระโดง เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป จากจุดที่ตั้งขององค์พระ สามารถมองเห็นทัศนียภาพของตัวเมืองบุรีรัมย์ได้
  • ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง มีอายุประมาณ 3 แสนถึง 9 แสนปี สูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร ซากปากปล่องเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ยอดเนินเขาเป็นขอบปล่องด้านทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ ส่วนยอดเนินเป็นขอบปล่องด้านทิศเหนือเรียกว่า เขาน้อย หรือเขากระโดง ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องปะทุคือ บริเวณที่เป็นหุบเขา ปัจจุบันมีสภาพเป็นสระน้ำ เป็นซากภูเขาไฟที่ยังคงสภาพดีและมีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย มีเส้นทางเดินชมรอบปล่อง และมีสะพานแขวนให้ยืนชมจากมุมสูงได้อ ย่างชัดแจน
  • สะพานพิสูจน์ศรัทธาสาธุชน (บันไดนาคราช) สร้างขึ้นเมื่อปี 2512 เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปสักการะบูชาพระสุภัทรบพิตร ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขากระโดง จำนวน 297 ขั้น ชมการละเล่นพื้นบ้านในงานประเพณีขึ้นเขากระโดง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และร่วมทำบูญงานประกวดกวนข้าวทิพย์–ตักบาตรรเทโวโรหณะ ในช่วงก่อนวันออกพรรษาและวันออกพรรษาของทุกปี
  • ปราสาทเขากระโดงและพระพุทธบาทจำลอง ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟกระโดง เป็นศาสนสถาน สร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย เดิมเป็นปรางค์หินทราย ก่อบนฐานศิลาแลงองค์เดียวโดดๆ ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 4×4 เมตร มีช่องทางเข้า 4 ด้าน ต่อมาหินพังหรือถูกรื้อลงมา มีผู้นำหินมาเรียงขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ตรงตามรูปแบบเดิม ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตระกูลสิงห์เสนีย์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองไว้ในองค์ปรางค์ แล้วสร้างมณฑปครอบทับ

  • อ่างเก็บน้ำเขากระโดง (อ่างเก็บน้ำวุฒิสวัสดิ์) อยู่ด้านเหนือของภูเขากระโดง บริเวณหน้าที่ทำการวนอุทยานภูเขาไฟเขากระโดง เนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ เป็นแหล่งอาศัยของเหล่านกน้ำประจำถิ่นและอพยพหนีหนาว รอบอ่างจะอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้เต็ง-รัง นานาชนิด จุดนั่งชมวิวเหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ กางเต็นท์พักแรมและศึกษาธรรมชาติ จากจุดนี้หากมองขึ้นไปบนยอดเขากระโดงจะมองเห็นองค์พระ สุภัทรบพิตร

บริเวณใกล้เคียงกับวนอุทยานเขากระโดงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมาก คือ สนามฟุตบอล นิว ไอโมบาย สเตเดี้ยม ของทีมสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานที่สุดของไทย

การเดินทาง

• รถยนต์ สามารถเดินทางไปวนอุทยานเขากระโดงได้ 3 เส้นทางดังนี้

  • เส้นทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานฯ
  • เส้นทางจากจังหวัดนครราชสีมา ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-สุรินทร์) ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานฯ
  • เส้นทางจากจังหวัดสุรินทร์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ระยะทาง 50 กิโลเมตร พบสี่แยกแล้วเลี้ยวซ้ายไปอำเภอประโคนชัยประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า


***เหตุผลที่่ของฉันนำเอาประวัติวนอุทยานเขากระโดงมาแนะนำ เพราะถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ไปเที่ยวและได้รู้จักจังหวัดบุรีรัมย์มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆอีกมากมายในจังหวัดบุรีรัมย์ เช่น เขาพนมรุ้ง วัดเขาน้อย อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เขื่อนลำนางรอง เป็นต้น และยังมีอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดอีกมากมาย มาเที่ยวกันเยอะๆนะคะ .....

คำสำคัญ (Tags): #เขากระโดง
หมายเลขบันทึก: 610241เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2016 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ช่วยเล่าประสบการณ์ตรงของนิสิตที่ไปเยือนที่นี่หน่อยนะครับว่าพบเจออะไร และได้เรียนรู้อะไร

และถ้าหากข้อมูลที่ปรากฏในบันทึกนี้ เป็นการสืบค้น คัดลอกมา หรือสังเคราะห์มาก็ขอให้ช่วยอ้างอิงด้วย ครับ

13/7/59

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท