KM


การจัดการความรู้
ความหมายของการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ (Knowledge Management, KM) มาจากคำ 2 คำ คือ การจัดการ และ ความรู้ ก่อนอื่นมาพิจารณาความหมายของคำว่า “ ความรู้” จากพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ความรู้ หมายถึง “- สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ - ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ - สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ - องค์วิชาในแต่ละสาขา ” หากจะพิจารณาความหมายสั้นๆ จากสังคมอเมริกันเพื่อการอบรมและพัฒนา (American Society for Training and Development) ซึ่งอ้างใน บดินทร์ วิจารณ์ (1) ความรู้ หมายถึง “ผลรวมของสิ่งที่รู้ ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง หลักการ และสารสนเทศที่ช่วยในการปฏิบัติงาน ” จากความหมายที่สองจะเห็นว่าให้ความหมายที่แคบลงคือกำหนดให้หมายถึง ความรู้ที่ช่วยในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะทำให้การจัดความรู้มีขอบเขตชัดเจนขึ้นว่าจะต้องจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับอะไรบ้าง มิใช่ความรู้ทั้งหมดที่บุคลากรทุกคนในองค์การมีอยู่ ส่วนคำว่า “ การจัดการ” หมายถึง กระบวนการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์การโดยใช้การวางแผน การจัดองค์กรและการมอบหมายงาน การใช้ทักษะความเป็นผู้นำ และการสร้างแรงจูงใจ ตลอดจนการติดตามและการควบคุมงาน ” (2) เมื่อรวมคำสองคำเข้าไว้ด้วยกัน การจัดการความรู้ จึงหมายถึง “ กระบวนการในการวางแผน การดำเนินการ และการประเมินการดำเนินการที่เกี่ยวกับความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์การในการบรรลุเป้าหมายขององค์การ” ประเภทของความรู้ ความรู้มี 2 ประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้ที่อยู่ในคน (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการที่มีผู้พิสูจน์ เป็นที่ยอมรับและจัดเก็บในสื่อต่างๆ ทั้งในรูปของเอกสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ความรู้ชัดแจ้งนี้มีอยู่มากมาย สืบค้นและกระจายไปยังบุคคลต่างๆ ได้โดยง่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีอินเทอร์เน็ต ส่วนความรู้ที่อยู่ในคนเป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์และทักษะ ซึ่งอาจไม่มีการถ่ายทอดสู่บุคคลอื่นหรือหากมีการถ่ายทอดก็ถ่ายทอดโดยยากและอาจถ่ายทอดไม่หมด ความรู้ส่วนนี้มีความสำคัญมากโดยเฉพาะที่เป็นความรู้ของบุคลากรในองค์การที่ได้ทำงานมานานสั่งสมประสบการณ์และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การ การสกัดความรู้เหล่านี้จากผู้รู้ในองค์การนำมาจัดเก็บให้เป็นระบบ สามารถสืบค้นและกระจายความรู้นี้ไปสู่บุคคลต่างๆ ในองค์การ เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายขององค์การ และองค์การมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงมีความสำคัญมาก องค์การสมัยใหม่จะตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ที่เป็นความรู้ในคนนี้มาก พร้อมกับผสมผสานกับความรู้ชัดแจ้งเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ท่านผู้อ่าน อ่านความหมายของการจัดการความรู้เพิ่มเติมได้จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (www.kmi.or.th) เอกสารอ้างอิง (1) บดินทร์ วิจารณ์ การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท 2547 (2) Bartol and Martin, Management, McGraw-Hill, 1991. อ้างอิงจาก : http://www.dpu.ac.th/kms/about.html
หมายเลขบันทึก: 61011เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท