สถานภาพของโป่งและสัตว์ป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และศักยภาพในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ


โป่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่ได้เสีย สภาพทางกายภาพ แต่ก็ไม่ได้เป็นจุดศูนย์รวมของสัตว์ป่า เนื่องจากการล่าสัตว์และการรบกวนจากสัตว์เลี้ยงจำพวกวัวควายที่เข้าไปใช้ โป่ง การศึกษาได้กระทำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าลุ่มน้ำปาย โดยจากการสอบถามชาวบ้านจาก 60 หมู่บ้านซึ่งประกอบด้วยชาวบ้าน 9 ชาติพันธุ์ คือ มูเซอดำ, มูเซอแดง,ไทยใหญ่, ลีซอ, ไทยพื้นราบ,กระเหรี่ยง( ปกากะญอ) ลัวะ, ม้ง และจีนฮ่อ พบว่าชาวบ้านชอบกินเก้งและหมูป่า และนิยมประดับเขาเก้ง กวางป่า เลียงผา และกวางผา ไว้ที่บ้าน นอกจากนี้การล่าสัตว์ป่า ยังไม่ใช่เฉพาะเพื่อการบริโภคเท่านั้น ยังเพื่อการค้าอีกด้วย มีสัตว์ป่าบางชนิดที่นำความเสียหายมาให้ชาวบ้าน เช่น หมูป่าซึ่งมากินข้าวและพืชไร่ ชะมด อีเห็น และงูเหลือม ที่มากินสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่าที่ยังพอมีเหลืออยู่บ้างใกล้ๆหมู่บ้าน ได้แก่ เก้งธรรมดา, หมูป่า,แมวป่าขนาดกลางและขนาดเล็ก, ชะมด,อีเห็น, หมูหริ่ง และสัตว์จำพวกลิง ค่าง และ ชะนี ส่วนสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้าง, กระทิง, วัวแดง, เสือ โคร่งและเสือดาว สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่แล้ว ข้อมูลดงกล่าวสามารถนำมาสร้างภาพจำลองชุมชนของสัตว์ป่าในพื้นที่ โดยใช้หลักการสายใย และเครือข่ายของอาหารของชุมชนของสัตว์ป่าตามธรรมชาติ ผนวกกับอิทธิพลของมนุษย์ชาติพันธุ์ต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ แนวโน้มของการจัดการสัตว์ป่าในพื้นที่ คือ การเสริมสร้างความรู้และทักษะเกี่ยวกับการศึกษาสัตว์ป่า และให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการศึกษาและฟื้นฟูชุมชนของสัตว์ป่า โดยในที่สุดก็อาจจะพัฒนาที่จะใช้สัตว์ป่าเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อไปได้

คณะผู้วิจัย – สมโภชน์ ศรีโกสามาตร, สุวิทย์ เนาสวัสดิ์, สมศักดิ์ เลายี่ปา และวราวุธ สุธีธร
หมายเลขบันทึก: 60881เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2006 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท