​รายการยาที่ประกาศเป็น High alert drug ในโรงพยาบาลหนองจิก


ข้อมูล จาก ER หนองจิก

รายการยาที่ประกาศเป็น High alert drug ในโรงพยาบาลหนองจิก

  • Digoxin (digoxin 0.25 mg / digoxin inj.)
  • Dopamin injection (อยู่ER)
  • Adrenaline injection (อยู่ ER)
  • Calcium Gluconate injection (อยู่ ER)
  • Potassium chloride injection
  • Magnesium sulfate injection(10%MgSO4 , 50%MgSO4) (อยู่ ER)
  • Morphine injection
  • Pethidine injection
  • Adenosine injection (อยู่ ER)
  • Insulin (Regular insulin , Humulin 70/30 , NPH insulin(insulatade)) เฉพาะที่เป็น IM IV
  • Gentamicin injection

แต่ในคู่มือการให้พยาบาล HIGH ALERT DRUG ของห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินมี 9 ตัว ยกเว้น Potassium chloride injectionและ Gentamicin injection เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนไม่เกิดทันทีทันใดต้องใช้ระยะเวลา

แนวทางการพยาบาล HIGH ALERT DRUG

ชื่อ

การบริหารยา

บทบาทพยาบาล

1.Pethidine HCL

เป็นยาแก้ปวดชนิดปานกลางถึงรุนแรง

ขนาดที่ใช้ในโรงพยาบาล

Pethidine injection 50 mg/ml (1 ml)

ให้ทาง IV IM SC

- I.V. push เจือจางด้วย NSS ให้ได้ความเข้มข้น 10 mg/ml

- I.V.infusion (ถ้าสั่งมากกว่า50 mg)เจือจางใน D5W ให้ได้ความเข้มข้น 1mg/ml

- กรณี I.M.ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อมัดใหญ่

- กรณี I.V. push ให้ฉีดช้าๆใช้เวลาอย่างน้อย 5 นาที

- ห้ามผสมยาฉีด pethidine กับ barbiturates(เช่น phenobarbital) aminophylline heparin phenytoin และ sodium bicarbonate เพราะเพราะจะเกิดการตกตะกอน

สารละลายที่สามารถใช้เจือจาง : D5W, NSS, Lactate ringer's dextrose-saline

- check v/s หากอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 50 ครั้ง/นาที BP< 90/60 mmHg. RR < 10 ครั้ง/นาที O2 sat < 95 %ให้รายงานแพทย์

- หลังให้ยาแบบ I.V. push ให้นอนพักสังเกตุอาการ 30 นาทีอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ

- ถ้าได้รับยาเกินขนาดมากจะมีอาการ รูม่านตาขยาย ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระตุก ชัก สั่น คลั่ง

ชื่อ

การบริหารยา

บทบาทพยาบาล

2.Mophine Sulfate

เป็นยาแก้ปวดชนิดปานกลางถึงรุนแรง

ขนาดที่ใช้ในโรงพยาบาล

Mophine Sulfate injection

10 mg/ml(1 ml)

ให้ทาง IV IM

- I.V. push เจือจางด้วย NSS up to 10 ml ให้ฉีดช้าๆใช้เวลาอย่างน้อย 5 นาที

- check v/s ติดตามอัตราการหายใจไม่ควรน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาที และติดตาม score pain

- บางรายอาจมีคลื่นไส้อาเจียนเวียนศีรษะมากหลังได้รับยา ครั้งแรก นอกจากนั้นอาจเกิดอาการคัน หน้าแดงอย่างรวดเร็ว เหงื่อออกมาก พยาบาลต้องเช็ดตัวให้บ่อยๆและให้เครื่องดื่มเย็นๆเพื่อป้องกันการขาดน้ำ

- ถ้า over dose ม่านตาจะหดเป็นรูเล็กๆ(miosis)จึงควรตรวจรูม่านยาด้วย

- ประเมินการปวดท้องจาก billiary colic ตรวจดูการเคลื่อนไหวของลำไส้

- ในการให้ยาทางหลอดเลือดดำ ควรมีการเตรียมยาแก้พิษของ morphine คือ naloxone ไว้ทุกครั้ง

3.Magnesium Sulfate

ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะ pre- eclampsiaหรือ eclampsia ใช้ควบคุมการชักที่เกี่ยวข้องกับภาวะ epilepsy, glomerulonephitis หรือ hypothyroidism รักษาภาวะ acute magnesium deficiency และลดอาการของบาดทะยัก

ขนาดที่ใช้ในโรงพยาบาล

Magnesium Sulfate injection 50%

(2 ml) 1gm/amp.

Magnesium Sulfate injection 10%

(10 ml) 1gm/amp.

ให้ทาง IV IM

- กรณีใช้รักษา eclampsia , pre- eclampsia

ให้ 10% MgSO4 3gm(30 ml)I.V.ช้าๆ (10นาที) และ 50% MgSO4 10 gm (20ml)แบ่งฉีดกล้ามเนื้อสะโพก 2 ข้างข้างละ 10 ml

- check v/s ทุก 15 นาที 2ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชม.ถ้า RR <14 ครั้ง/นาที หรือ PR< 60 ครั้ง/นาทีให้รายงานแพทย์

- ตรวจ Deep tendon reflex โดยดู knee jerk reflex ถ้า negative ให้ทำ bicep jerk reflex ถ้า negative(<2+) ให้แพทย์พิจารณาหยุดยา

- ต้องมี 10%calcium gluconate ไว้เสมอเพื่อเป็น antidose

ชื่

การบริหารยา

บทบาทพยาบาล

4.Dopamine

เป็นยาที่ใช้ร่วมในการรักษาภาวะช๊อคภายหลังการให้สารน้ำที่เหมาะสมแล้ว และยังใช้รักษาภาวะ bradycardia หรือ heart blok ที่รักษาด้วย atropine ไม่ได้ผล

ขนาดที่ใช้ในโรงพยาบาล

Dopamine injection 250 mg/ml

ให้ทาง IV

- บริหารยาแบบ I.V.infusion ผ่านหลอดเลือดดำใหญ่โดยใช้ infusion pump

- อ่านแผนการรักษาให้เข้าใจก่อนรับ order.ในกรณีที่แพทย์เขียน order 1:1 หรือ 2:1 เลขตัวหน้าคือ Dopamine : เลขตัวหลังคือสารละลายที่มาผสม แต่ไม่นิยมให้ order ควรระบุจำนวนให้แน่ชัด เช่น Dopamine 250 mg:D5W 250 ml.

- ต้องเจือจางยาก่อนฉีดให้ได้ความเข้มข้นอย่างต่ำ 800 mcg(0.8mg)per ml กรณีผู้ป่วยจำกัดน้ำหรือบริหารยาอย่างช้าๆสามารถละลายยาให้ได้ความเข้มข้น 3.0mg/ml

- สารละลายที่สามารถผสมเข้ากันได้คือ D5W,D10W, D5S/2 D5S, NSS, LR

แต่ที่นิยมใช้คือ D5W

- ห้ามผสมร่วมกับ alkaline solution(เช่น sodium bicarbonate)

- น้ำยาที่เจือจางแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 24 ชม.ป้องกันแสง น้ำยาที่เจือจางจะมีสีจางๆหากน้ำยามีสีเปลี่ยนไปหรือสีเข้มขึ้นไม่ควรใช้

- check v/s ทุก15 นาทีหาก BP>160/90mmHg.หรือ HR>120ครั้ง/นาทีในผู้ใหญ่ และ BP>120/80 mmHg.หรือ HR>180 ครั้ง/นาทีให้รายงานแพทย์

- มีภาวะใจสั่น เจ็บหน้าอก agitation ให้ติดตาม EKG

- ห้ามใช้ยาร่วมกับ phenutoin เพราะทำให้ความดันต่ำและหัวใจเต้นช้าลง(bradycardia)

- สังเกตฤทธิ์ข้างเคียงและพิษของยาได้แก่ ectopic beat คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ หลอดเลือดหดตัว หัวใจเต้นช้า QRS complex กว้าง มีของเสียคั่งในเลือด เนื้อเยื่อตายเนื่องจากน้ำยารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด

ชื่อ

การบริหารยา

บทบาทพยาบาล

5.Adrenaline

คือ Epinephine ใช้ในกรณีแพ้ยา หลอดเลือดตีบ

หัวใจหยุดเต้น และสามารถใช้ห้ามเลือดเฉพาะที่ได้แต่

ไม่สามารถใช้ในกรณี internal hemorrhage

ขนาดที่ใช้ในโรงพยาบาล

Adrenaline injection 1mg/ml

( 1:1,000) in 1 ml.

ให้ทาง IV IM SC Intracardiac injection

- I.V. infusion เตรียมโดยผสม adrenaline 1:1,000 ปริมาณ 1 mg (1 ml)ใน D5W หรือ NSS 250 ml 4 mcg/ml

- I.V.direct injection เตรียมโดยผสมยา adrenaline 1:1,000 ปริมาณ 1 mg (1 ml) กับNSS หรือ water for injection 9 mlจะได้ความเข้มข้น 100 mcg/ml (dose rang 100-1000mcg of 1:1,000 ฉีดทุก5-15 นาทีตามข้อบ่งใช้)

- ยาที่สามารถผสมเข้ากันได้: Dopamine Dobutamine Verapamil Amikacin และ Furosemine

- ยาที่ไม่สามารถผสมเข้ากันได้ : aminophyline sodium bicarbonate alkaline solution และ hyaluronidase

- ตรวจวัดความดันเลือดและชีพจรสม่ำเสมอหรืออย่างน้อย15 นาทีในระยะ acute shock

- หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้าเส้นเลือดแดงโดยตรงและการฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณสะโพกเนื่องจากอาจทำให้หลอดเลือดตีบจนกล้ามเนื้อตาย

- ควรรักษาภาวะ Hypovolemic ก่อนให้ยา

- หากผู้ป่วยเกิดปวดศีรษะ ผู้ป่วยอาจมีความดันเลือดสูงเนื่องจากได้รับยามากเกินไป

- กรณี Cardiopulmonary resuscitation (CPR) บันทึก HR/BP หลังจากเริ่มมีสัญญาณชีพ

- กรณี Anaphylaxis บันทึก PR/BP ทุก 30 นาที

- กรณี Hypotension ให้ยาแบบ IV drip บันทึก HR/BP ทุก 1 ชม.ตลอดระยะเวลาที่มีการให้ยา

หากพบ- BP> 160/90 mmHg หรือ HR > 120 ครั้ง/นาที

ในผู้ใหญ่ หรือ

- BP> 120/80 mmHg หรือ HR > 180 ครั้ง/นาที

ในเด็ก ให้รายงานแพทย์

ชื่อ

การบริหารยา

บทบาทพยาบาล

6.Digoxin

เป็น Cardiotonic glycoside ใช้รักษา heart failure and/or flutter , supraventicular tachycardia และ cardiogenic shock

ขนาดที่ใช้ในโรงพยาบาล

Lanoxin Table 0.625 mg

Lanoxin Injection 0.5 mg/2 ml

ให้ทาง IV IM Oral

- ระดับยาในเลือดที่มีผลต่อการรักษาคือ 0.5-2 ng/ml เวลาที่เหมาะสมในการวัดระดับยาคือภายหลังการได้รับยาแบบ I.V. อย่างน้อย 4 ชม. หรืออย่างน้อย 9 ชม.ภายหลังการกินยา digoxin (ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ 12-24 ชม.หลังได้รับยา)

- ยาฉีดที่อาจให้โดยไม่เจือจางแต่ถ้าจะเจือจางต้องเจือจางมากกว่า 4 เท่า

- สารละลายที่สามารถผสมเข้ากันได้: D5W NSS sterile water for injection

- การให้ I.V. bolus จะต้องนานกว่า 5 นาที

-ก่อนให้ยาทุกครั้งต้องนับอัตราชีพจรใน 1 นาทีถ้าเท่ากับหรือน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาทีหรือมีจังหวะความแรงไม่สม่ำเสมอ แล้วรายงานแพทย์

- ในกรณีที่เป็น IV injection ต้อง monitor EKG ขณะให้ยาและหลังให้ยา 1 ชม.

- หากอ่านคำสั่งแพทย์เป็นdigoxin และให้รับประทานมากกว่าวันละครั้งให้ถือว่าคลาดเคลื่อนต้องปรึกษาแพทย์ทันที

7.Adenosine

ใช้รักษาภาวะ stable Narrow complex Regular tachycardia หรือ Supraventricular (SVT)

ขนาดที่ใช้ในโรงพยาบาล

Adenosine injection 6 mg/2 ml

ให้ทาง I.V.

- เปิด I.V.ใกล้ๆหัวใจ

- เตรียมต่อ 3- way ซึ่งใช้ syring 20 ml ที่ใส่ NSS ไว้คอย flush ตามนาที่ฉีดอย่างรวดเร็ว

- ยกแขนข้างนั้นขึ้น

- ติด monitor EKG

- เริ่มต้นฉีดครั้งแรกที่ 6 mg (1 vial ) ถ้าไม่ตอบสนองเพิ่มยาเป็น 12 mg (2 vial) หากไม่ตอบสนองอีกให้ขนาด 12 mg ซ้ำได้อีก 1 ครั้ง

- ควรมีการติด montitor EKG เพราะการฉีดยาและ flush ต้องทำอย่างเร็ว เร็วมากและผลที่ได้ก็ทันใจผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนตกจากที่สูงแล้วรู้สึกหวิวๆๆซึ่งเมื่อดูจากจอ monitor จะเห็นเป็น asystoleเป็นช่วงสั้นๆ

-กรณีที่ได้ยาแล้วไม่ตอบสนองให้ลองทบทวนหาสาเหตุดังนี้ เช่น วิธีการฉีดไม่ถูกต้อง(ฉีดยาหรือ flush saline ตามไม่เร็วพอ เปิดเส้นที่แขนส่วนปลาย(ข้อมือ)ทำให้ยาหมดฤทธืก่อน)วินิจฉัย EKG ผิด เช่น rate regular แต่เป็น sinus tachycardia

ชื่อ

การบริหารยา

บทบาทพยาบาล

8.Calcium Gluconate

ใช้เพื่อเพิ่มแคลเซียมในพลาสมาทันที เช่น neonatal tatany หรือเกร็งกระตุกจากภาวะพร่อง parathyroid hormone วิตามินดี และเลือดเป็นด่างใช้ภายหลัง open heart surgeryเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจหรือใช้เสริมการรักษาโรคอื่น

ขนาดที่ใช้ในโรงพยาบาล

10 % Calcium gluconate injection

1 gm/10ml

- standard diluent: 1 gm/100ml D5W or NSS ; 2 gm/100 ml D5W or NSS ใช้ในกรณี IV.

- ควรผสม calcium gluconate ใน D5W ให้เลือกผสมใน NSS เฉพาะกรณีจำเป็นเพราะ sodium ทำให้ calcium ขับออกเร็วขึ้น

- ห้ามผสมใน bicarbonates,carbonates ,phosphate ,sulfates,amphotericin B และ pantoprazole sodium เพราะจะตกตะกอน

-ห้ามนำสารละลายของยาเก็บในตู้เย็นเพราะอาจตกตะกอน : I.V. infusion solution จะมีความคงตัว 24 ชม.ที่อุณหภูมิห้อง

- บริหารยาโดยทางหลอดเลือดดำเท่านั้นทั้ง direct I.V. หรือ infusion

-การบริหารยาทาง SC หรือ I.M. อาจทำให้เกิดเนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อตายชนิดรุนแรง

- ฉีด calcium ช้าๆไม่เกิน 0.7-1.8 mEq/min โดยใช้เข็มเล็กเข้าหลอดเลือดใหญ่เพื่อป้องกันระดับ calciumเพิ่มเร็วไปและป้องกันการแทงทะลุสู่เนื้อเยื่อโดยรอบซึ่งส่งผลให้เกิดเนื้อตายได้

-การฉีดcalcium เร็วอาจทำให้หลอดเลือดขยาย BP ลดลงหัวใจเต้นช้าไม่เป็นจังหวะหมดสติและหัวใจหยุดเต้นได้

-กรณีแก้ไข Hyperkalemia อาจต้องให้ calcium อย่างเร็วควร moniter EKG ขณะฉีด IV push ช้าๆ

- กรณีใช้แก้ Magnesium Sulfate ให้ push

10 % Calcium gluconate 10 ml ใน 10 นาที

ชื่

การบริหารยา

บทบาทพยาบาล

9.Regular Insulin

ใช้ในกรณีที่มีภาวะ น้ำตาลในเลือดสูง

ขนาดที่ใช้ในโรงพยาบาล

Regular (Regular insulin , Humulin 70/30 , NPH insulin)

ให้ทาง IV IM

- Insulin ที่เปิดใช้แล้วเมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิตู้เย็น(2-8องศา)หรือที่อุณหภูมิห้อง(ไม่เกิน30 องศา)จะคงตัวอยู่ได้นาน 28 วันโดยต้องเก็บป้องกันแสง และ ใช้เทคนิคการเตรียมยาแบบปราศจากเชื้อ

- Regular insulin ที่ผสมแล้ว มีความคงตัว 24 ชม.ที่อุณหภูมิห้อง(ไม่เกิน20 องศา)และที่ในอุณหภูมิตู้เย็น

(4 องศา)

-ห้ามใช้หาก Regular insulin เปลี่ยนสี ขุ่นมีตะกอนหรืออนุภาคเกิดขึ้นหรือหนืดผิดปกติ- standard diluent : 100 units/100ml หรือ 0.45% sodium

- สารละลายที่สามารถผสมเข้ากันได้ : D5W, D5N/2 NSS

- กรณีให้ IMติดตาม DTX อีก 2 ชม. และ IV push ติดตาม DTX อีก 2 ชม. และ

- เฝ้าระวังการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งจะมีอาการกระวนกระวาย หน้าซีด ใจสั่น เหงื่อออกตัวเย็น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นช้า หายใจตื้นและเร็ว หมดสติอาจเกิดเปลี่ยนแปลงบุคลิคภาพ ให้รายงานแพทย์

- แก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ไม่รุนแรงโดยการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำส้มคั้น

ลูกอม

คำสำคัญ (Tags): #ยา
หมายเลขบันทึก: 609504เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2016 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2016 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท