(เบื้องหลัง) เหลียวหลังแลหน้า สุขสาธารณะของชาวหนองคาย : Retreat 26 – 27 พฤษภาคม 2559


นาวานี้จะรอดปลอดภัยไปเรื่อย ๆ หรือจะล่ม

ไม่ได้กังวลในขั้นตอนการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

ฟังคุณหมอล่ารับโจทย์มาจากท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กลุ่มงานแผนและยุทธศาสตร์แล้ว

ระดับอำเภอที่ทำงานประจำนั้น ในบทบาทกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอ (คปสอ.)

คิดว่าใช้ ๕ ยุทธศาสตร์ (Goal setting) ตามแนวทางของจังหวัดมาอย่างเข้าใจเนื้อหาสาระพอควร

  • อาหารปลอดภัย
  • NCD Management (Non - Communicable Disease)
  • Quality & service excellence
  • ระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรค
  • Management

จำนวนผู้ร่วมเวที ๑๐๕ คน จาก ๙ อำเภอ ตั้งแต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้รับผิดชอบงานแผนทุกอำเภอ .... ก็ยังไม่หนักใจ

ใช้ศาลาวัดแก้งใหม่ อำเภอสังคม เป็นสถานที่จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ .... ก็ยิ่งสัปปายะ

ปกติทำงานร่วมกับคุณหมอล่าเป็นทีมผู้เหนี่ยวนำกระบวนการ (Mentor) ส่วนใหญ่เน้นด้านสุขภาพช่องปาก

มีล่าสุดงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term care : LTC) ติดตามที่ บันทึกนี้ ได้นะคะ

กลุ่มผู้ร่วมเวทีไม่ใหญ่มาก เป็นชุมชนนักปฏิบัติด้าน LTC ล้วน ๆ จากทั้ง ๙ อำเภอของทั้งจังหวัดหนองคาย

เหนี่ยวนำกระบวนการช่วยกัน ๒ คนกับคุณหมอล่า .... สบาย ๆ

และน้องนุชทำหน้าที่ Note – taker อย่างแข็งขัน ได้สิ่งดีงามออกมาเป็น explicit knowledge ชัดเจน

^_,^

ทว่าครานี้ ซ้อนโจทย์อีกชั้น นอกจากงานได้ผลแล้ว คนต้องเป็นสุขด้วย …. ผ่านการวิเคราะห์ว่ามีสัญญาณเครียดเล็ก ๆ แผ่ออกเล็กน้อยให้สัมผัสได้

โดยเฉพาะทีม Facilitator (Fa) และ Note – taker ที่บทบาทเดิมเป็นนักวิชาการระดับจังหวัด

มีหน้าที่ส่งต่อนโยบายจากส่วนกลางให้อำเภอ คอยติดตามและรับผิดชอบ ตัว – ชี้ – วัด (Key Peformance Indicator : KPI)

ส่วนใหญ่เคยทำงานมาด้วยกัน (ผู้เขียนเคยทำงานที่สาธารณสุขจังหวัด)

นอกจากคุณหมอล่าแล้ว งานนี้เป็นครั้งแรกที่ต้องประชุมทีม Fa และ Note – taker ราว ๒๐ คน วางแผนอย่างละเอียด ให้เวลาทำกิจกรรมไม่เกินสามชั่วโมง

(ที่ผ่านมา เป้าหมายชัด วางกิจกรรมหลักชัด แต่กิจกรรมเสริมแทรกได้ตามบรรยากาศและเวลา)

ข้อกังวลที่สุดของผู้เขียน คือ ทีม Fa เองเข้าใจ Deep listening แบบตัวเองปฏิบัติซ้ำ ๆ จนเป็นนิสัย กับเข้าใจแบบอ่านทฤษฏีมานั้น .... แตกต่างกันแน่นอน

เดชะบุญ ที่เชื่อเรื่อง .... สิ่งใดเกิดขึ้นแล้วดีงามเสมอ

และขอบคุณ GTK ที่ให้พื้นที่ได้ฝากรอยจารึกไว้ เพื่อน Fa ,Note – taker หลายคนบอกว่า ตามมาอ่านแล้วภาพค่อยชัดขึ้นว่า เวทีจะออกมาหน้าตาประมาณไหน

อ่ะ .... เดี๋ยวตามอ่านดูนะคะ นักวิชาการผู้เก่งกาจ จะปรับเปลี่ยนบทบาทตนเองเป็นผู้กระตุก ซุก (ดันหลัง) ยู้ (เข็น) อำนวยและสนับการเรียนรู้ของผู้ร่วมวง ได้กี่มากน้อย

^_,^

ใน Slides และการ Talk show ของท่านนายแพทย์ใหญ่ (เป็นการฟังบรรยายวิชาการที่สนุกสนานเป็นกันเอง) นายแพทย์สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา

ช่วงต้นจะเป็นที่มาของการ Retreat ทบทวนย้อนหลัง วางแผนปรับเปลี่ยนวิธีทำงานอีก ๔ – ๕ เดือนข้างหน้า

และมองยาวอีก ๒๐ ปี แผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะก้าวเป็นโมเดลประเทศไทย ๔.๐

ผู้คนจะใส่ใจคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นมาก

ท่านอธิบายเรื่องที่น่าจะยากให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น

^_,^

สิ่งที่โดนใจผู้เขียนซึ่งต้องจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาคบ่าย กด Like ให้พันครั้งเลย

ท่านใส่ใจในแผนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทีมเราเตรียมไว้

เตรียมภาคทฤษฎีให้พวกเราที่จะร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เรื่องเล่าเร้าพลัง งานได้ผลคนเป็นสุข” อย่างยอดเยี่ยม

ตั้งแต่ภาพสมองสองซีก โดยเฉพาะด้านขวาที่จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เติมเรื่องวิธีคิดแบบหมวกหกสี concept map, chain of events วิธีคิด ๔ แบบ คิดย่อย แยก ใหญ่ และเชื่อมโยง

เครื่องมือ สุ จิ ปุ ลิ นั้น ได้ใช้ครบแน่นอน แต่ในใจที่ออกแบบไว้ อยากเพิ่มสัดส่วนการฟังให้เป็น .... มากขึ้น (สุตตะ = การฟัง, จินตะหรือจินตนา = การคิด, ปุจฉา = การถาม, ลิขิต = การเขียน)

เหตุเพราะสังคมเปลี่ยนไป .... ไหมคะ เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ไปไหนมาสามวาสองศอก ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด


มิเพียงทฤษฎีนักรบ .... ทำเรื่องที่ท้าทาย เป็นปัญหา อาจจะยาก แต่ไม่ได้บอกว่าทำไม่ได้

ทฤษฎีนักรัก .... เป็นพื้นฐานสำคัญเช่นกัน

บ่ายนี้หลักสำคัญ Positive approach เวทีที่จะอบอวลด้วยบรรยากาศความดี ความงาม ความสุข

ถ้าจะไม่กั๊ก ไม่หวงแหน ไม่กลัวคนอื่นได้ดีกว่าตน

เห็นด้วยกันในความเหมือนนั้น น่าจะง่ายกว่า

แต่เห็นความงามในความต่างนั้น .... อาจจะฝึกยากกว่า (ประสบการณ์ตัวเองคนเดียวนะคะ)

รอยยิ้ม แบ่งปัน เอื้อเฟื้อ เมตตา .... รักกันมากขึ้นอะไร ๆ ก็ให้กันได้ (อย่าคิดลึกนา)

^_,^

เป็น 108 slides ในเวลา 1 ชั่วโมงเศษ ๆ ที่เพลิดเพลิน

ประสบการณ์ "นักรบ" .... ตรึงตา ซึมซาบเข้าสู่ใจ นอกจากเพิ่มจำนวนลิ้นชักความรู้

จุดประกายจินตนาการ .... เตรียมปูทางให้สัมผัสประสบการณ์ “นักรัก” ภาคบ่าย

นอกจากพิสูจน์ว่าคนสาธารณสุขหนองคายน่ารัก น่าเรียนรู้ น่าค้นหาแล้ว .... เป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุดขององค์กร จริงหรือไม่

ป่ะ พร้อมแล้ว .... ไปจัดเวทีแห่งความรักกัน ก่อนจะจัดการความรู้

รู้สึกเหมือนตอนเครื่องบินเตรียมทะยาน take off ขึ้นจากพื้นดิน .... ตื่นเต้นเร้าใจ

คิดถึงความสนุกที่รอให้ทำบ่ายนี้

มีต่อนะคะ สักครู่

^_,^


หมายเลขบันทึก: 607411เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2016 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2016 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณหมออ้อ ที่มาร่วมสร้างกิจกรรมเรียนรู้ที่ดีดีครั้งนี้นะครับ

ขอบคุณคุณหมอสาสุขฝั่งโขง ที่ชักชวนเข้าวงการ KM นะคะ

ช่วยเติมประสบการณ์และความรู้ต่อเนื่องกันมาเรื่อย ๆ

และได้ให้โอกาสนำมาใช้เพื่อสุขสาธารณะ เพื่อหนองคายและประเทศของเราครั้งนี้ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท