เหลียวหลังแลหน้า สุขสาธารณะของชาวหนองคาย : กระบวนการ Retreat 26 – 27 พฤษภาคม 2559


ต่อจาก บันทึกนี้ นะคะ

ปีนี้ทำงานมา ๖ เดือน ทบทวนกันสักนิด ก่อนก้าวเดินต่อในทางที่ดีขึ้นได้อย่างไร

ภาคเช้าฟังภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของโลก AEC ประเทศไทยของเรา และจังหวัดหนองคายจะกระทบ

รวมท่านรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย ๕ ท่าน เพิ่มเติมสรุปความภาคภูมิใจในความดีงาม

ที่บุคลากรด้านสุขภาพ ภาคีเครือข่ายคนหนองคายและอื่น ๆ ได้ร่วมกันรังสรรค์ผลงานมา

เพื่อสุขภาวะผู้ที่มีโอกาสมาหนองคาย อยู่หนองคาย เกี่ยวข้องกับจังหวัดหนองคาย

สองวันนี้สัดส่วนความสุขในสาระงานและการใช้ชีวิตเป็นตัวเอง .... พอเหมาะพอดี สบายกายสบายใจ

^_,^

ภาคบ่ายย้ายไปชุมนุมกันที่ศาลาวัดป่าแก้งใหม่ อำเภอสังคม

พี่บัน ยีรัมย์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย นำสวดมนต์ไหว้พระ สงบจิตใจ

ได้ฟังคำสอนจากพระอาจารย์วัดแก้งใหม่ ให้มีสติ ลดความตระหนี่ จะได้ถ่ายถอนตัวตน

ส่งพระอาจารย์เรียบร้อย


เกือบบ่ายสอง แจกจ่ายเบาะนั่งนุ่มสบาย จะใช้นอนก็ได้ แต่อย่าหันเท้าไปทางพระประธาน

ก่อนเที่ยงพิธีกรกรุณาแนะนำตัวไปแล้วว่าเป็นวิทยากรกลางดำเนินกิจกรรม “เรื่องเล่าเร้าพลัง งานได้ผลคนเป็นสุข”

ร่วมกับคุณหมอล่า ทันตแพทย์วัชรพงษ์ หอมวุฒิวงศ์

กำลังพยายามปรับบทบาทเป็นผู้เหนี่ยวนำกระบวนการ (Mentor) นั่งพื้นในระนาบเดียวกัน เราต่างมีความเป็นคนเสมอภาคกัน

ไม่มีหัวโขนใครใหญ่กว่ากัน เราต่างมีบทบาทหน้าที่ต่อสุขสาธารณะของชาวหนองคายที่ต่างกัน .... เท่านั้นเอง

แนะนำเพื่อน ๆ ทั้งศาลาวัดให้รู้จัก “ระฆังแห่งสติ”


เริ่มกิจกรรมด้วยการย้อนวัยเป็นเด็ก ๔ ขวบ วาดภาพความสุข ความประทับใจในงานยุทธศาสตร์หลักอย่างใดอย่างหนึ่งใน Goal setting ที่แต่ละอำเภอเตรียมแบ่งกันมาเรียบร้อย

ซึ่งทุกอำเภอได้สรุป One page learning ส่งล่วงหน้า (สมองซีกซ้าย) สสจ.หนองคายทำเอกสารเข้ารูปเล่มให้ทุกคนแล้ว

เพิ่มนิดกระตุ้นสมองซีกขวาหน่อย ชอบใช้การวาดภาพมากค่ะ ได้ใช้จินตนาการร้อยเรื่องราวสื่อออกมาอย่างสร้างสรรค์

มีอารมณ์ มีสีสัน มีความรู้สึกฉายออกมา

^_,^


ได้ภาพสวยงาม แยกย้ายกันเข้า ๖ กลุ่ม จำนวนทีม Fa และ Note - taker ที่เตรียมไว้พอดี แต่พื้นที่นั่งแออัดไปนิด

ทีม Fa (Facilitator : วิทยากรกระบวนการ) และผู้จดบันทึก (์Note - taker) ประจำกลุ่มทุกกลุ่ม แนะนำตัวเองเรียบร้อย

กลุ่ม ๕ แบ่งสมาชิกเป็นกลุ่ม ๕/๑ และ ๕/๒ ถ้าแบ่งบางกลุ่ม ได้เล็กกว่านี้ จะช่วยความสนใจในการรับฟังให้ง่ายขึ้น

แต่ไม่แน่เสมอไป .... ขึ้นกับวาระจิตด้วย

เหตุดังนั้น อะไรที่เกิดขึ้นผ่านไปแล้ว ดีงามเสมอ

สุดท้าย .... ทุกกลุ่มร่วมกิจกรรมได้อย่างดี ยิ้มแย่มแจ่มใส มีเสียงหัวเราะแทรกเป็นระยะ

เน้นการรับฟังอย่างไม่โต้แย้ง ส่วนใครจะถึงพร้อมในการใช้ใจฟังอย่างลึกซึ้ง อย่างไม่ตัดสินได้มากน้อยเพียงใด

สังเกตการปลี่ยนแปลงอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดภายในได้ละเอียดเพียงไหน

ท้าย ๆ กิจกรรมช่วง AAR (After Action Review) มีคำตอบนะคะ

^_,^

ค่อย ๆ ฝึกการให้เกียรติ ฝึกแบ่งปันในการใช้เวลา ใช้เวทีสาธารณะร่วมกัน

จากเรื่องราวความสุข ความประทับใจในงานและชีวิต จากมุมมองต่อโลกของคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง เล่าออกจากใจสู่ใจ

จากเรื่องตนเองหนึ่งเรื่อง กลายเป็นได้ฟังรวมสี่เรื่องจากสี่อำเภอ ภายใน ๒๐ นาที

ช่วยกันเลือกเรื่องราวความประทับใจเหล่านั้น เล่าเป็นตัวอย่างให้ทั้งวงในกลุ่ม Goal setting ฟัง

^_,^

รับฟังมาทั้งหมด จับประเด็นเป็นความประทับใจ เขียนลงในบัตรคำ

จัดกลุ่มประเด็นความประทับใจ หาความสัมพันธ์ ร้อยเรื่องราวเชื่อมโยง อาจจะได้รูปแบบชัดเจนขึ้น

ช่วยกันเสนอปัจจัยที่ทำให้เกิดประเด็นความประทับใจนั้น ๆ หรือหากมีอุปสรรค เพื่อนฟันฝ่ามาได้อย่างไร

เตรียมสรุปและนำเสนอ ถนัดเสนอเป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ ข้อความ ตาราง แผนภูมิ Fish bones Mind map หรือ Web of causes

ผสม ๆ กันหลากหลาย ได้ทั้งนั้น

^_,^

เดี๋ยวมาติดตามผลการระดมความคิดและจิตใจจากสมาชิกกลุ่มทุกคน

ไปทำสวนก่อนสักสองชั่วโมงนะคะ

สวัสดีค่ะ

^_,^



ความเห็น (6)

ท่าสบายๆ ... ผ่อนคลายแล้วคิดออกแบบ การเรียนรู้แบบ...ปิ๊งแว้บ คือ การรู้ที่ผุดขึ้นมาแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เลยนะคะ...แบบนี้ดีจริงๆ ค่ะ ...

ขอบคุณนะคะ


ขอบคุณมากค่ะพี่เปิ้น สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย สบาย ๆ ได้ การเรียนรู้ก็เกิดได้ง่ายค่ะ

ชอบใจสถานที่จัดกิจกรรม

ไม่ต้องใช้สถานที่หรู

แต่ได้งานมากครับ

ขอบคุณมากๆครับ

ในความรู้สึก ศาลาวัดสัปปายะ เหมาะสมกับกิจกรรมนี้มากค่ะ อ.ขจิต เรียบง่าย งาม

แต่ถ้าดูวัสดุก่อสร้าง ไม้เนื้อแข็งแท้ใช้ปูยกพื้นกลางศาลา แต่ละแผ่นหน้ากว้าง ๕๐ - ๗๐ cm.

ดูลายไม้ที่ใช้กลึงเป็นราวกันตกรอบศาลานัคั สวยมาก ๆ

และเสียดาย .... ลืมถ่ายภาพทั้งหลัง ศาลาทรงไทย บนไหล่เขา สวยงามมาก ๆ

อ.ขจิต จะเปลี่ยนใจบอกว่า เกินคำว่าหรู ไปมากเชียวค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่ อ.มาเยี่ยมชม

คุ้น ๆ เหมือนชื่อหนังสือ อาจารย์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท